ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 200 คน
การใช้ประโยชน์จากระบบสิทธิบัตรในการต่อยอดวิจัยและพัฒนายาใหม่และการขึ้นทะเบียนตำรับยาใหม่ในประเทศไทย
นักวิจัย :
อุษาวดี สุตะภักดิ์ , ลักษมีเพ็ญ สารชวนะกิจ ,
ปีพิมพ์ :
2566
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
23 พฤศจิกายน 2566

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความเชื่อมโยงของการขึ้นทะเบียนตำรับยาและการขอรับสิทธิบัตรยา และ 2) วิเคราะห์ความละเอียดของเนื้อหาในคำขอรับสิทธิบัตรที่จะเป็นประโยชน์ในการต่อยอดการวิจัยและพัฒนายาของอุตสาหกรรมยาภายในประเทศ ทำการศึกษาโดยการสืบค้นจำนวนทะเบียนตำรับยาใหม่ ยาสามัญใหม่ สืบค้นคำขอรับสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์เส้นเวลาของการได้ทะเบียนยาและการขอรับสิทธิบัตรยาของยาแต่ละรายการ รวมถึงการให้นักวิจัยจากภาคอุตสาหกรรม จำนวน 3 ท่าน และนักวิจัยในภาคการศึกษาจำนวน 2 ท่าน วิเคราะห์ความละเอียดของเนื้อหาในคำขอรับสิทธิบัตร จำนวน 29 ฉบับ จากรายการยา 6 รายการ ว่ามีเพียงพอที่จะใช้ต่อยอดการวิจัยและพัฒนาหรือไม่ ผลการศึกษาพบว่า 1) การขอรับสิทธิบัตรมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีทะเบียนตำรับยาใหม่ ในขณะที่มีความสัมพันธ์กับการมีทะเบียนยาสามัญใหม่ในหลายรูปแบบขึ้นกับความครอบคลุมของการขอรับสิทธิบัตร หากมีคำขอรับสิทธิบัตรจำนวนมากในรายการยาเดียวจะเป็นอุปสรรคต่อการมียาสามัญใหม่ นอกจากนี้ยังพบว่า มีรายการยาหลายรายการที่มีทะเบียนตำรับยาล่าช้าเมื่อเทียบกับระยะเวลาที่ขอรับสิทธิบัตร มีการขอรับสิทธิบัตรยาในบางรายการโดยที่ไม่มีผลิตภัณฑ์ยาออกสู่ตลาดยา ยาหลายรายการมีคำขอรับสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องจำนวนมากและมีการละทิ้งคำขอในภายหลัง นอกจากนี้ยังพบว่า ไม่มียาสามัญใหม่ที่ผลิตภายในประเทศในกลุ่มยาเคมีบำบัด และ 2) ในการวิเคราะห์ความละเอียดของเนื้อหาในคำขอรับสิทธิบัตร พบว่า มีคำขอรับสิทธิบัตร 14 ฉบับที่นักวิจัยมีความเห็นที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยเห็นว่ามีเนื้อหาที่เพียงพอในการทำซ้ำหรือต่อยอดการวิจัยและพัฒนา จำนวน 10 ฉบับ และไม่เพียงพอที่จะทำซ้ำหรือต่อยอดการวิจัยและพัฒนา 4 ฉบับ รายละเอียดในคำขอรับสิทธิบัตรที่ไม่เพียงพอ เช่น ไม่แสดงสูตรโครงสร้างทางเคมีและลักษณะทางกายภาพของสารสังเคราะห์ ไม่ระบุสภาวะที่เหมาะสมในการสังเคราะห์ เช่น อุณหภูมิ เวลาที่ใช้ ไม่แสดงสูตรตำรับที่แน่นอนของตัวยาสำคัญและสารช่วยต่างๆ หรือไม่ระบุตัวยาสำคัญที่นำมารวมกันของตำรับยาสูตรผสม เป็นต้น ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ ควรกำหนดกรอบเนื้อหาสำคัญที่ต้องมีในรายละเอียดการประดิษฐ์ตามการขอถือสิทธิสิ่งประดิษฐ์ประเภทต่างๆ ควรเร่งรัดการเชื่อมโยงฐานข้อมูลการขึ้นทะเบียนตำรับยาและฐานข้อมูลสิทธิบัตร โดยให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แสวงหาแนวทางร่วมกันในการตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วนของการแจ้งคำขอรับสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องจากผู้ขอขึ้นทะเบียนตำรับยาตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5974

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้