ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 246 คน
ธรรมชาติของปัญหาความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยไทยที่มีโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามขั้นตอนการจัดการการใช้ยาด้วยตนเอง
นักวิจัย :
ชื่นจิตร กองแก้ว , ศศิมาภรณ์ แหยงกระโทก ,
ปีพิมพ์ :
2566
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
30 ตุลาคม 2566

วัตถุประสงค์ : (1) เพื่อศึกษาปัจจัยของความไม่ร่วมมือในการรักษาด้วยยาในผู้ป่วยสูงอายุ โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มารับการรักษาในสถานะผู้ป่วยนอก (2) เพื่อประเมินมูลค่าของยาเหลือใช้ซึ่งเกิดจากความไม่ร่วมมือในการรักษาด้วยยาในผู้ป่วยสูงอายุ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงสังเกตแบบพรรณนาที่จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง สุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบจากรายชื่อผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และ/หรือโรคไขมันในเลือดสูงอย่างน้อย 1 โรค ในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาล เก็บข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์ที่พัฒนาขึ้นตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา จากนั้นผู้เชี่ยวชาญทางเภสัชกรรมคลินิกทำการประเมินกรณีศึกษาจากภาคสนามเพื่อยืนยันความร่วมมือในการรักษาด้วยยา สถานที่เก็บข้อมูลเขตชนบท ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบล (รพ.สต.) หนองพระ จังหวัดพิษณุโลกและเขตเมือง ได้แก่ โรงพยาบาลราชวิถี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาโดยใช้โปรแกรม SPSS เวอร์ชัน 21 ผลการศึกษา : ผลการศึกษาในเขตชนบท กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 214 คน ความชุกของความไม่ร่วมมือในการรักษาด้วยยาในผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ร้อยละ 98.1 โดยพบความไม่ร่วมมือในการรักษาด้วยยาในแต่ละขั้นตอนดังนี้ (1) ขั้นตอนการรับยาต่อเนื่องตามแพทย์สั่งเป็นจำนวน 43 ราย (ร้อยละ 20.1) (2) ขั้นตอนความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาและการปฏิบัติตัวระหว่างใช้ยาเป็นจำนวน 185 ราย (ร้อยละ 86.4) (3) ขั้นตอนการจัดการการใช้ยาเป็นจำนวน 174 ราย (ร้อยละ 81.3) (4) ขั้นตอนการรับประทานยา/การใช้ยาเป็นจำนวน 175 ราย (ร้อยละ 81.8) (5) ขั้นตอนการติดตามความปลอดภัยในการใช้ยาเป็นจำนวน 181 ราย (ร้อยละ 84.6) (6) ขั้นตอนการใช้ยาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาการรักษาที่กำหนดเป็นจำนวน 175 ราย ( ร้อยละ 81.8) โดยเมื่อคำนวณปริมาณยาและมูลค่ายาเหลือใช้ทั้งหมดของกลุ่มตัวอย่าง พบว่ามีปริมาณยาเหลือใช้ 11,007.5 เม็ด มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 10,027.63 บาท คิดเป็นเฉลี่ย 63.07 บาทต่อราย โดยกลุ่มยาที่มีปริมาณยาเหลือใช้มากที่สุด คือ กลุ่มยาที่ใช้ในการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด ส่วนผลการศึกษาในเขตเมือง กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 286 ราย พบความชุกของความไม่ร่วมมือในการรักษาด้วยยา จำนวน 85 ราย (ร้อยละ 29.72) สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความไม่ร่วมมือในการรักษาด้วยยา ซึ่งวิเคราะห์โดยใช้ chi-square และ Fisher exact test ไม่พบความแตกต่างในกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม เมื่อคำนวณปริมาณยาและมูลค่ายาเหลือใช้ทั้งหมดของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า มีปริมาณยาเหลือใช้ จำนวน 11,341 เม็ด คิดเป็นมูลค่า 46,339.14 บาท เฉลี่ย 545.16 บาทต่อราย โดยยา Atorvastatin 40 mg เป็นยาที่มีมูลค่าของยาเหลือใช้มากที่สุด 12,337.50 บาท ส่วนยา Metformin 500 mg เป็นยาที่มีจำนวนเม็ดยาที่มีปริมาณเหลือมากที่สุด 1,14.50 เม็ด สรุปผลการศึกษา : ความไม่ร่วมมือในการรักษาด้วยยา เป็นปัญหาที่มีความสำคัญในระบบสาธารณสุขไทยโดยเฉพาะเขตชนบท ควรจัดให้มีกลวิธีในการส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาด้วยยาที่มีประสิทธิภาพง่ายในการปฏิบัติงานปกติได้ เพื่อจัดการกับความไม่ร่วมมือในการรักษาด้วยยา


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5958

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้