4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

เทรนด์วิจัยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCD

  ปัจจุบันโลกยุคนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบสุขภาพ แนวโน้มโรคและภัยสุขภาพก็เป็นไปอย่างซับซ้อน  ในอดีตหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระบบสุขภาพให้ความสำคัญกับโรคติดเชื้อหรือโรคติดต่อ (Communicable Disease : CD)  ทุ่มเทงบประมาณในการสร้างงานวิจัยเกี่ยวกับยาแก้อักเสบ  แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปโรคติดต่อมีสถานการณ์ดีขึ้นเนื่องจากมีองค์ความรู้มาเติมเต็ม ในขณะที่สถานการณ์ของโรคไม่ติดต่อกลับทรงตัวหรือไม่ดีขึ้น ทั้งที่หลายภาคส่วนต่างก็ตระหนักถึงความสำคัญของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non communicable Disease : NCD) ซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinant of Health : SDH)

มองในมุมหนึ่ง การที่ประชากรไทยมีอายุยืนยาวมากขึ้นเป็นสิ่งที่ดี แต่เราก็อยากให้การมีชีวิตยืนยาวนั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย หากนึกถึงชีวิตความเป็นอยู่ในเมือง ที่หันไปทางไหนก็มีแต่ความแออัด เร่งรีบ ขาดความสมดุล เช่น เน้นการรีบบริโภคเพื่อที่จะไปให้ทันกับภารกิจที่ต้องทำ หรือบริโภคมากเกินควร แต่ขาดการเคลื่อนไหวออกแรง ขาดการออกกำลังกาย ความเครียดสูง สูบบุหรี่และบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น ซึมซับวัฒนธรรมตะวันตก อิทธิพลของอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรข้ามชาติได้กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการบริโภคอาหารประเภทหวาน มัน เค็มมากเกินไป เสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคไต เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง 

หากหันมามองสถานะทางสุขภาพที่สัมพันธ์กับการสูญเสียปีสุขภาวะ (Disability Adjusted Life Year : DALY) ของประชาชนไทยในแต่ละเขตสุขภาพ จะพบว่าทั้ง 13 เขต จะมีประเด็น NCD ติดอันดับ 1-3 ไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคซึมเศร้า โรคเบาหวาน โรคมะเร็งตับ ฯลฯ ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากความเจ็บป่วยจากโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคมะเร็ง ประมาณการอยู่ที่ 55,000 ล้านบาท คิดเป็น 0.61% ของ GDP  ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นข้อมูลพื้นฐานที่พอจะคาดแนวโน้มและทิศทางที่ควรมีการทำวิจัยเพื่อเติมเต็มช่องว่างความรู้ เช่น อุบัติการณ์ของโรคไม่ติดต่อในแต่ละเขต ความชุกและอิทธิพลของปัจจัยเสี่ยง ควรพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือคัดกรอง หากมีการคัดกรองได้เร็วย่อมรักษาได้เร็ว (early screening, early detection, early treatment) การค้นหาผู้ป่วยในระยะเริ่มต้นเป็นหลักสำคัญในการที่จะรักษาผู้ป่วยจนหายหรือมีชีวิตยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ รวมทั้งลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศได้ ดังนั้นควรมีการศึกษาลักษณะ model development ในการหารูปแบบผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งให้ได้รับการคัดกรอง  หรือหาช่องทางในการป้องกันโรคมะเร็งระดับรายบุคคลหรือระดับประชากร เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค การมีกิจกรรมทางกาย การลดความเครียด นอกจากนั้นควรมีการวิจัยเชิงระบบเพื่อสังเคราะห์นโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อ นโยบายลดความเหลื่อมล้ำระหว่างกองทุน เนื่องจากหลักเกณฑ์ผู้มีสิทธิยื่นขอรับบริการทางการแพทย์โดยการบำบัดทดแทนไต ก็ยังมีความแตกต่างกันระหว่างสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม กรมบัญชีกลาง เพื่องานวิจัยเหล่านี้จะได้ช่วยเติมเต็มช่องว่างความรู้เกี่ยวกับการจัดการปัญหาโรคไม่ติดต่อในประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 

ผศ.ดร.จรวยพร ศรีศศลักษณ์
รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร/ผู้จัดการงานวิจัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้