ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 351 คน
การพัฒนาเครื่องมือและช่องทางการสื่อสารแบบดิจิทัลบนแพลตฟอร์มโมบายแอปพลิเคชันเพื่อการเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน: กรณีมลพิษข้ามพรมแดนจากโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสาใน สปป.ลาว
นักวิจัย :
สมเกียรติ จันทรสีมา , จารุภา พานิชภักดิ์ , อ้อมจันทร์ วงศ์สดสาย , ภาณุเบศร์ มหาเรือนขวัญ , ธีรมล บัวงาม , สุรพงษ์ พรรณวงษ์ , อัจฉราวดี บัวคลี่ , จันทนา ตาคำ ,
ปีพิมพ์ :
2566
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
16 ตุลาคม 2566

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญ 5 ประการ กล่าวคือ 1) เพื่อพัฒนาเครื่องมือการบันทึกข้อมูลการเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชนแบบดิจิทัลบนแพลตฟอร์มโมบายแอปพลิเคชัน 2) เพื่อสร้างช่องทางการสื่อสารที่ชุมชนมีส่วนร่วมทั้งที่เป็นแนวระนาบในและระหว่างชุมชน รวมถึงการสื่อสารแนวดิ่งจากล่างสู่บน (bottom-up) ทั้งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและการสื่อสารสาธารณะในประเด็นการเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชนกรณีมลพิษข้ามพรมแดน 3) เพื่อสร้างนักข่าวพลเมือง (citizen reporter) ที่สามารถผลิตเนื้อหาในเชิงลึกเกี่ยวกับการเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน 4) เพื่อพัฒนาพื้นที่เรียนรู้สาธารณะต้นแบบในการเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน และ 5) เพื่อนำผลการวิจัยของชุดโครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน จังหวัดน่าน ประเทศไทย กรณีมลพิษข้ามพรมแดนจากโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสา ประเทศลาว” มาผลิตสารคดีที่สะท้อนกระบวนการของโครงการวิจัย รูปแบบ วิธีการหรือบริบทที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชนเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนองค์ความรู้กับชุมชนที่ประสบปัญหาความเสี่ยงทางสุขภาพในลักษณะเดียวกัน กลุ่มตัวอย่างของการศึกษา ประกอบด้วยบุคลากรครูและนักเรียนจากโรงเรียน จำนวน 8 โรงเรียน ในพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และจำนวน 1 โรงเรียน ในอำเภอทุ่งช้าง รวมถึงกลุ่มเกษตรกรสวนส้มในอำเภอทุ่งช้าง คณะผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยทั้งในเชิงคุณภาพและในเชิงปริมาณในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการดำเนินโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในครั้งนี้ เครื่องมือและช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายครู นักเรียนและประชาชนในพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบจากมลพิษอากาศสามารถเก็บบันทึกข้อมูล รายงานและทำการสื่อสารข้อมูลการเฝ้าระวังผลกระทบฯ ผ่านการใช้แพลตฟอร์มโมบายแอปพลิเคชัน C-site ของสำนักเครือข่ายและการสื่อสารสาธารณะ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท. หรือ ThaiPBS) เครื่องมือและช่องทางการสื่อสาร ประกอบด้วย แผนที่ดิจิทัลบนแพลตฟอร์มการสื่อสารของ C-site ประกอบไปด้วย จำนวน 37 ชั้นข้อมูล โดยใช้ฐานข้อมูล GIS จำนวน 16 ชั้นข้อมูล อาทิ ขอบเขตการปกครอง ข้อมูลพื้นที่ป่า ชั้นลุ่มน้ำน่าน พิกัดหมู่บ้าน ตำบลขุนน่าน - ตำบลห้วยโก๋น และใช้ฐานข้อมูลจากหน่วยงานอีก 4 แห่ง ประกอบด้วย เสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) API เครื่องวัดฝุ่น PM2.5 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เครื่องวัด SO2 NO2 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร แผนที่ชุมชน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รวมถึงอีก จำนวน 14 ชั้นข้อมูลที่มีการลงพื้นที่สำรวจ อาทิ การจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัด การปักหมุดเรื่องเล่าจากนักข่าวพลเมืองในพื้นที่และการแจ้งเหตุฉุกเฉิน ผลการสำรวจชุมชนทั้ง 8 หมู่บ้านได้นำไปสู่การพัฒนาตัวชี้วัดชุมชนที่ครอบคลุมมิติด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม มีการพัฒนาแบบสำรวจดิจิทัลสุขภาพกายและใจ ในมิติสิ่งแวดล้อมได้พัฒนาแบบสำรวจดิจิทัลเพื่อใช้ในการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำด้วยสัตว์หน้าดินและแบบสำรวจพืช ผัก ผลผลิตให้แก่กลุ่มเกษตรทั่วไป และเกษตรกรสวนส้ม ในการฝึกอบรมเพื่อติดตั้งทักษะและการใช้แอปพลิเคชัน C-site และการใช้มือถือเพื่อวิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง หรือ MoJo4CitSci ในการเก็บข้อมูลการเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อม มีการฝึกอบรม จำนวน 2 รุ่น คือ รุ่นที่ 1 Training of Trainers (ToT) ผู้เข้าอบรมประกอบด้วย ครู นักเรียน ชาวบ้านอาสาสมัคร ในอำเภอเฉลิมพระเกียรติและเกษตรกรสวนส้ม ในอำเภอทุ่งช้าง และรุ่นที่ 2 กลุ่มนักเรียน รวมทั้งสิ้น จำนวน 99 คน การสื่อสารการเฝ้าระวังผลกระทบฯ มี 2 ลักษณะสำคัญ กล่าวคือ เกิดขึ้นทั้งระดับการสื่อสารแนวระนาบ (horizontal communication) ที่เป็นทั้งพื้นที่ในการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการใช้ความรู้และเครื่องมือที่จำเป็นในการเฝ้าระวังผลกระทบฯ และเป็นพื้นที่ของการสื่อสารความเสี่ยงภายในชุมชน และการสื่อสารแนวดิ่งที่เริ่มต้นจากการสื่อสารจากล่างสู่บน (bottom-up communication) ที่การไหลของการสื่อสารมีความเป็นพลวัตอันเนื่องมาจากโครงสร้างเปิดของความเป็นสื่อสาธารณะที่อยู่บนฐานคิดและมุ่งส่งเสริมการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม (participatory communication) ระบบนิเวศการสื่อสารเป็นเสมือนโครงข่ายการสื่อสารเพื่อรองรับการเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน ซึ่งหากระบบดังกล่าวได้รับการพัฒนาเชื่อมโยงเข้ากับระบบการสื่อสารเตือนภัยแห่งชาติที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ก็ยิ่งทำให้การดูแลสุขภาวะของประชาชนกลุ่มเปราะบางที่เสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบจากมลพิษข้ามพรมแดนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5952

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้