ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 83 คน
การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และผลกระทบด้านงบประมาณของการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย ปีที่ 2
นักวิจัย :
อุษา ฉายเกล็ดแก้ว , เสาวลักษณ์ ตุรงคราวี , จิระพรรณ จิตติคุณ , วันวิสาข์ อุดมสินประเสริฐ , ศิตาพร ยังคง , สุรัคเมธ มหาศิริมงคล ,
ปีพิมพ์ :
2566
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
27 มีนาคม 2567

บทนำ : จากการจัดลำดับความสำคัญและการคัดเลือกการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์ (คู่ยีน-ยา) ที่ควรนำมาพิจารณาประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ พบว่า การตรวจยีน HLA-B*57:01 เปรียบเทียบกับการไม่ตรวจยีน ก่อนเริ่มการรักษาด้วยยา Abacavir เพื่อป้องกันการแพ้ยารุนแรงชนิด Hypersensitivity Reaction (HSR) ในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีเป็นการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์ที่ควรนำมาประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ วัตถุประสงค์ : การศึกษานี้เพื่อประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการตรวจยีน HLA-B*57:01 เปรียบเทียบกับการไม่ตรวจยีน ก่อนเริ่มการรักษาด้วยยา Abacavir เพื่อป้องกันการแพ้ยารุนแรงชนิด HSR ในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี และเพื่อประเมินผลกระทบด้านงบประมาณของการตรวจยีน HLA-B*57:01 หากบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า วิธีการศึกษา : การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการตรวจยีน HLA-B*57:01 เปรียบเทียบกับการไม่ตรวจยีน ก่อนเริ่มการรักษาด้วยยา Abacavir ทั้งแบบ First-Line หรือ Second-Line Treatment ด้วยวิธีต้นทุนอรรถประโยชน์โดยใช้แบบจำลอง Decision Tree และ Markov ในมุมมองทางสังคมและมุมมองของรัฐบาล ประกอบด้วย ข้อมูลตัวแปร ค่าความน่าจะเป็น ต้นทุนและอรรถประโยชน์ได้จากการทบทวนวรรณกรรม รายงานผลการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์แสดงในรูปของค่าอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่ม (Incremental Cost-Effectiveness Ratio, ICER) และประเมินความไม่แน่นอนโดยใช้ One-Way Sensitivity Analysis และ Probabilistic Sensitivity Analysis นอกจากนี้ผลกระทบด้านงบประมาณคำนวณโดยใช้มุมมองของรัฐบาล ผลการศึกษา : ค่า ICER ของการตรวจยีน HLA-B*57:01 เปรียบเทียบกับการไม่ตรวจยีน ก่อนเริ่มการรักษาด้วยยา Abacavir แบบ First-Line Treatment (สถานการณ์ที่ 1) เท่ากับ 4,075 บาทต่อปีสุขภาวะ ในมุมมองทางสังคม และ Cost-Saving (ICER = -6,412 บาทต่อปีสุขภาวะที่เพิ่มขึ้น) ในมุมมองของรัฐบาล นอกจากนี้ค่า ICER ของการตรวจยีน HLA-B*57:01 เปรียบเทียบกับการไม่ตรวจยีน ก่อนเริ่มการรักษาด้วยยา Abacavir แบบ Second-Line Treatment (สถานการณ์ที่ 2) เท่ากับ 18,437 บาทต่อปีสุขภาวะ (มุมมองทางสังคม) และ 11,793 บาทต่อปีสุขภาวะที่เพิ่มขึ้น (มุมมองของรัฐบาล) ยังส่งผลให้มีผลกระทบด้านงบประมาณของการตรวจยีน HLA*B-57:01 เมื่อเทียบกับการไม่ตรวจยีน เท่ากับ 4,230,000 บาทต่อปี ในสถานการณ์ที่ 2 สรุปผลการศึกษา : หากพิจารณาตามคู่มือการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพสำหรับประเทศไทย ซึ่งกำหนดเกณฑ์ความคุ้มค่าของความเต็มใจจ่ายสำหรับประเทศไทยที่ 160,000 บาทต่อปีสุขภาวะ ผู้ป่วยเอชไอวีเริ่มใช้ยา Abacavir Regimen เป็น First-Line หรือ Second-Line Treatment การตรวจยีน HLA-B*57:01 ก่อนเริ่มการรักษาด้วยยา Abacavir มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการตรวจยีน ดังนั้น ผลการศึกษานี้สนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบายในการบรรจุการตรวจยีน HLA-B*57:01 ก่อนเริ่มการรักษาด้วยยา Abacavir ในชุดสิทธิประโยชน์ของสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าสำหรับผู้ป่วยเอชไอวีที่เริ่มใช้ยา Abacavir Regimen เป็น First-Line หรือ Second-Line Treatment


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6030

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้