4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

ข่าว/ความเคลื่อนไหว

26.06.2023
202 Views

แก้ปัญหา ‘ขาดแคลนหมอในชนบท’ กระจายอย่างเดียวไม่พอ วิจัยเสนอ ‘สร้างแรงจูงใจ-ป้องกันลาออก’ ปรับ ‘นโยบายใช้ทุน-บรรจุข้าราชการ’

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา (ปี 2556-2565) ประเทศไทยมีการผลิตและบรรจุแพทย์เพิ่มเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพของรัฐทั้งหมด 19,355 คน หรือเฉลี่ย 2,000 คนต่อปี ซึ่งแม้จะยังอุดช่องว่างการขาดแคลนแพทย์ได้ไม่เต็ม และยังคงมีแพทย์จำนวนไม่น้อยที่ออกจากระบบกว่า 4,500 คนในช่วง 10 ปี แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันถือว่าสัดส่วนแพทย์ต่อประชากรมีแนวโน้มลดความรุนแรงลง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา ซึ่งพบว่าอัตราส่วนแพทย์ต่อประชากรในภาพรวมของประเทศดีขึ้นตามลำดับ จาก 1:4,165 คน เป็น 1:1,771 คน ในปี พ.ศ. 2562 กรณีไม่นับรวมแพทย์ในกรุงเทพฯ แต่ถ้านับรวมแพทย์ในกรุงเทพฯ จะมีอัตราส่วนอยู่ที่ 1:1,674 คน
16.06.2023
193 Views

ถอดบทเรียน ‘การวิจัยกลุ่มเปราะบาง’ พัฒนาศักยภาพ ‘คนทำวิจัย’ แก้ไขปัญหาสังคมอย่างตรงจุด

หลากหลายครั้งที่เกิดวิกฤตด้านสุขภาพและพบว่า ‘ประชากรกลุ่มเปราะบาง’ มักกลายเป็นกลุ่มคนที่ ‘ตกสำรวจ’ และได้รับผลกระทบจากภัยคุกคามเหล่านั้น ‘มากที่สุด’ ตัวอย่างหนึ่งคือสถานการณ์โควิด-19 โดยผลสำรวจของ 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักงานสถิติแห่งชาติ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (ทีดีอาร์ไอ) และองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ) เมื่อปี 2563 ระบุว่า มากกว่าร้อยละ 80 ของครัวเรือนเปราะบาง ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดและมาตรการควบคุมของรัฐ สอดคล้องกับข้อมูลประชากรกลุ่มเปราะบางของประเทศไทยปี 2562 โดยกรมการพัฒนาชุมชน ซึ่งสำรวจพบจำนวนคนเปราะบางมากกว่า 10 ล้านคน2 ทั้งกลุ่มคนไร้บ้าน ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง คนยากจน ฯลฯ ที่แม้มีสิทธิอำนวยให้เข้าถึงบริการสุขภาพ แต่ก็อาจเข้าไม่ถึงบริการ หรือไม่ได้รับบริการที่ตอบสนองความต้องการอย่างแท้จริง
08.06.2023
191 Views

นวัตกรรมวิจัย ‘ชุดตรวจโรคไต’ แบบพกพา หยุดโรคลุกลาม หยุดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ

จากรายงานผู้ป่วยโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ในปี 2564 มีผู้ป่วย “โรคไตเรื้อรัง” มากถึง 1,007,251 ราย รวมถึงยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมการกินอาหาร และการกินยารักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ร่วมด้วย อย่างเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ1 โดยความรุนแรงของโรคไตเรื้อรัง แบ่งออกเป็น 5 ระยะ ตามประสิทธิภาพที่ไตสามารถทำงานได้ โดยการดูแลรักษา ระยะที่ 1-4 จะสามารถทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน และการใช้ชีวิต เช่น งดสูบบุหรี่ ลดอาหารเค็ม จำกัดอาหารประเภทโปรตีน ฯลฯ แต่ในระยะที่ 5 หรือที่เรียกว่า ‘ระยะสุดท้าย’ จะต้องรับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตร่วมด้วยจึงจะมีอาการที่ดีขึ้น
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้