ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู

รายการคนค้นฅน ตอน อาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว เพื่อเพื่อนมนุษย์ต่างเชื้อชาติ

รายการคนค้นฅน ตอน “อาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว” เพื่อเพื่อนมนุษย์ต่างเชื้อชาติ . ผลลัพธ์จากงานวิจัย “ปัจจัยระบบสุขภาพที่ส่งผลต่อการเข้าถึง ความเข้าใจและการประเมินข้อมูลสุขภาพของพนักงานและอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าวภายใต้การบริการที่เป็นมิตรสำหรับคนต่างด้าว : กรณีศึกษาจังหวัดสมุทรสาครและระนอง” (งานวิจัย สวรส. ปี 2562) ที่มุ่งเน้นสะท้อนให้เห็นถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของพนักงานสาธารณสุขต่างด้าว (พสต.) และอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว (อสต.) ซึ่งเป็นกลุ่มสำคัญของการเชื่อมต่อการรักษา ตลอดจนถึงการดูแลสุขภาพคนต่างด้าว ซึ่งคือเพื่อนมนุษย์ร่วมประเทศของเราคนไทย . จากปัญหาด้านการสื่อสารและวัฒนธรรม : “อุปสรรคด่านแรกของการเข้าถึงบริการสุขภาพ” ซึ่งผลวิจัยสะท้อนให้เห็นข้อมูล/ความสำคัญของ อสต. และ พสต. ในบทบาท “ล่าม” ที่ช่วยสื่อสารและส่งต่อความเข้าใจที่ถูกต้องระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยคนต่างด้าว เพื่อเปิดประตูสู่การดูแลรักษา รวมไปถึงการเปลี่ยนความคิดความเชื่อด้านสุขภาพ เพื่อนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนต่างด้าวต่อไป . ทั้งนี้ งานวิจัยสามารถนำไปต่อยอดเพื่อให้เกิดระบบการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพ ทั้งในด้านความรู้ ตลอดจนระบบที่เอื้อให้เกิดการทำงานของ พสต. , อสต. รวมถึง อสม.ในพื้นที่ ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ---------------------------------- ร่วมติดตาม อีกหนึ่งผลงานการนำวิจัยไปใช้ประโยชน์ใน “อาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว” เพื่อเพื่อนมนุษย์ต่างเชื้อชาติ ย้อนหลังจากรายการคนค้นคน ออกอากาศไปเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2563 ทาง ช่อง 9 MCOT . ต่างชาติ ต่างภาษา จึงเกิดปัญหา เพราะมีอาสา..การรักษาจึงเริ่มขึ้น . พบกับ การเล่าเรื่องของคนสำคัญ “คุณหมอเตียง” หทัยรัตน์ โกษียาภรณ์ นักวิจัยเครือข่าย สวรส. ที่เชื่อว่าการได้รับบริการสุขภาพที่ดีเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของทุกคนที่อยู่บนแผ่นดินไทย การวิจัยจึงพยายามสะท้อนให้เห็นปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการบริการสุขภาพสำหรับคนต่างด้าว เพื่อการพัฒนาระบบดูแลสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของเขาเหล่านั้น . ผ่านการเล่าเรื่องการทำงานของ อสต. ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครและระนอง ซึ่งมีคนต่างด้าวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ที่ทำหน้าที่เสมือนสะพานเชื่อมต่อการสื่อสารและวัฒนธรรมระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ป่วยคนต่างด้าว . โดยข้อเสนอจากงานวิจัยชิ้นนี้หวังว่า จะทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพและระบบที่เอื้อต่อการทำงานของ อสต. ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจนยกระดับระบบสาธารณสุขและคุณภาพชีวิตของทุกชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติใดสัญชาติใดที่อาศัยอยู่ในเมืองไทยบนผืนแผ่นดินเดียวกันนี้
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้