งานวิจัยมาใหม่แนะนำ
ผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เป็นปัญหาระดับโลก ในประเทศไทยพบว่าจังหวัดหนองคายซึ่งเป็นจังหวัดหนึ่งในเขตสุขภาพที่ 8 มีค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของฝุ่น PM2.5 เกินค่ามาตรฐานไปจนถึงอยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยฝุ่น PM2.5 เกิดจากการเผาในที่โล่ง และหมอกควันข้ามแดน ซึ่งมีผู้ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระบบเฝ้าระวังโรคที่เกี่ยวข้องกับการรับสัมผัสฝุ่น PM2.5 ในจังหวัดหนองคายที่เป็นพื้นที่นำร่อง โดยการวิจัยแบบผสมผสาน ดำเนินการในปี 2567 การศึกษาเชิงปริมาณฐานข้อมูลระบบเฝ้าระวัง และการศึกษาเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการในพื้นที่ ทั้งระดับผู้บริหารและระดับผู้ปฏิบัติงาน ทำการศึกษาระหว่างวันที่ 21 กุมภาพันธ์ – 28 มิถุนายน 2567 การศึกษาเชิงปริมาณ สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยและนำมาวิเคราะห์ข้อมูล แล้วนำเสนอด้วยค่าความถี่ และร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบเฝ้าระวังโรคฯ ให้ความสำคัญกับระบบเฝ้าระวังโรคฯ โดยมีความเห็นว่า ระบบสามารถรายงานได้ง่าย ปรับเปลี่ยนได้ โดยมีผลต่อการดำเนินงานน้อย มีการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำมาตรการ เพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค แต่ยังมีความล่าช้าของการรายงาน และแนวทางการลงรหัสการวินิจฉัยโรคยังมีความไม่ชัดเจน ผลการศึกษาเชิงปริมาณ จากการทบทวนเวชระเบียน จำนวน 345 ราย เข้านิยามการรายงานจำนวน 181 เวชระเบียน มีค่าความไวร้อยละ 100 ค่าพยากรณ์บวกร้อยละ 53.1 ข้อมูลอายุ เพศ และสัญชาติ มีความครบถ้วนของข้อมูลร้อยละ 100 แต่ข้อมูลรหัสโรค ICD-10 มีความครบถ้วนของข้อมูลร้อยละ 98.8 ข้อมูลอายุ เพศ สัญชาติและข้อมูลรหัสโรค (ICD-10) มีความถูกต้องของข้อมูลร้อยละ 98.0, 92.5, 98.3 และ 94.8 ตามลำดับ และข้อมูลอายุ เพศและวันที่เข้ารับบริการมีความเป็นตัวแทนได้อย่างถูกต้องและครอบคลุม จากการศึกษาครั้งนี้มีข้อสรุปที่สำคัญ คือ การศึกษาเชิงคุณภาพ เป็นลักษณะที่ปรับเปลี่ยนได้ ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่มีความพร้อมในการปรับการทำงาน หากมีการปรับปรุงระบบเฝ้าระวังและการศึกษาเชิงปริมาณ ได้ผลลัพธ์อยู่ในระดับดีในเรื่องความไวของการรายงาน และระดับต่ำในเรื่องค่าพยากรณ์บวก ทั้งนี้ ควรพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคให้เป็นระบบอัตโนมัติ สามารถรายงานข้อมูลได้ทันทีที่มีการวินิจฉัยโรค ส่งข้อมูลจากระบบ HIS ของโรงพยาบาลได้โดยตรง ง่ายต่อผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่และลดความผิดพลาดในการรายงานข้อมูล และผลักดันให้มีการลงรหัสโรคร่วมเพื่อแสดงถึงการรับสัมผัสฝุ่น PM2.5 (Z58.1) สามารถใช้เพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้