ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 33 คน
การพัฒนาประสิทธิภาพและขยายผลการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล C-site และวิทยาศาสตร์ภาคพลเมืองเพื่อการเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน: กรณีมลพิษข้ามพรมแดนจากโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสาใน สปป.ลาว
นักวิจัย :
สมเกียรติ จันทรสีมา , จารุภา พานิชภักดิ์ , อ้อมจันทร์ วงศ์สดสาย , ณัฐปคัลภ์ เข็มขาว , อภิวัฒน์ พรมชัย , สุรพงษ์ พรรณ์วงษ์ , อัจฉราวดี บัวคลี่ ,
ปีพิมพ์ :
2568
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
11 มิถุนายน 2568

โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญ 5 ประการ 1) เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชนที่ติดตั้งอยู่บนแพลตฟอร์มดิจิทัล C-site 2) เพื่อขยายผลการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล C-site และวิทยาศาสตร์ภาคพลเมืองในการเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมโดยชุมชนในพื้นที่ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และอำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน 3) เพื่อพัฒนาหลักสูตรต้นแบบนักวิทยาศาสตร์ภาคพลเมืองเพื่อการเฝ้าระวังและสื่อสารการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม 2 หลักสูตร ทั้งในรูปแบบปกติ และรูปแบบออนไลน์ระบบเปิดบนแพลตฟอร์ม ALTV (Active Learning Television) 4) เพื่อจัดทำแนวทางการสื่อสารความเสี่ยงผลกระทบทางสุขภาพอันเนื่องมาจากมลพิษทางสิ่งแวดล้อม 5) เพื่อขยายเครือข่าย/ชุมชนร่วมเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพ (active citizen) กลุ่มตัวอย่างของการศึกษา ประกอบด้วยบุคลากรครู และนักเรียนจากโรงเรียนจำนวน 12 แห่ง ในพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และ 13 แห่ง ในอำเภอทุ่งช้าง คณะผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยทั้งในเชิงคุณภาพและในเชิงปริมาณในการเก็บรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินโครงการวิจัยครั้งนี้ แพลตฟอร์มดิจิทัล C-site ได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นใน 4 ด้านสำคัญ ได้แก่ 1) ด้านการใช้งานครอบคลุม การประยุกต์ใช้ Line Official Account เพื่อรองรับการทำงานที่คล่องตัวสำหรับฝั่งผู้ใช้มากขึ้น การพัฒนาแบบสำรวจและแผนที่ดิจิทัลให้สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยเพิ่มฟังก์ชันการดึงข้อมูล โดยเพิ่มฟังก์ชันการตรวจสอบข้อมูลจากอาสาสมัครแบบปัญญารวมหมู่ (crowdsource verification) ให้กับแบบสำรวจการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำด้วยสัตว์หน้าดิน และการดึงข้อมูล Exif Metadata เพื่ออ่านค่าพิกัดจากภาพถ่าย การเพิ่มโซลูชันการลงชื่อเข้าใช้ไมโครไซต์และแอปพลิเคชันด้วยการเข้าใช้แบบครั้งเดียว (single sign-on) การอัปโหลดและดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลดิบ การแสดงผลแดชบอร์ด ที่ได้เพิ่มและจัดแบ่งหน้าแดชบอร์ดออกเป็น 4 ส่วน การแจ้งเหตุ แจ้งเตือนและตอบสนองต่อกรณีฉุกเฉิน โดยสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง พร้อมแดชบอร์ดติดตามสถานะการจัดการความรู้และข้อมูลสนับสนุน และการเพิ่มช่องทางการรับฟังความคิดเห็น 2) ด้านการออกแบบระบบ ได้แก่ เพิ่มฟีเจอร์ด้านการวิเคราะห์แสดงผล พัฒนาแนวปฏิบัติการธรรมาภิบาลข้อมูลของระบบชัดเจนมากยิ่งขึ้น 3) ด้านประสิทธิภาพของระบบ พัฒนาความเสถียรของระบบและความเร็วในการประมวลผล