ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู

สกู๊ป/บทความงานวิจัย

16.05.2024
76 Views

สวรส.-จุฬา เดินหน้าวิจัยประเมินผลกระทบ การให้วัคซีนตับอักเสบของประเทศไทย พร้อมใช้ข้อมูลเคลื่อนเป้า ‘ขจัดโรคหมดไปภายในปี 2573’

เชื้อไวรัสตับอักเสบ บีและซี เป็นหนึ่งในต้นทางสำคัญของโรคร้ายที่จะนำไปสู่ความเจ็บป่วยจนถึงขั้นเสียชีวิต ไม่ว่าจะเป็นโรคตับอักเสบ ภาวะตับแข็ง รวมถึงมะเร็งตับ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซีจึงนับเป็นภัยคุกคามสุขภาพร้ายแรง ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ทั้งนี้รายงานจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ที่เผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2564 ได้ระบุถึงสถานการณ์ของไวรัสตับอักเสบว่า ในปี พ.ศ. 2562 ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังรายใหม่ จำนวนประมาณ 1.5 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิต ราว 8.2 แสนรายต่อปี สำหรับสาเหตุการเกิดโรคไวรัสตับอักเสบ เอ ติดต่อจากคนสู่คนผ่านทางอาหาร หรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส, ไวรัสตับอักเสบ บี ติดต่อทางเลือด เพศสัมพันธ์ และจากแม่สู่ลูก, ไวรัสตับอักเสบ ซี ติดเชื้อทางเลือด การใช้ของมีคมร่วมกัน
10.05.2024
399 Views

สวรส. จัดระดมความเห็น พัฒนาข้อเสนอจากงานวิจัย สู่การจัดรูปแบบ ‘จัดงบบริการแก่ รพ.สต. ถ่ายโอน’

จากประเด็นที่สังคมกำลังให้ความสนใจ กรณีการถ่ายโอนระบบบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ภายใต้สังกัดกระทรวงสาธารณสุขไปสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ซึ่งประเด็นสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการประเด็นหนึ่งคือ ค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุข ซึ่งที่ผ่านมามีการจัดสรรในหลากหลายรูปแบบ ทั้งที่เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ และประสบปัญหาในการบริหารจัดการงบประมาณที่ไม่เพียงพอและไม่เหมาะสมต่อการจัดบริการ ทำให้ส่งผลถึงคุณภาพการจัดบริการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
04.04.2024
316 Views

งานวิจัยชี้ ‘บริการส่งยาทางไปรษณีย์’ ลดผู้ป่วยมา OPD ใน รพ. ได้ถึง 30% ลดภาระงานเภสัชฯ-จนท. ช่วงเร่งด่วน

ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย กลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วย “โรคเบาหวาน” คือหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงที่หากมีการติดเชื้อแล้ว จะมีโอกาสที่จะอาการทรุดหนักจนถึงขั้นเสียชีวิตได้มากกว่าคนทั่วไป แต่ขณะเดียวกันก็เป็นกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับยาอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แต่ในช่วงเวลาดังกล่าว การที่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งมีมากกว่า 3 ล้านคน1 จะไปรับยาที่โรงพยาบาลก็อาจทำให้เกิดความแออัด และเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 มากขึ้น
29.02.2024
359 Views

วิจัยชี้ถึง “ประสิทธิภาพและความคุ้มค่า การตรวจมะเร็งปากมดลูกแบบ HPV DNA ด้วยตัวเอง” ทางเลือกหญิงไทย พร้อมเดินหน้าประเทศไทยมะเร็งปากมดลูกเป็นศูนย์

ตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ประกาศสิทธิประโยชน์ด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในเรื่องของการให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA เมื่อเดือน พ.ค. 2566 ที่ผ่านมา โดยสนับสนุนการใช้ชุดเก็บตัวอย่างส่งตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นชุดตรวจคล้ายชุดตรวจคัดกรองโควิดที่เราคุ้นเคยกันอยู่แล้ว เพื่อตอบสนองต่อการใช้ชีวิตแบบวิถีใหม่ ลดความเขินอาย และเพิ่มทางเลือกในการเข้ารับบริการของหญิงไทยกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 30-59 ปี ทุกคนและทุกสิทธิ์ รวมถึงหญิงไทยที่มีอายุ 15-29 ปี ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย มีคู่นอนหลายคน หรือมีเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงติดเชื้อและไม่ได้ป้องกัน เป็นต้น ควบคู่กับการเพิ่มช่องทางการขอรับบริการการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีดังกล่าวที่หลากหลายมากขึ้น เช่น ร้านยา คลินิกพยาบาล ฯลฯ โดยสามารถขอรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA โดยชุดเก็บตัวอย่างด้วยตัวเอง และหากผลเป็นปกติ สามารถทำการตรวจซ้ำได้ทุก ๆ 5 ปี
23.02.2024
466 Views

“วิจัยถอดรากปัญหา-นำการพัฒนาที่ตรงจุด” ปรากฏการณ์ใหม่การทำงานกับกลุ่มเปราะบางในสังคม

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็วเช่นที่ผ่านมา ยังมีประชาชนจำนวนนับล้านคนที่ยังเข้าไม่ถึงผลประโยชน์จากการพัฒนา กลายเป็นกลุ่มเปราะบางทางสังคมด้วยเหตุปัจจัยต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันอย่างซับซ้อน และเป็นกลุ่มคนที่ขาดโอกาสและขาดความสามารถที่จะรับมือกับปัญหาต่างๆ หากจะพิจารณาในเชิงตัวเลข จะพบว่าในสังคมมีเด็กๆ กลุ่มเปราะบางไม่น้อยกว่า 3.7 ล้านคน และในจำนวนดังกล่าว 15% เกิดจากแม่วัยใส 10% ยังขาดการส่งเสริมพัฒนาการอย่างเข้าใจ และ 32% มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ รวมทั้งยังมีเด็กออทิสติก สมาธิสั้น และมีความต้องการพิเศษด้านการเรียนรู้อยู่ราว 45% นอกจากนี้ ในกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งมีจำนวน 22,835 คน มีผู้สูงอายุจำนวนมากถึง 1 ใน 4 ที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำสุด และร้อยละ 14 ของผู้สูงอายุมีรายได้ไม่เพียงพอ
16.02.2024
531 Views

‘AKSORN’: เกมแก้ปัญหาการอ่าน ผลงานวิจัยนวัตกรรม ค้นหา-พัฒนาภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้เพื่อเด็กไทย

“ภาวะความบกพร่องในการเรียนรู้” หรือ Learning Disorder (LD) เป็นโรคทางพัฒนาการที่พบบ่อยในเด็ก โดยข้อมูลจากกระทรวงศึกษาธิการ ในปีการศึกษา 2566 พบนักเรียนที่มีปัญหาการเรียนรู้มากถึงกว่า 2.3 แสนคน ซึ่งเด็กกลุ่มนี้จะมีความผิดปกติของกระบวนการเรียนรู้ที่แสดงออกทางด้านการอ่าน การเขียนสะกดคำ การคำนวณและเหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ อันเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ทำให้ผลการเรียนของเด็กต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริง ทั้งที่เด็กมีสติปัญญาอยู่ในระดับปกติและมีความสามารถด้านอื่นๆ ดี โดยตัวอย่างของบุคคลที่ประสบความสำเร็จ แต่เคยประสบกับภาวะเช่นนี้ อย่างเช่น “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์”
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้