ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 282 คน
ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มารับการรักษาที่คลินิกโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลชุมชน: การวิจัยเชิงคุณภาพ
นักวิจัย :
ปิ่นหทัย ศุภเมธาพร , ชื่นจิตร กองแก้ว , ศศิมาภรณ์ แหยงกระโทก ,
ปีพิมพ์ :
2566
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
30 ตุลาคม 2566

โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญ ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง ทางเดินหายใจเรื้อรังและเบาหวาน ซึ่งเป็นสาเหตุการป่วยและการตายที่สำคัญของประชากรทั่วโลกและประเทศไทย ซึ่งการรักษาและการควบคุมโรค จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วย แต่ผู้ป่วยเกินครึ่งมีปัญหาไม่สามารถใช้ยาตามแผนการรักษา ส่งผลต่อตัวผู้ป่วยทั้งในมิติของภาวะแทรกซ้อน ทุพพลภาพ และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และต่อมิติของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพโดยรวมของประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลจากการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนและทุพพลภาพ แม้องค์ความรู้เกี่ยวกับความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในต่างประเทศจะพัฒนาไปมาก แต่เป็นความรู้ที่พัฒนาขึ้นภายใต้บริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากบริบทของสังคมไทย จึงมีข้อจำกัดในการนำหลักฐานเชิงประจักษ์เหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยไทย นอกจากนี้ การวิจัยยังขาดการศึกษาเชิงลึกจากมุมมองของผู้ป่วย ซึ่งจะให้รายละเอียดข้อมูลที่ทำให้เข้าใจความร่วมมือและไม่ร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยมากขึ้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทำความเข้าใจความหมายและประสบการณ์ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน และปัจจัยเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องจากมิติของผู้ป่วย การวิจัยนี้ประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษา พื้นที่ศึกษาคือ คลินิกโรคเรื้อรังและคลินิกจิตเวช โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่เป็นเครือข่ายดูแลโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลชุมชน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ร่วมกับการสังเกตและการศึกษาข้อมูลความเจ็บป่วยและการรักษาจากระเบียนประวัติ ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ที่ลงทะเบียนเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังของคลินิกโรคเรื้อรังและคลินิกจิตเวช จำนวน 24 ราย คัดเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด คือ 1) เป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง (Hypertension, HT) และ/หรือ มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ (Dyslipidemia, DLP) และ/หรือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Myocardia Infarction, MI) และ/หรือ โรคหัวใจวาย (Chronic Heart Failure, CHF) และ/หรือ โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) และ/หรือ โรคเบาหวาน (Diabetes, DM) และ/หรือ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease, COPD) และ/หรือ โรคซึมเศร้า (Depression) 2) ได้รับยารักษาโรคเรื้อรัง อย่างน้อย 1 ชนิด ที่คลินิกโรคเรื้อรังหรือคลินิกจิตเวช โรงพยาบาลวังทอง หรือ รพ.สต. หนองพระ เป็นเวลาต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปี 3) สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ และ 4) สมัครเข้าร่วมการวิจัยโดยได้รับการบอกกล่าวอย่างเต็มใจ การศึกษา ดำเนินการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลซ้ำ จำนวน 8 ราย รวมทั้งหมด จำนวน 32 บทสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลดำเนินการควบคู่ไปกับการเก็บรวบรวมข้อมูลตลอดการศึกษา โดยประยุกต์ใช้วิธีการของโคไลซี (Colaizzi, 1978 cited in Sanders, 2003) และในการสร้างความน่าเชื่อถือของงานวิจัยได้ประยุกต์ใช้แนวคิดของลินคอล์นและกูบา (Lincoln & Guba, 1985) ผลการศึกษา พบว่า ประสบการณ์ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน ประกอบด้วย 5 ประเด็นหลัก คือ 1) การเข้ารับการรักษา เพื่อต้องการชีวิตที่ดีขึ้น เป็นการเข้ารับการรักษาของผู้ป่วยและให้ความร่วมมือในการรักษาด้วยยา ที่มีความต้องการและความคาดหวังที่จะหาย หรือทุเลาจากอาการของโรค สามารถกลับมาดำรงชีวิตได้ตามปกติ ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาตามมุมมองของผู้ป่วยจึงมีความหมายถึงการใช้ยาตามคำสั่งของแพทย์เพื่อต้องการชีวิตที่ดีขึ้น 2) ความกังวลที่จะใช้ยาตามแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง 3) การจัดการใช้ยาด้วยตนเอง 4) การสนับสนุนจากครอบครัวในการได้รับยาต่อเนื่อง และ 5) การสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสารกับบุคลากรทางการแพทย์เพื่อการรักษาที่ดี โดยประเด็นหลักที่ 2 ถึง 5 เป็นปัจจัยเงื่อนไขที่ส่งผลต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้องรังในชุมชน


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5957

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้