โดยเพิ่มความสามารถในการลดขนาดไฟล์ที่ผู้ใช้อัปโหลดโดยอัตโนมัติ และแสดงข้อความแจ้งเตือนเมื่อไฟล์ที่อัปโหลดไม่เป็นไปตามรูปแบบหรือคุณสมบัติที่ระบบรองรับและ 4) ด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย เพิ่มนโยบายความเป็นส่วนตัวตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในส่วนของการขยายผลแนวคิดวิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง ได้ทำการฝึกอบรมวิทยาศาสตร์ภาคพลเมืองเพื่อการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมให้แก่ครูและนักเรียนจำนวน 16 โรงเรียนในพื้นที่อำเภอทุ่งช้างและอำเภอเฉลิมพระเกียรติ มีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น 62 คน ผลการประเมินความพึงพอใจในภาพรวมทั้ง 5 ด้าน พบว่า มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄=4.27, S.D. = 0.89) โดยมีระดับความพึงพอใจต่อด้านกระบวนการฝึกอบรมมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับและการนำความรู้ไปใช้ ด้านฐานการเรียนรู้ ด้านวิทยากร และด้านเนื้อหา ตามลำดับ ในขณะที่การประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เข้าอบรมกลุ่มนักเรียน จำนวน 46 คน พบว่า ผู้ผ่านการฝึกอบรมมีคะแนนความรู้สูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลจากการติดตั้ง ความรู้ ทักษะ และเครื่องมือด้านวิทยาศาสตร์ภาคพลเมืองให้กับครูและนักเรียนทำให้มีการรายงานข้อมูลการเฝ้าระวังจากภาคพลเมืองเข้ามาประมาณ 2,800 รายงาน ครอบคลุมการตรวจสอบคุณภาพดิน น้ำ อากาศ สุขภาพกายและใจ และการปักหมุดข่าวเพื่อสื่อสารการเฝ้าระวังฯ นอกจากนั้นยังได้พัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ภาคพลเมืองเพื่อเฝ้าระวังและสื่อสารการเปลี่ยนแปลงทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมฉบับโรงเรียน ร่วมกับคณะนักวิจัยของชุดโครงการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่านเขต 2 พร้อมทั้งได้ทดลองใช้ในโรงเรียนจำนวน 9 โรงเรียน ในพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติและอำเภอทุ่งช้าง ในขณะที่หลักสูตรฉบับออนไลน์ที่ได้พัฒนาร่วมกับคณะนักวิจัยของชุดโครงการ จะให้บริการผ่านแพลตฟอร์ม ALTV (Active Learning Television) ของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ในการดำเนินงานโครงงานวิทยาศาสตร์ภาคพลเมืองเพื่อการเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมร่วมกับโรงเรียนจำนวน 25 โรงเรียน ทุกโรงเรียนได้ร่วมกันจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง และนำเสนอผลงานในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง ครั้งที่ 1 หัวข้อ การเรียนรู้เชิงรุกเพื่อสุขภาพ ซึ่งเป็นการจัดงานร่วมกันของภาคี 16 องค์กร โดยมีผู้ร่วมงานที่ลงทะเบียนจำนวน 392 คน และผู้เข้าร่วมงานผ่านระบบการถ่ายทอดสดออนไลน์ทาง Facebook Live ของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ผู้ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจจำนวน 139 คน มีความพึงพอใจในภาพรวมของการจัดงานมหกรรมฯ ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.52 , S.D. = 0.71) ในรายด้านพบว่า ผู้เข้าร่วมงานมีความพึงพอใจต่อด้านการบริหารจัดการในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านกิจกรรมของงานมหกรรมฯ ในระดับมากที่สุด และด้านประโยชน์ที่ได้รับและการนำความรู้ไปใช้ ในระดับมาก


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6268

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้