ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 75 คน
ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้สูงอายุ: การวิเคราะห์ผลการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2545 ถึง 2560
นักวิจัย :
ศลิษา ฤทธิมโนมัย , วรณัน วิทยาพิภพสกุล , วุฒิพันธุ์ วงษ์มงคล , ชาฮีดา วิริยาทร ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
29 มีนาคม 2567

ผู้สูงอายุเป็นวัยที่พบการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพรวมถึงการถดถอยของความสามารถด้านต่างๆ ในการดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการใช้ชีวิตอย่างเป็นส่วนหนึ่งของสังคม หนึ่งในวิธีการบรรเทาปัญหาดังกล่าวคือการใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ (assistive products) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ภายนอกร่างกายที่ออกแบบหรือดัดแปลงสำหรับช่วยเหลือบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย อย่างไรก็ตาม ยังพบความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงอุปกรณ์ช่วยเหลือในประเทศที่มีรายได้ปานกลางและประเทศรายได้ต่ำ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้สูงอายุในประเทศไทยโดยใช้ข้อมูลการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย ซึ่งจัดโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ จำนวน 5 ครั้ง (พ.ศ. 2545, 2550, 2554, 2557 และ 2560) ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุมีปัญหาด้านการมองเห็นประมาณร้อยละ 45-57 และปัญหาด้านการได้ยินประมาณร้อยละ 14-19 โดยเพศหญิงมีสัดส่วนของผู้มีปัญหามากกว่าเพศชาย และกลุ่มที่มีอายุสูงกว่ามีปัญหามากกว่าโดยเฉพาะด้านการได้ยิน การวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงอุปกรณ์ช่วยเหลือ 3 อุปกรณ์ ได้แก่ แว่นตา เครื่องช่วยฟังและฟันปลอมด้วยโมเดลการถดถอยโลจิสติกพหุกลุ่ม สะท้อนให้เห็นว่า ปัจจัยที่มีผลมากต่อการเข้าถึงอุปกรณ์ช่วยเหลือคือ ระดับเศรษฐฐานะที่สูงกว่า (แว่นตา: รวยที่สุดเข้าถึงมากกว่ายากจนที่สุด 2.2 เท่า ฟันปลอม: 2.5 เท่า) อายุที่มากขึ้น (เครื่องช่วยฟัง: อายุมากกว่า 80 ปีเข้าถึงมากกว่าอายุ 60-69 ปี 1.8 เท่า ฟันปลอม: 1.7 เท่า) และระดับการศึกษา (แว่นตา: ปริญญาตรีเข้าถึงมากกว่าไม่เคยเรียน 2.8 เท่า) ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการเพิ่มการเข้าถึงอุปกรณ์เครื่องช่วยในกลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ในระดับเศรษฐฐานะยากจน ผู้ที่ไม่เคยเรียนหนังสือหรือสำเร็จการศึกษาในระดับประถมศึกษาและผู้สูงอายุตอนต้นเนื่องจากการไม่ได้รับอุปกรณ์เครื่องช่วยในเวลาที่เหมาะสมอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพและศักยภาพในการดำรงชีวิตซึ่งจะนำมาสู่ปัญหาด้านการดูแลผู้สูงอายุและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในอนาคตที่จะเพิ่มขึ้นได้


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6043

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้