ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 226 คน
การเพิ่มความรับผิดชอบและประสิทธิภาพของระบบการกำกับการกินยารักษาวัณโรคโดยใช้แอปพลิเคชั่นมือถือ
นักวิจัย :
วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ , พลกฤต ขำวิชา ,
ปีพิมพ์ :
2566
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
16 พฤศจิกายน 2566

การติดตามการกินยาของผู้ป่วยวัณโรคด้วยการมีพี่เลี้ยงดูแลการกินยาต่อหน้า (Directly Observed Therapy, DOT) ไม่สามารถติดตามการกินยาของผู้ป่วยได้อย่างยั่งยืน เนื่องจากไม่มีระบบจัดการที่เหมาะสม รวมทั้งไม่มีระบบกำกับภาระหน้าที่รับผิดชอบที่ชัดเจน (Accountability) และไม่สามารถปฏิบัติการได้สะดวกโดยเฉพาะสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) การติดตามการกินยาด้วยวิธี DOT ไม่สามารถปฏิบัติได้ในหลายพื้นที่ คณะผู้วิจัยได้พัฒนาระบบการติดตามการกินยาของผู้ป่วยวัณโรคโดยสร้างแอปพลิเคชัน TH VOT ในการติดตามการกินยาด้วยวิดีโอผ่านแอปพลิเคชันมือถือ (Video Observed Therapy, VOT) เพื่ออำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขใช้ติดตามการกินยาผู้ป่วยวัณโรคทางไกลได้และเป็นการดำเนินงานตามหลักการ Social Distancing โดยแอปพลิเคชันดังกล่าวถูกทดสอบความน่าใช้งานในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่และเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา พบว่า ผู้ทดลองใช้งานระบบทุกคนสามารถใช้งานได้และให้ความเห็นความน่าใช้งานอยู่ในระดับมาตรฐาน จากนั้นจึงวิจัยเปรียบเทียบการดำเนินงานติดตามการกินยาผู้ป่วยวัณโรคในสถานการณ์จริงในพื้นที่ทดสอบระบบดังกล่าว โดยสุ่มพื้นที่ปฏิบัติการดำเนินงานเป็น 2 กลุ่ม คือ การดำเนินงาน VOT (กลุ่มทดลอง) และการดำเนินงาน DOT (กลุ่มเปรียบเทียบ) โดยเป็นการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research, PAR) เพื่อให้มี Accountability ของเจ้าหน้าที่อยู่ในระบบ เพื่อเปรียบเทียบความรับผิดชอบในการติดตามการกินยาที่สามารถตรวจสอบได้และประสิทธิภาพการรักษาทางระบาดวิทยา การศึกษานี้มีผู้ป่วยวัณโรคปอด จำนวน 63 คน ในกลุ่ม VOT และจำนวน 65 คน ในกลุ่ม DOT โดยผู้ป่วยในกลุ่ม VOT ผู้ป่วยมีวันสะสมในการรายงานการกินยาเฉลี่ย 27.6 วัน ในขณะที่ผู้ป่วยใน DOT มีเฉลี่ย 12.4 วัน ความแตกต่างเฉลี่ย คือ 15.2 วัน (95% CI; 0.6 ถึง 29.7) พี่เลี้ยงในกลุ่ม VOT มีวันสะสมในการดูแลผู้ป่วยเฉลี่ย 21.5 วัน ในขณะที่พี่เลี้ยงในกลุ่ม DOT มีวันสะสมในการดูแลผู้ป่วยเฉลี่ย 0.3 วัน ความแตกต่างเฉลี่ย คือ 21.2 (95% CI; 10.8 ถึง 31.6) ผู้วิจัยไม่พบความแตกต่างที่มีนัยสำคัญในอัตราการเปลี่ยนแปลงของผลการตรวจหาเชื้อวัณโรคในเสมหะ (Sputum Conversion) และจำนวนการรายงานผลไม่พึงประสงค์จากการกินยาต้านวัณโรคจากผลลัพธ์การวิจัยและพัฒนาจนถึงปัจจุบัน ระบบ TH VOT ทำให้ผู้ป่วยกินยาได้ครบถ้วนมากขึ้น แต่พี่เลี้ยงยังตรวจสอบได้ไม่ครบถ้วน ปัญหานี้อาจบ่งบอกถึงความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงระบบการทำงานในการกำกับการกินยาต้านวัณโรคของพี่เลี้ยง ซึ่งยังไม่ดีพอแม้จะมีระบบ TH VOT ช่วยอำนวยความสะดวก


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5970

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้