4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

ข่าว/ความเคลื่อนไหว

10.09.2024
442 Views

สวรส. คว้ารางวัลเลิศรัฐ สาขาบริการภาครัฐ ระดับดี ประจำปี 2567 ประเภทขับเคลื่อนเห็นผล ผลงาน “Genomics Thailand”ความท้าทายสู่การยกระดับสาธารณสุข

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กับรางวัลบริการภาครัฐ ระดับดี ประเภทขับเคลื่อนเห็นผล ซึ่งเป็นรางวัลขับเคลื่อนการดำเนินงาน หรือการให้บริการที่สอดคล้องกับบริบทของโลก ตอบโจทย์นโยบายของรัฐบาล หรือ Agenda สำคัญของประเทศ รวมทั้งเป็นผลงานที่มีการนำไปใช้ประโยชน์จริง และมีผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม และตรวจสอบได้ รางวัลบริการภาครัฐ ระดับดี ประเภทขับเคลื่อนเห็นผล ผลงาน “Genomics Thailand” กับ 5 ปี ของการดำเนินงานภายใต้แผนปฏิบัติการบูรณาการจีโนมิกส์ประเทศไทย (Genomics Thailand) (พ.ศ. 2563-2567) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ในฐานะหน่วยประสานงานกลางได้ขับเคลื่อนผลงานสำคัญ เพื่อยกระดับการแพทย์และสาธารณสุขไทย อาทิเช่น • การศึกษาวิจัยเพื่อผลักดันสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพของคนไทย เช่น การตรวจยีน BRCA1/2 สําหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม/รังไข่ รวมทั้งการเปิดให้บริการในโรงพยาบาล 116 แห่งทั่วประเทศ • การพัฒนาบริการที่เกิดจากงานวิจัย เช่น บริการตรวจวินิจฉัยโรคหายาก • การถอดรหัสพันธุกรรมคนไทย • การออกประกาศและสร้างมาตรฐานสำคัญด้านจีโนมิกส์ของประเทศ
06.09.2024
388 Views

ถอดบทเรียน สู่โจทย์วิจัย พร้อมยกระดับ “นโยบายรับยาร้านยา: เพื่อการเข้าถึงและประสิทธิภาพการรักษา พร้อมลดแออัดในโรงพยาบาล”

ประชุมวิชาการ สวรส. ปี 2567 เปิดวงเสวนา “นวัตกรรมบริการเพื่อขับเคลื่อนร้านยาในระบบหลักประกัน” ถอดบทเรียนการดำเนินการนโยบายรับยาร้านยา โดยเมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2567 ที่ผ่านมา สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดเวทีเสวนาหัวข้อ “นวัตกรรมบริการ เพื่อขับเคลื่อนร้านยาในระบบหลักประกันสุขภาพ” ซึ่งเป็นเวทีเสวนาหนึ่งในการประชุมวิชาการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ปี 2567 “ร่วมพลิกระบบสุขภาพไทย ด้วยงานวิจัยคุณภาพ” เพื่อฉายภาพนวัตกรรมบริการร้านยา ตลอดจนแลกเปลี่ยนความก้าวหน้าของการดำเนินงานภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) และนำไปสู่การพัฒนาโจทย์วิจัยระยะต่อไป
05.09.2024
284 Views

สวรส. ติวเข้มกรรมการจริยธรรมภาคประชาชน เสริมองค์ความรู้คุ้มครองอาสาสมัครวิจัย พร้อมสร้างมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยของประเทศ

กรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ที่เป็นภาคประชาชน หรือที่เรียกว่า Layperson มีบทบาทไม่ยิ่งหย่อน ไปกว่ากรรมการที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ โดย Layperson นับเป็นตัวแทนหลักที่สะท้อนมุมมองของอาสาสมัครที่เข้าร่วมการวิจัย และให้ความคิดเห็นที่คำนึงถึงความเป็นมนุษย์เป็นสำคัญ ถือได้ว่าเป็นกลไกสนับสนุนการสร้างมาตรฐานงานวิจัยที่มีคุณภาพ มีความถูกต้อง ทั้งทางวิชาการและจริยธรรมการวิจัย เพื่อให้ข้อมูลการวิจัยเป็นที่น่าเชื่อถือ ตลอดจนอาสาสมัครมีความปลอดภัยตลอดกระบวนการวิจัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้