ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 268 คน
การศึกษาระบบบริการสุขภาพด้านการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในระดับปฏิบัติการในมุมมองของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ
นักวิจัย :
อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์ , ยุวยงค์ จันทรวิจิตร , ณิชกานต์ ทรงไทย ,
ปีพิมพ์ :
2566
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
30 ตุลาคม 2566

ความร่วมมือในการรักษาด้วยยามีความสำคัญต่อการควบคุมการดำเนินโรคของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การส่งเสริมความร่วมมือในระดับปฏิบัติการเป็นกลไกสำคัญของการรักษาและการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วย การวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธีเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 11 คน และบุคลากรด้านสุขภาพ จำนวน 12 คน แล้วนำผลการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามในบุคลากรด้านสุขภาพ จำนวน 76 คน ที่ปฏิบัติงานที่คลินิกโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งและหน่วยบริการปฐมภูมิที่อยู่ในเครือข่าย ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยรับรู้เส้นทางการเข้ารับบริการว่ามี 5 ขั้นตอน คือ 1) การลงทะเบียนตรวจเลือด วัดความดันโลหิต 2) การรอรับการตรวจ 3) รับการตรวจรักษา 4) รอรับยา และ 5) รับยา ในขณะที่บุคลากรด้านสุขภาพรับรู้ว่าในระหว่างที่ผู้ป่วยรอรับการตรวจและรอรับยา ผู้ให้บริการมีการประเมินสุขภาพและภาวะแทรกซ้อนของโรค และการให้ความรู้เพื่อปรับพฤติกรรมของผู้ป่วย ระบบบริการที่เกี่ยวข้องกับการบริการด้านสุขภาพ สำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการส่งเสริมความร่วมมือด้วยยา นอกจากนี้ บุคลากรด้านสุขภาพมีการปฏิบัติการส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาด้วยยา 3 ด้าน คือ 1) ด้านการประเมินความร่วมมือ 2) ด้านการสื่อสารเพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพ และ 3) ด้านการตัดสินใจทางคลินิกเพื่อส่งเสริมความร่วมมือ โดยมีปัจจัยเงื่อนไขของการส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาด้วยยา แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ปัจจัยด้านผู้ป่วย ปัจจัยด้านบุคลากรและปัจจัยด้านระบบ การศึกษาการปฏิบัติการส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของบุคลากรด้านสุขภาพ พบว่า มีการสื่อสารเพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และน้อยที่สุดในด้านการประเมินความร่วมมือ มีการส่งเสริมความร่วมมือ ด้านการสื่อสารเพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากทุกมิติ (การรับยา/เติมยา ความเข้าใจเกี่ยวกับยา การบริหารจัดการยา การใช้ยา การติดตามผลของการใช้ยาและการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง) ส่วนการประเมินความร่วมมืออยู่ในระดับปานกลางและการตัดสินใจทางคลินิกในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้มิติที่มีการประเมินมากที่สุดคือมิติการใช้ยาและประเมินมิติการบริหารจัดการยาน้อยที่สุด มีการสื่อสารมากที่สุดในมิติการรับยา/เติมยา น้อยที่สุดคือมิติความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยา มีการตัดสินใจทางคลินิกเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาด้วยยามากที่สุดในมิติความเข้าใจเกี่ยวกับยา และมีการตัดสินใจทางคลินิกเพื่อส่งเสริม การรับยา/เติมยาน้อยที่สุด การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยเงื่อนไขด้านผู้ป่วย ด้านบุคลากรและด้านระบบกับการส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาด้วยยา โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียลและสถิติ สหสัมพันธ์ลำดับที่ของสเปียร์ แมน พบว่า การอบรมที่เกี่ยวข้อง (rpb = .32, p = < .01) ปัจจัยด้านผู้ป่วย ได้แก่ ลักษณะของยาที่ผู้ป่วยได้รับ (rs = .21, p < .05) ศักยภาพในการดูแลตนเองของผู้ป่วย (rs = .21, p < .05) และปัจจัยด้านบุคลากร คือ ความเข้าใจของบุคลากรเกี่ยวกับโรค ยา และความร่วมมือ (rs = .24, p < .05) มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาด้วยยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5956

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้