ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 275 คน
Policy Brief - การศึกษาหน้าที่และอำนาจขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลกในเรื่องการรับถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก กรณีศึกษาเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปกฎหมายและแก้ไขอนุบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
นักวิจัย :
คณิดา นรัตถรักษา , ธีรเดช นรัตถรักษา , ปิยะ ศิริลักษณ์ , สุภินดา ศิริลักษณ์ ,
ปีพิมพ์ :
2566
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
10 ตุลาคม 2566

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหน้าที่และอำนาจขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลกในเรื่องการรับถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก โดยนำเสนอปัญหาและอุปสรรคด้านกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงนำเสนอแนวทางการแก้ไขกฎ และอนุบัญญัติที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งที่การอภิบาลระบบสุขภาพ ผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ คือ จำนวนข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย มาตรการในระดับประเทศและในเชิงพื้นที่ จำนวน 27 ประเด็น ทั้งนี้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเร่งรัดให้มีการปฏิรูปกฎหมายด้านการสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการบริการหรือหลักประกันระบบสุขภาพปฐมภูมิอันเป็นภารกิจถ่ายโอนกระจายอำนาจที่ภาครัฐจำเป็นจะต้องกระทำตามกฎหมายการกระจายอำนาจและหน้าที่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในลักษณะเป็นส่วนราชการที่เสริมการทำงานในเรื่องนี้ในเบื้องต้น อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ตลอดมาจนบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 คณะผู้วิจัยได้มีการศึกษาอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งจะต้องรับถ่ายโอนภารกิจนี้ทั้งในส่วนกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ อนุบัญญัติต่างๆ ที่จำเป็นและเกี่ยวเนื่องเพื่อให้ภารกิจการรับถ่ายโอนดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพในมิติของกฎหมาย ศึกษาจากประกาศของคณะกรรมการกระจายอำนาจตลอดจนคู่มือการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องที่ครอบคลุมในเรื่องของคน เงิน สิ่งของ สถานที่ การบริหารจัดการในระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอาทิเช่น เรื่องข้อมูลข่าวสารสารสนเทศ การบริหารจัดการยาและเวชภัณฑ์ ระบบการส่งต่อผู้ป่วย แนวทางปฏิบัติการทำงานหรือบูรณาการร่วมกันของส่วนราชการต่างๆ ทั้งในระหว่างราชการส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่น ตลอดจนรูปแบบการทำงานร่วมกันในภารกิจนี้ หรือในระบบการสาธารณสุขการแพทย์ปฐมภูมิในระหว่างท้องถิ่นแต่ละประเภทในเขตของแต่ละจังหวัด กล่าวโดยสรุป ปัญหาใหญ่ที่พบ คือ การขาดมาตรการเร่งรัดในเชิงกำกับการบริหารราชการแผ่นดินให้ทุกส่วนราชการ หรือทุกหน่วยราชการได้ดำเนินการตามกฎหมาย หรือคู่มือที่คณะกรรมการกระจายอำนาจได้ประกาศกำหนดไว้แล้วในการเตรียมความพร้อมในการดำเนินการดังกล่าว จนเป็นเหตุให้เกิดข้อขัดข้อง หรือความไม่เข้าใจในเจตนารมณ์ของภารกิจนี้ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติงานในพื้นที่ในแต่ละจังหวัดทั้งภาคส่วนสาธารณสุข และภาคส่วนองค์การบริหารส่วนจังหวัด แต่ก็ยังถือว่ายังเป็นช่วงเวลาที่ทุกภาคส่วนที่กำลังรับฟังและรวบรวมปัญหาในมิติด้านกฎหมายเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปรับปรุงและปฏิรูปโดยอาศัยงานวิจัยชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการปฏิรูปกฎหมายดังกล่าว


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5950

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้