ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 261 คน
การศึกษาสถานการณ์ของการเตรียมยาฉีดผสมให้ทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาลและความพร้อมของระบบในการนำระบบอัตโนมัติครบวงจรมาใช้ในทางปฏิบัติ
นักวิจัย :
ศิตาพร ยังคง , สมหญิง พุ่มทอง , จิรพงศ์ สุขสิริวรพงศ์ , อุกฤษฏ์ สิทธิบุศย์ , ปราการเกียรติ ยังคง ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
19 กันยายน 2567

การเตรียมยาฉีดผสมให้ทางหลอดเลือดดำ (intravenous admixture หรือ IV admixture) เป็นหนึ่งในงานบริการทางเภสัชกรรมที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาล ปัจจุบันมีการเตรียม IV admixture ในโรงพยาบาลเป็นจำนวนมากตามคำสั่งใช้ยาจากแพทย์ในแต่ละวัน และมีความหลากหลายในการเตรียม ที่ผ่านมา มีข้อแนะนำสำหรับการเตรียม IV admixture ในโรงพยาบาลในการนำระบบอัตโนมัติมาช่วยลดภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ (โดยเฉพาะในฝ่ายเภสัชกรรม) จากการเตรียมยาต่อวัน ลดความเสี่ยงในการสัมผัสสารเคมีของผู้เตรียมยา และช่วยลดความคลาดเคลื่อนในการเตรียมที่อาจจะส่งผลต่อผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังไม่เคยมีการศึกษาสถานการณ์ของการเตรียม IV admixture ในโรงพยาบาลอย่างเป็นระบบ ทำให้ไม่ทราบภาระงานและปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงไม่สามารถระบุความพร้อมในการใช้งานระบบอัตโนมัติได้อย่างชัดเจน ดังนั้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของการเตรียม IV admixture ในโรงพยาบาลในประเทศไทย และนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ความเป็นไปได้เบื้องต้นในการนำระบบอัตโนมัติสำหรับการเตรียม IV admixture มาใช้ในทางปฏิบัติ การสำรวจภาคตัดขวาง (cross-sectional survey) ด้วยแบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง (self administered questionnaire) ส่งแบบสอบถามไปยังโรงพยาบาลภาครัฐ 210 แห่ง ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 มีอัตราตอบกลับแบบสอบถาม ร้อยละ 53.3 โดยโรงพยาบาลจำนวน 13 แห่ง (ร้อยละ 6.2) ตอบกลับมาและแจ้งว่าไม่สามารถให้ข้อมูลได้เนื่องจากต้องขออนุมัติคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยของโรงพยาบาลก่อน ส่วนโรงพยาบาล อีก 96 แห่งที่ให้ข้อมูล (อัตราการตอบกลับเมื่อพิจารณาเฉพาะกลุ่มนี้ ร้อยละ 45.7) มีการเตรียม IV admixture 66 แห่ง (ร้อยละ 68.8) ในขณะที่อีก 30 แห่ง (ร้อยละ 31.2) ไม่มีการเตรียม IV admixture สถานการณ์การเตรียม IV admixture ในโรงพยาบาลภาครัฐ 66 แห่ง ที่มีการเตรียม IV admixture พบว่า ประเภทของ IV admixture ที่มีการเตรียมในโรงพยาบาลมากที่สุด ได้แก่ Cytotoxic preparations (ร้อยละ 90.9) รองลงมา คือ TPN (ร้อยละ 72.7), การเตรียม IV admixture สำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย (extemporaneous preparations) (ร้อยละ 40) และการผลิตยาปราศจากเชื้อในปริมาณมาก (ร้อยละ 14) โดยกลุ่ม Cytotoxic preparations