ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 108 คน
การจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อสนับสนุนการพัฒนาแนวปฏิบัติและแนวทางการติดตามประเมินผลของระบบการแพทย์ทางไกล ผ่านการถอดบทเรียนในบริบทไทยและบริบทโลก
นักวิจัย :
วรรณฤดี อิสรานุวัฒน์ชัย , นิธิเจน กิตติรัชกุล , วิลาวรรณ ล้วนคงสมจิตร , สุธาสินี คำหลวง , ปภาดา ราญรอน , เบญจมพร เอี่ยมสกุล , ปิยดา แก้วเขียว , โชติกา สุวรรณพานิช , เฌอริลิณญ์ ประทุมสุวรรณ์ , ธนกิตติ์ อธิบดี , ธนายุต เศรณีโสภณ , จิราธร สุตะวงศ์ , ธนัยนันท์ ชวนไชยะกูล , Dabak, Saudamini Vishwanath , Chavarina, Kinanti Khansa , Liu, Sichen ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
7 กุมภาพันธ์ 2567

ภูมิหลัง : การแพทย์ทางไกลหรือโทรเวช (Telemedicine) ถือเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณสุขบนโลกดิจิทัล (Digital Health) โดยเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วยส่งเสริมให้การให้บริการทางการแพทย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกและรวดเร็วทั้งต่อผู้ให้บริการและผู้รับบริการในประเทศไทย สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาระบบบริการการแพทย์ทางไกลอย่างก้าวกระโดด โดยโรงพยาบาลรัฐและเอกชนหลายแห่งได้นำระบบดังกล่าวมาใช้และผสานเข้ากับการให้บริการทางการแพทย์โดยทั่วไป อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการให้บริการการแพทย์ทางไกลในประเทศไทย แต่ยังคงขาดนโยบายระดับชาติ (National Telemedicine Policy) รวมถึงแนวทางการดำเนินงานหรือแนวเวชปฏิบัติที่ชัดเจนและครอบคลุม วัตถุประสงค์ : โครงการวิจัยนี้ ประกอบด้วยการศึกษา 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การศึกษารายกรณีการพัฒนาและการให้บริการการแพทย์ทางไกลในประเทศไทย ส่วนที่ 2 การถอดบทเรียนบริการการแพทย์ทางไกลในต่างประเทศ และ ส่วนที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลด้านการใช้งานของระบบการแพทย์ทางไกลและแนวโน้มการใช้งานการแพทย์ทางไกลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและโรงพยาบาล ระเบียบวิธีวิจัย : การศึกษาส่วนที่ 1 และ 2 ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลตามกรอบการศึกษา ประกอบด้วย การทบทวนเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกและการอภิปรายกลุ่ม ส่วนที่ 3 เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ ที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิจากคลังข้อมูลสุขภาพ 43 แฟ้มในระบบบันทึกข้อมูลและประมวลผลข้อมูลการบริการทางการแพทย์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และข้อมูลจากสถานพยาบาลกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการศึกษา ผลการศึกษาและอภิปรายผล : การแพทย์ทางไกลถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการให้บริการในสถานพยาบาล ได้แก่ ความแออัดของผู้รับบริการ การรอคอยเพื่อเข้ารับบริการที่ยาวนานและการไม่สามารถเข้าถึงบริการของผู้ป่วยในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 หรือผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกล สถานพยาบาลกลุ่มตัวอย่างมีรูปแบบการให้บริการการแพทย์ทางไกลที่หลากหลาย จากการศึกษาข้อมูลการใช้บริการการแพทย์ทางไกล พบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน (ช่วงอายุ 25-59 ปี) และเป็นเพศหญิง โดยจำนวนการเข้ารับบริการการแพทย์ทางไกลในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 สูงกว่าช่วงที่ไม่มีการระบาดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการศึกษาทั้ง 3 ส่วน คณะผู้วิจัยพบว่าการพัฒนาและให้บริการการแพทย์ทางไกลอย่างยั่งยืนมีองค์ประกอบสำคัญที่ต้องคำนึง 6 ด้าน ได้แก่ 1) ระบบอภิบาลและการทำงานร่วมกัน 2) กฎ ระเบียบ และมาตรฐานการดำเนินงาน 3) ความพร้อมของบุคลากร 4) งบประมาณ และระบบการเบิกชดเชยค่าบริการ 5) โครงสร้างพื้นฐาน และ 6) บริการและแอปพลิเคชัน นอกจากองค์ประกอบในข้างต้นแล้ว การให้บริการการแพทย์ทางไกลอย่างยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีปัจจัย 4 ด้าน ได้แก่ ความรอบรู้ด้านดิจิทัลของประชาชน (ทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ) ความต้องการในการให้บริการและรับบริการ ความปลอดภัยและความครอบคลุมของบริการที่ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างเท่าเทียม


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6006

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้