งานวิจัยมาใหม่แนะนำ
โครงการรับยาที่ร้านขายยาเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2562 โดยได้รับการสนับสนุนโครงการจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในรูปแบบการให้เงินสนับสนุนการเริ่มโครงการและการให้ค่าตอบแทนกับโรงพยาบาลและเภสัชกรที่ร้านขายยา เมื่อเกิดสถานการณ์โควิด-19 ในปี พ.ศ. 2563 และ พ.ศ. 2564 โครงการรับยาที่ร้านขายยาได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากข้อจำกัดในการไปรับบริการที่โรงพยาบาล แต่ทีมวิจัยพบว่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 การใช้บริการในโครงการรับยาที่ร้านขายยาลดลงอย่างมาก เนื่องจากการสิ้นสุดลงของสถานการณ์โควิด-19 โรงพยาบาลเห็นว่าไม่ลดภาระงานและความแออัด และประชาชนนิยมให้โรงพยาบาลส่งยาทางไปรษณีย์ ทีมวิจัยได้เก็บข้อมูลวิจัยโดยการลงพื้นที่ สังเกตการณ์และสัมภาษณ์บุคลากรของโรงพยาบาลและเภสัชกรที่ร้านขายยาในจังหวัดที่ดำเนินการโครงการรับยาที่ร้านขายยาโมเดล 1 ซึ่งประกอบด้วย เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ขอนแก่น นครราชสีมา ชลบุรี และกรุงเทพมหานคร โครงการรับยาที่ร้านขายยาโมเดล 2 พิจิตร และโครงการรับยาที่ร้านขายยาโมเดล 3 สงขลาและพัทลุง ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2566 นอกจากนี้ยังใช้ข้อมูลทุติยภูมิของการจ่ายยา กระจายยา และรับยาที่ร้านขายยา ประกอบการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า จังหวัดที่ดำเนินโครงการรับยาที่ร้านขายยาในโมเดล 1 ซึ่งยังมีการส่งและรับยาที่ร้านขายยาในปริมาณและสัดส่วนพอสมควรในปี พ.ศ. 2565 มีปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญคือ 1) มีความซับช้อนของกระบวนการคัดกรองผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการน้อย 2) มีความพร้อมของระบบสารสนเทศในการเชื่อมโยงข้อมูลทางคลินิกกับร้านขายยา 3) มีจำนวนรายการยาและโรคที่เข้าร่วมโครงการปริมาณมาก จังหวัดที่ขาดปัจจัยดังกล่าวจำนวนผู้ป่วยที่ร่วมโครงการได้ลดลงอย่างมากจนใกล้ศูนย์ จังหวัดที่ดำเนินโครงการรับยาที่ร้านขายยาในโมเดล 2 มีเพียงจังหวัดเดียวคือ พิจิตร ซึ่งร้านขายยาเป็นผู้รับภาระการรับยาจากโรงพยาบาล การบริหารคลังยาและการจ่ายยา แต่จำนวนรายการยาและโรคที่เข้าร่วมโครงการมีจำกัด จังหวัดที่ดำเนินโครงการรับยาที่ร้านขายยาในโมเดล 3 มีจังหวัดสงขลา (หาดใหญ่) ซึ่งเริ่มดำเนินการได้ 3 เดือน และจังหวัดพัทลุงซึ่งเริ่มโครงการน้อยกว่า 1 เดือน โดยใช้ Distributor รายเดียวกัน ซึ่งข้อมูลที่พบต่างจากโครงการรับยาที่ร้านขายยาในโมเดล 1 และ 2 คือ เภสัชกรร้านขายยามีความกังวลในเรื่องการบริหารต้นทุนในการจัดซื้อยา และโอกาสการขาดทุนจากราคายาที่จะเบิกได้จาก สปสช. จากการวิเคราะห์ในทางเศรษฐศาสตร์พบว่า โอกาสคุ้มทุนจะสูงขึ้นหากรายการยาหรือมูลค่าในการสั่งยาสูงขึ้น นอกจากนี้ปัจจัยสำคัญในการดำเนินโครงการได้สำเร็จ คือ การมี Distributer หรือ Logistics provider ที่เหมาะสม ผลการสัมภาษณ์พบว่าเภสัชกรร้านขายยาทุกแห่งมีทัศนคติที่ดีต่อการเข้าร่วมโครงการรับยาที่ร้านขายยาในทุกโมเดล จากการมีโอกาสได้ใช้ความรู้และให้บริการตามวิชาชีพ รวมทั้งยินดีแบกรับค่าใช่จ่ายในการขนส่งยา และเภสัชกรร้านขายยาส่วนใหญ่ไม่ได้มองว่าค่าตอบแทนรายหัวจาก สปสช. เป็นปัจจัยสำคัญ โดยสรุปแล้วจากผลการวิจัยพบว่าโครงการรับยาที่ร้านขายยาในโมเดล 1 มีจำนวนลดลงอย่างมาก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่โมเดล 3 ซึ่งคาดว่าจะตอบโจทย์โรงพยาบาลในการลดภาระงานและความแออัด แต่มีปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญคือ Distributer หรือ Logistics provider ที่เหมาะสม มีส่วนต่างของราคายาที่ร้านขายยาจัดหาได้เทียบกับราคากลางที่เบิกได้เหมาะสม ร่วมกับมีรายการยา โรค และจำนวนใบสั่งยาที่มากพอ นอกจากนี้ทางทีมวิจัยได้สร้างเครื่องมือช่วยประเมินจำนวนร้านขายยาที่เหมาะสมเพื่อช่วยโรงพยาบาลที่จะเริ่มโครงการ
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้