มีการผลิตมากที่สุด ประมาณ 30±32 รายการต่อวัน รองลงมา คือ กลุ่ม Extemporaneous ประมาณ 17±23 รายการต่อวัน โดยจำนวนรายการที่เตรียมขึ้นกับระดับของโรงพยาบาล หากโรงพยาบาลมีจำนวนเตียงเพิ่มขึ้น จำนวนรายการที่เตรียมจะสูงตามไปด้วย โรงพยาบาลส่วนใหญ่ (มากกว่าครึ่งนึง) รายงานว่ามีการเตรียม Cytotoxic preparations มากกว่า 1 รอบต่อวัน จำนวนบุคลากรที่ทำหน้าที่เตรียม IV admixtures เต็มเวลาที่ทำงานในฝ่ายผลิตยาปราศจากเชื้อ มีเภสัชกรเต็มเวลาที่รับผิดชอบงานนี้ โดยเฉลี่ยโรงพยาบาลละประมาณ 2-3 คน บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่เตรียม IV admixtures ในโรงพยาบาลผ่านการฝึกอบรมมาก่อน เมื่อพิจารณาพื้นที่ที่ใช้สำหรับเตรียม Cytotoxic preparations เฉลี่ย (27.9±23.7 ตารางเมตร) ใหญ่กว่าพื้นที่ที่ใช้สำหรับการเตรียม IV admixtures ประเภทอื่น และคิดเป็นร้อยละ 29±28.4 ของพื้นที่ฝ่ายผลิตทั้งหมด สำหรับการเตรียม Cytotoxic preparations พบว่า 5-Fluorouracil, Cyclophosphamide, Doxorubicin, Oxaliplatin และ Paclitaxel เป็นยามะเร็ง 5 อันดับแรกที่มีการเตรียมในโรงพยาบาล สำหรับการเตรียมให้กับผู้ป่วยเฉพาะราย (extemporaneous preparations) พบว่ายาปฏิชีวนะ เช่น Cefotaxime, Ceftazidime และ Gentamicin เป็นต้น และยา High Alert Drugs เช่น Heparin และ Morphine เป็นต้น เป็นกลุ่มยาที่มีการเตรียมให้กับผู้ป่วยเฉพาะรายมากที่สุด และกลุ่มยา High Alert Drugs เป็นกลุ่มยาที่มีการเตรียมในปริมาณมากสูงสุด ความคลาดเคลื่อนในการเตรียมยา IV admixtures ส่วนใหญ่เป็นการเตรียมไม่ถูกต้องตามคำสั่งใช้ยา เช่น ผิดความแรง ผิดขนาดยา เป็นต้น โดยเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการเตรียมทั้งหมดในรอบปี เฉลี่ยแล้วพบน้อยกว่าร้อยละ 1 ทั้งนี้ โรงพยาบาลส่วนใหญ่มีข้อกำหนดในการทำลาย IV admixtures ที่เตรียมขึ้นในโรงพยาบาล ขณะทำการสำรวจ มีโรงพยาบาล 1 แห่งใช้หุ่นยนต์ผสมยาเคมีบำบัด และโรงพยาบาลอีก 1 แห่ง อยู่ระหว่างการทดลองใช้หุ่นยนต์ผสมยาเคมีบำบัดแบบระบบปิด อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้มีข้อจำกัดที่ส่งผลต่อการนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ การสำรวจนี้ไม่ได้เก็บข้อมูลในโรงพยาบาลระดับ M2 (โรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่) ซึ่งอาจจะมีการเตรียม cytotoxic preparations การตอบแบบสอบถามด้วยตัวเองอาจจะทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนได้ ความแตกต่างของระบบการบันทึกและติดตามข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียม IV admixture และความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการเตรียม รวมถึงรูปแบบการรายงานข้อมูลการเตรียม IV admixture ของแต่ละโรงพยาบาล อีกทั้ง การสำรวจนี้ดำเนินการในฝ่ายเภสัชกรรมเท่านั้น ไม่ได้รวมการเตรียม IV admixture บนหอผู้ป่วยโดยพยาบาล


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6151

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้