ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 32 คน
การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โดยใช้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและระบบเทคโนโลยีการแพทย์ทางไกล
นักวิจัย :
เจษฎา บุญญานุภาพพงศ์ , ภูวดล พลพวก , ฐาปนันทน์ อมรางกูร , ศิระ ปานแย้ม , นิภาวรรณ เนินเพิ่มพิสุทธิ์ ,
ปีพิมพ์ :
2568
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
30 มิถุนายน 2568

ภูมิหลังและเหตุผล: กระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความสำคัญกับการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญทั่วโลก การศึกษานี้มุ่งเน้นการพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้อาหารพร่องแป้งและระบบเทคโนโลยีการแพทย์ทางไกลร่วมกับการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความสามารถจัดการตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระเบียบวิธีศึกษา: รูปแบบการวิจัยและพัฒนา แบ่งการศึกษาทั้งหมดเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วยการศึกษาสภาพปัญหา การพัฒนารูปแบบและการศึกษาประสิทธิผล กลุ่มตัวอย่างการศึกษาเชิงคุณภาพในระยะที่ 1 ประกอบด้วยกลุ่มผู้ให้บริการในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจำนวน 7 ราย และกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้จำนวน 15 ราย คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานจากการวิเคราะห์ปัญหาในระยะที่ 1 ร่วมกับการประยุกต์รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ความรอบรู้ด้านสุขภาพและทฤษฎีแรงจูงใจ ระยะที่ 3 เป็นการศึกษากึ่งทดลองกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนำร่อง 4 แห่ง แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ใช้รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และกลุ่มเปรียบเทียบที่ใช้การรักษาในรูปแบบเดิมกลุ่มละ 20 ราย ใช้วิธีการสุ่มแบบมีระบบ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา Fisher’s exact test, independent t-test และ multivariable regression analysis ผลการศึกษา: ระบบการให้บริการรูปแบบเดิมไม่สามารถประเมินและให้คำแนะนำการจัดการตนเองแก่ผู้ป่วยเป็นรายบุคคลได้อย่างมีประสิทธิผล เกิดปัญหาความแออัดในการรอรับบริการ ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม จึงได้พัฒนาระบบการดูแลเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับคำแนะนำในการจัดการตนเอง มีการส่งต่อข้อมูลร่วมกับการติดตามโดยใช้เทคโนโลยีการแพทย์ทางไกลที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ซึ่งพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานมีระดับพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ดีขึ้น สามารถลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด ควบคุมระดับไขมันในเลือดและสามารถลดปริมาณการใช้ยาลดระดับน้ำตาลได้ ข้อยุติ: รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้พัฒนาขึ้นนี้มีประสิทธิผลที่ดีในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ส่งผลดีต่อการควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ดังนั้นจึงควรขยายผลการดำเนินงานการใช้รูปแบบไปยังโรงพยาบาลชุมชนอื่นเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานในพื้นที่ หรือนำไปพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานให้เข้าสู่ระยะสงบสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลต่อไป


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6280

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้