ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 267 คน
การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการตรวจคัดกรองโรคไตเรื้อรังในผู้สูงอายุ
นักวิจัย :
กฤษณี สระมุณี , สุรัชดา ชนโสภณ , พรชนก ศรีมงคล , ภาณุมาศ ภูมาศ , อารีรัตน์ ลีละธนาฤกษ์ , วิระพล ภิมาลย์ ,
ปีพิมพ์ :
2566
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
26 ตุลาคม 2566

ภูมิหลังและเหตุผล: ไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease, CKD) มีความชุกสูงในประเทศไทยและมีภาระค่าใช้จ่ายในการรักษามาก มีคำแนะนำว่าการคัดกรองความเสี่ยงของภาวะ CKD จะมีประโยชน์ อายุที่มากขึ้นถือเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งของการเกิด CKD แต่หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ายังไม่ได้กำหนดให้มีการคัดกรองไตให้แก่คนกลุ่มนี้อย่างสม่ำเสมอ วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาข้อเสนอชุดสิทธิประโยชน์ของการตรวจคัดกรองโรคไตเรื้อรังในผู้สูงอายุในบริบทประเทศไทย โดยการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ประเมินผลกระทบด้านงบประมาณและการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดบริการคัดกรองโรคไตเรื้อรังในผู้สูงอายุ วิธีการศึกษา: ศึกษาต้นทุนประสิทธิผลของวิธีการคัดกรองไต 6 วิธีในมุมมองทางสังคมและมุมมองผู้ให้บริการ โดยใช้แบบจำลอง decision tree และ markov model ร่วมกัน วิธีการคัดกรอง ได้แก่ Serum creatinine (Scr), Proteinuria dipstick (Pro), Microalbuminuria dipstick (Micro), Albumin-to-creatinine ratio (ACR) dipstick (ACRdip) และการใช้ 2 วิธีร่วมกัน คือ Pro+Scr และ Micro+Scr รวบรวมค่าพารามิเตอร์ด้วยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและวิเคราะห์อภิมาน วิเคราะห์ความไม่แน่นอนและวิเคราะห์ขีดจำกัดของความคุ้มค่า จากนั้นวิเคราะห์ผลกระทบด้านงบประมาณจากมุมมองของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยทำนายผลกระทบสำหรับ 5 ปี และศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดบริการจากมุมมองของผู้ปฏิบัติงานในระดับปฐมภูมิ ด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ผลการศึกษา: ภายใต้ความยินดีที่จะจ่ายของประเทศไทยที่ 160,000 บาทต่อ QALY ทำให้การคัดกรองทั้ง 6 วิธีนั้นมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ โดยถือเป็นการจ่ายเงินเพิ่มขึ้นที่ทำให้เกิดประโยชน์เพิ่มขึ้น ผลการวิเคราะห์มีค่า ICER อยู่ระหว่าง 16,878.73-24,245.37 บาทต่อ QALY ส่วนผลการวิเคราะห์ในมุมมองผู้ให้บริการมีค่า ICER อยู่ระหว่าง 13,844.74-20,503.14 บาทต่อ QALY วิธีการ Protienuria dipstick มี ICER ต่ำสุด โดยงบประมาณรวมของการคัดกรองและการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังสำหรับ 5 ปีเท่ากับ 5,653 ล้านบาท งบประมาณสำหรับการรักษาคิดเป็นร้อยละ 97-99 ของงบประมาณรวม ผู้ปฏิบัติงานในระดับปฐมภูมิเห็นว่าการคัดกรองไตในผู้สูงอายุมีประโยชน์ แต่ควรเลือกวิธีการที่ทำได้ง่ายและเสนอแนะว่าควรมีการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ก่อนประกาศนโยบาย ได้แก่ ความพร้อมด้านอัตรากำลัง การฝึกอบรมให้เจ้าหน้าที่มีความสามารถที่จะคัดกรองได้ การเตรียมระบบการดูแลผู้ป่วยและระบบส่งต่อหลังจากที่คัดกรองแล้วพบว่าเป็นโรค และการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคไตให้ผู้ป่วยรับทราบ เพื่อเพิ่มความร่วมมือในการคัดกรองและเข้ารับการรักษา สรุปผล: การคัดกรองไตในผู้สูงอายุปีละ 1 ครั้ง มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ โดยเสนอให้เลือกวิธี Protienuria dipstick เนื่องจากมีความคุ้มค่ามากที่สุดและมีผลกระทบด้านงบประมาณน้อยที่สุด การจัดบริการนี้มีความเป็นไปได้ในระดับปฐมภูมิแต่ควรมีการเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านบุคลากรและระบบการดูแลผู้ป่วยและระบบส่งต่อหลังจากที่คัดกรองแล้วพบว่าเป็นโรค จึงควรบรรจุบริการนี้เป็นชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5954

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้