ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 261 คน
การวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์ของการล้างไตผ่านทางช่องท้องด้วยวิธี Automated Peritoneal Dialysis เปรียบเทียบกับ Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis ในผู้ป่วยเด็กโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายโดยใช้วิธีแบบจำลองมาร์คอฟ
นักวิจัย :
อุษา ฉายเกล็ดแก้ว , มณฑิรา อัศนธรรม , มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์ , ศิตาพร ยังคง ,
ปีพิมพ์ :
2566
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
15 พฤศจิกายน 2566

บทนำ : ในปัจจุบันการล้างไตด้วยวิธี Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis (CAPD) บรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ของสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในขณะที่วิธี Automated Peritoneal Dialysis (APD) มีค่าใช้จ่ายที่สูงและยังไม่บรรจุในชุดสิทธิประโยชน์และไม่เคยมีการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในผู้ป่วยเด็กโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย (End State Kidney Disease, ESKD) มาก่อน วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์และผลกระทบด้านงบประมาณของการล้างไตผ่านทางช่องท้องด้วยวิธี APD เปรียบเทียบกับ CAPD ในผู้ป่วยเด็ก ESKD โดยใช้แบบจำลองมาร์คอฟ และเพื่อศึกษาผลกระทบด้านสังคมของวิธีการล้างไตผ่านทางช่องด้วยวิธี APD และ CAPD ในมุมมองของผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วย วิธีการศึกษา : การศึกษานี้ใช้การวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์ (Cost-Utility Analysis) การวิเคราะห์ผลกระทบของงบประมาณ (Budget Impact Analysis) โดยใช้แบบจำลองมาร์คอฟในมุมมองทางสังคม ผลการวิเคราะห์จะรายงานในรูปแบบอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่ม (Incremental Cost-Effectiveness Ratio, ICER) ผลกระทบด้านงบประมาณคำนวณโดยใช้มุมมองของรัฐบาล นอกจากนี้ ผลกระทบด้านสังคมจะประเมินโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการอธิบายเชิงพรรณนา (Descriptive Research) โดยเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตผ่านทางช่องท้องด้วยวิธี APD และ CAPD โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษา : ในมุมมองทางสังคม เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ล้างไตด้วยวิธี CAPD ผู้ป่วยที่ล้างไตด้วยวิธี APD มีค่า ICER เท่ากับ 3,063,598 บาทต่อปีสุขภาวะที่เพิ่มขึ้น และการล้างไตด้วย APD เพิ่มงบประมาณเฉลี่ยเท่ากับ 54 ล้านบาทต่อปี เมื่อเทียบกับ CAPD นอกจากนี้ การล้างไตในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่เป็นเด็กส่งผลกระทบด้านสังคมทั้งต่อตัวผู้ป่วยเด็กและผู้ดูแลหรือครอบครัว แตกต่างจากผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่เป็นผู้ใหญ่ที่การล้างไตจะส่งผลกระทบส่วนใหญ่กับตัวผู้ป่วยเอง ดังนั้น เมื่อมีผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่เป็นเด็กอยู่ในครอบครัวจะมีโอกาสเกิดภาระทางสังคมได้มากกว่า และการล้างไตด้วยวิธี APD เป็นที่พึงพอใจโดยเฉพาะผลกระทบด้านสังคมเชิงบวกที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยและผู้ดูแล สรุปและอภิปรายผลการศึกษา : หากความเต็มใจจ่ายของสังคมในประเทศไทยเท่ากับ 160,000 บาทต่อปีสุขภาวะที่เพิ่มขึ้น การล้างไตด้วยวิธี APD ยังไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาผลกระทบด้านสังคมที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเด็กและผู้ดูแล การล้างไตด้วยวิธี APD จะช่วยให้ทั้งผู้ป่วยเด็กและผู้ดูแลสามารถดำเนินชีวิตประจำวันในช่วงกลางวันได้ และเพิ่มภาระงบประมาณเฉลี่ย 54 ล้านบาทต่อปี เมื่อเปรียบเทียบกับวิธี CAPD จึงขอเสนอให้บรรจุการล้างไตด้วยวิธี APD เข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์สำหรับหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อย่างไรก็ตาม ภาครัฐจึงควรมีวิธีการสนับสนุนเชิงสังคมให้กับผู้ป่วยเด็กและครอบครัว


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5967

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้