ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 28 คน
การติดตามตรวจสอบมลพิษทางอากาศในฝุ่นพีเอ็ม2.5 และหาปริมาณตัวบ่งชี้ในการรับสัมผัสสารก่อมะเร็งเพื่อการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังความเสี่ยงต่อสุขภาพ ในพื้นที่อำเภอทุ่งช้างและอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน
นักวิจัย :
ว่าน วิริยา , วรางคณา นาคเสน , นณธภัทร ธีระวรรธนะสิริ , เบ็ญจมาศ สุกใส , รฒียา ทรายแก้ว , เอกรินทร์ วินันท์ , วิทวัส อินเสียน ,
ปีพิมพ์ :
2568
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
26 มิถุนายน 2568

ปัญหามลพิษทางอากาศส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะเด็กและกลุ่มเปราะบาง การศึกษานี้มุ่งเน้นการตรวจวิเคราะห์สารมลพิษ พัฒนาฐานข้อมูลคุณภาพอากาศ และดำเนินกิจกรรมสื่อสารความเสี่ยงเพื่อเพิ่มความตระหนักรู้ของประชาชนในปี พ.ศ. 2567 การตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) และขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) โดยใช้เซนเซอร์ราคาประหยัดในโรงเรียน โรงพยาบาล และจุดตรวจวัดของกรมควบคุมมลพิษ พบว่าค่าฝุ่นสูงสุดในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน พ.ศ. 2567 โดยบางจุดมีค่าฝุ่นเกิน 300 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นระดับอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในโรงเรียนและโรงพยาบาลใกล้ชายแดนลาว หลังจากเดือนเมษายน พ.ศ. 2567 ค่าฝุ่นลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ ค่าฝุ่นในพื้นที่ลาวสูงกว่าประเทศไทย ซึ่งอาจมีสาเหตุจากการเผาไหม้ทางการเกษตรและอุตสาหกรรม การเก็บตัวอย่างฝุ่น PM2.5 จากโรงเรียน 3 แห่ง พบว่าค่าฝุ่นสูงในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม พ.ศ. 2567 โดยบางวันสูงเกิน 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร การวิเคราะห์ทางเคมีพบว่าสาร Polycyclic Aromatic Hydrocarbons (PAHs) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งมีความสัมพันธ์กับค่าฝุ่น PM2.5 โดยโรงเรียนบางแห่งมีค่าความเข้มข้นของ PAHs และ Carcinogenic PAHs (cPAHs) สูงที่สุด ในช่วงฤดูหมอกควัน ค่าของ Oxidative Potential (OP) มีความสัมพันธ์กับ PM2.5 สูง โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ฝุ่นสูง เช่น โรงเรียนบ้านน้ำเลียง ขณะที่ในช่วงนอกฤดูหมอกควัน OP ต่ำกว่า ค่า Hazard Quotient (HQ) ของเด็กอายุ 6-12 ปี ในฤดูหมอกควันสูงกว่าค่าความปลอดภัยในหลายโรงเรียน โดยเฉพาะโรงเรียนบ้านน้ำเลียง ขณะที่ในช่วงนอกฤดูหมอกควันค่า HQ ลดลงใกล้เคียงค่าปลอดภัย แต่ยังคงมีความเสี่ยงจากมลพิษทางอากาศ การวิเคราะห์องค์ประกอบฝุ่น PM2.5 ด้วยเทคนิค Scanning Electron Microscopy with Energy Dispersive X-ray Spectroscopy (SEM-EDS) พบว่าแหล่งกำเนิดฝุ่นแตกต่างกันตามพื้นที่ โดยมีความเชื่อมโยงกับกิจกรรมท้องถิ่นและลักษณะภูมิประเทศ นอกจากนี้ การศึกษาระดับ 1-Hydroxy pyrene (1-OHP) ในปัสสาวะของนักเรียนพบว่าค่าระดับ 1-OHP สูงขึ้นในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะบริเวณใกล้โรงไฟฟ้าถ่านหิน อย่างไรก็ตาม ค่าดังกล่าวไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างฤดูหมอกควันและนอกฤดูหมอกควัน บ่งชี้ว่ามลพิษมีแหล่งกำเนิดที่ต่อเนื่องตลอดปี ทิศทางและแหล่งที่มาของมวลอากาศเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล ช่วงฤดูหมอกควัน มวลอากาศจากทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือพัดพาฝุ่นจากการเผาไหม้เข้าสู่พื้นที่ศึกษา ทำให้ระดับ PM2.5 สูง ช่วงนอกฤดูหมอกควัน มวลอากาศมาจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันออก และทิศใต้ ซึ่งพัดผ่านประเทศลาว ทำให้มลพิษทางอากาศมาจากประเทศลาวเป็นหลัก การศึกษาไลเคนเป็นดัชนีชีวภาพของคุณภาพอากาศ พบว่าไลเคนที่ไวต่อมลพิษมีจำนวนมากในพื้นที่สูงที่มีอากาศบริสุทธิ์ ขณะที่พื้นที่ชุมชนพบไลเคนที่ทนมลพิษมากกว่า สะท้อนถึงระดับมลพิษที่แตกต่างกัน ในด้านการสื่อสารความเสี่ยง กิจกรรมต่าง ๆ เช่น ค่ายวิทยาศาสตร์พลเมืองและงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มความตระหนักรู้ของประชาชน อย่างไรก็ตาม ควรขยายกิจกรรมไปยังกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย และใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการสื่อสารที่เข้าถึงได้มากขึ้น ควรมีการเฝ้าระวังคุณภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง การควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษ การใช้เทคโนโลยีและดัชนีชีวภาพในการติดตามคุณภาพอากาศ และการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อจัดการปัญหามลพิษทางอากาศอย่างยั่งยืน


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6274

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้