ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 277 คน
ยุติวัณโรคล้านนา โดยการมีส่วนร่วมของร้านขายยา และคลินิกเอกชนในการคัดกรองและส่งต่อผู้มีอาการวัณโรค
นักวิจัย :
จินตนา งามวิทยาพงศ์-ยาไน , ดิเรก สุดแดน , คณัสนันท์ ศรีวรรณรมย์ , ณัฐประคัลภ์ หอมนวล , ทรามวัย หลวงจินา , นภัชณันท์ บุญจู , เบญจวรรณ บุญส่ง , บุญชัย ไชยาศิรินทร์โรจน์ , ภัสสรา ซาลิซส์ , ศราวุธ มณีวงค์ , สิริวิมล มณี , สุรีรัตน์ ท้าวถึง , เอกชัย คนกลาง ,
ปีพิมพ์ :
2566
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
30 ตุลาคม 2566

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ : จากผลการศึกษาในการดำเนินงานวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบความร่วมมือของหลายภาคส่วน เพื่อยุติวัณโรคในเขตเทศบาลเมืองและอำเภอเมือง (ปีที่ 1) ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ในปี พ.ศ. 2562-2563 พบว่า ร้านขายยา/คลินิก ร่วมคัดกรอง/ส่งต่อผู้ป่วย ทำให้ตรวจพบวัณโรครายใหม่สูงถึงร้อยละ 25 (6/24) จึงนำมาสู่การขยายผล โครงการวิจัยปฏิบัติการนี้ ซึ่งดำเนินการใน 8 จังหวัดของเขตสุขภาพที่ 1 ในช่วงที่มีการระบาดหนักของโรคโควิด-19 นักวิจัยปฏิบัติการ (Operational Researcher, OR) เป็นข้าราชการของจังหวัดละ 1 คน มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการให้ร้านขายยา/คลินิกคัดกรองและส่งต่อผู้ที่เสี่ยงต่อวัณโรคไปโรงพยาบาลเปรียบเทียบผลการดำเนินงานและศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของ 8 จังหวัด วิธีการ : พัฒนาหลักสูตรอบรมวัณโรคออนไลน์และเว็บแอปพลิเคชัน TB-Refer สำหรับร้านขายยาและคลินิกเอกชนใช้คัดกรองและส่งต่อผู้มีความเสี่ยงต่อวัณโรค จากนั้นเก็บข้อมูลนาน 9 เดือน ทำการวิเคราะห์ฐานข้อมูล TB-Refer และสัมภาษณ์เจาะลึกกับร้านขายยา/คลินิก ที่ส่งต่อและไม่ส่งต่อ, นักวิจัย OR, ผู้บริหารงานวัณโรคจังหวัด (Mr.TB), และบุคลากรโรงพยาบาลที่รับส่งต่อ ผลการศึกษา : อัตราการเข้าร่วมโครงการของร้านขายยา 8 จังหวัด เท่ากับร้อยละ 50.4 (143/284) จังหวัดที่เข้าร่วมต่ำสุด 12.7% สูงสุด 100% คลินิกเข้าร่วมโครงการเพียง 4.6% (11/240) ไม่มีคลินิกเข้าร่วม 2 จังหวัด ร้านขายยาเพียงร้อยละ 13.3 (19/143) คัดกรองและส่งต่อกลุ่มเสี่ยง จำนวน 37 ราย คลินิกมีเพียง 2 จาก 11 ร้านที่คัดกรองและส่งต่อ จำนวน 2 ราย รวมจำนวน 39 ราย (มีอาการ 38 เป็นผู้สัมผัสไม่มีอาการ 1) ไปตามการส่งต่อ จำนวน 19 ราย พบวัณโรคปอด จำนวน 1 ราย (ผล AFB 3+) มีร้านขายยา 57 ร้าน คลินิก 5 แห่ง ร่วมการอบรมออนไลน์ คะแนนความรู้เฉลี่ยเกี่ยวกับวัณโรคหลังอบรมของบุคลากรจากร้านขายยา เพิ่มขึ้นจาก 16 (IQR = 4) เป็น 23 (IQR = 2) (p < 0.001) บุคลากรจากคลินิก เพิ่มขึ้นจาก 17.8 (SD 4.5) เป็น 21.8 (SD 2.3) (p = 0.034) ร้านขายยา/คลินิกที่เข้าอบรมออนไลน์คัดกรองและส่งต่อมากกว่าร้านที่ไม่อบรม (22.6% vs 7.6%, p = 0.008) มีเพียง 1 ใน 8 จังหวัดที่มีความสม่ำเสมอในการส่งต่อและสื่อสารต่อเนื่องระหว่าง OR กับร้านขายยา/คลินิก เป็นจังหวัดที่ OR มาจากงานควบคุมโรคที่ได้รับการสนับสนุนดีมากจากงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข (คบส.) รวมทั้ง Mr.TB ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) และ Mr.TB ของโรงพยาบาล (รพ.) ทำให้ รพ. มีช่องทางด่วน (Fast Track) รับผู้ป่วยที่ถูกส่งตัว สรุปผลและข้อเสนอแนะ : มีความเป็นไปได้ที่ร้านขายยาและคลินิกร่วมคัดกรองและส่งต่อผู้ที่เสี่ยงต่อวัณโรค โดยมีผู้ประสานงานจากงานควบคุมโรคของ สสจ. และความร่วมมือที่ดีจากงาน คบส. และผู้บริหารจังหวัด ควรสนับสนุนให้ร้านขายยาและคลินิกรับการอบรมออนไลน์


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5959

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้