ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 280 คน
การวิจัยและพัฒนาแบบวัดความร่วมมือในการใช้ยาหลายมิติสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ภายใต้บริบทประเทศไทย
นักวิจัย :
ชื่นจิตร กองแก้ว ,
ปีพิมพ์ :
2566
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
31 ตุลาคม 2566

วัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาแบบประเมินการวัดความร่วมมือต่อยาของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังฉบับเบื้องต้น (20-item medication adherence questionnaire; MAQ-20) รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพเชิงจิตวิทยาของแบบประเมิน ในด้านความตรงเชิงเนื้อหาและความเชื่อมั่น (2) พัฒนาแบบวัด แบบประเมินความร่วมมือต่อยาเฉพาะสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน (3) พัฒนานวัตกรรมดิจิทัลจากแบบวัดความร่วมมือในการใช้ยาหลายมิติสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ระเบียบวิธีวิจัย งานวิจัยเชิงพัฒนา (Developmental Research) ส่วนที่ 1 กระบวนการพัฒนาแบบประเมิน ความร่วมมือต่อยาของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังฉบับเบื้องต้น มีทั้งหมด 4 ขั้นตอน เริ่มจาก 1.1) ทบทวนวรรณกรรมเพื่อสร้างข้อคำถามตามกรอบแนวคิดของแบบจำลองการจัดการยาด้วยตนเอง (Medication Self-Management Model) 1.2) กำหนดด้านและจำแนกข้อคำถามตามรายด้าน 1.3) นำแบบร่างฉบับแรกไปตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และ 1.4) ตรวจสอบความเชื่อมั่นจากค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ส่วนที่ 2 กระบวนการพัฒนาแบบประเมินความร่วมมือต่อยาเฉพาะชนิดโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชจลนศาสตร์และเภสัชพลศาสตร์ กรณียาที่ศึกษามีงานวิจัยเกี่ยวกับเภสัชจลนศาสตร์และเภสัชพลศาสตร์เชิงประชากร จะใช้การสร้างแบบจำลองทำนายการลืมกินยา กรณียาที่ศึกษา ไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับเภสัชจลนศาสตร์และเภสัชพลศาสตร์เชิงประชากร ใช้การทบทวนข้อมูลด้านเภสัชจลนศาสตร์และเภสัชพลศาสตร์ของยาแต่ละชนิด ส่วนที่ 3 การพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลจากแบบวัดความร่วมมือต่อยาที่พัฒนาขึ้น โดยมีขั้นตอน 5 ขั้นตอน 3.1) การออกแบบโครงสร้างแอปพลิเคชันบนพื้นฐานความสะดวกและง่ายต่อผู้ใช้งาน (user friendly) 3.2) การพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ในเซิร์ฟเวอร์สำหรับเก็บและจัดการข้อมูล 3.3) การเฝ้าระวังความปลอดภัยของฐานข้อมูลผ่านการใช้งานโปรโตคอลสำหรับเรียกใช้งานเว็บไซต์ (Hypertext Transfer Protocol Secure: HTTPS); Secure Socket Layer (SSL) 3.4) การจัดการกับฐานข้อมูลเพื่อป้องกันข้อมูลสูญหาย และ 3.5) การทดสอบแอปพลิเคชันเบื้องต้นด้านการใช้งานและตรวจสอบความถูกต้อง โดยผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา ส่วนที่ 1 การพัฒนาแบบประเมินความร่วมมือต่อยา ได้ข้อคำถามทั้งหมด 20 ข้อ ครอบคลุมองค์ประกอบ 6 ด้าน ดังนี้ 1) การรับยาต่อเนื่อง 2) ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยา 3) การบริหารจัดการยา 4) การใช้ยาของผู้ป่วย 5) การติดตามความปลอดภัยจากการใช้ยา และ 6) การใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ระดับตัวเลือกในแต่ละข้อเป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่าของลิเคิร์ท 3 ระดับ ได้แก่ เป็นประจำ บางครั้ง และไม่เคยเลย ผลการประเมินความตรงเชิงเนื้อหามีค่าสัมประสิทธิ์ ความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67-1 และเมื่อนำแบบประเมินฉบับปรับปรุง (ฉบับร่างที่ 2) ไปทดสอบนำร่องในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 40 คน พบว่า เวลาเฉลี่ยที่ใช้ทำแบบทดสอบ คือ 9 นาที ความเชื่อมั่นของ 20 ข้อคำถาม มีสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.657 บ่งชี้ถึงความสอดคล้องภายในอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ดังนั้นแบบประเมินฉบับสุดท้าย ซึ่งเกิดจากการพิจารณาตัดข้อคำถาม 1 ข้อออกจากฉบับร่างที่ 2 ส่งผลให้มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเพิ่มขึ้น มีชื่อว่าแบบประเมินความร่วมมือต่อยาด้วยตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง MAQ–20 ซึ่งมีความตรงและความเชื่อมั่นอยู่ในระดับยอมรับได้ ส่วนที่ 2 ได้แบบประเมินความร่วมมือต่อยา เฉพาะชนิด จำนวน 40 ข้อ ตามขอบเขตรายการยาที่มีใช้ในโรงพยาบาลชุมชน มีตัวเลือก 3 ตัวเลือก บนพื้นฐานของข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์และเภสัชพลศาสตร์ของยาและความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ส่วนที่ 3 ได้โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อทำงานบนเว็บไซต์โดยเรียกใช้งานผ่านทางออนไลน์ทั้งระบบอินเทอร์เน็ต (Internet) หรืออินทราเน็ต (Intranet) ชื่อ MAQ plus© แบ่งออกเป็น หน้าหลักแสดงข้อมูลโครงการ, แบบวัดที่ได้พัฒนาขึ้นจากส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2, คู่มือสำหรับการใช้งานแอปพลิเคชัน, และคำถามที่พบบ่อยที่ผ่านการทดสอบเบื้องต้นด้านการใช้งานแอปพลิเคชันและตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ สรุปผล แบบประเมิน MAQ–20 มีความตรงและความเชื่อมั่นอยู่ในระดับยอมรับได้ แบบประเมินยาเฉพาะชนิดผ่านการพัฒนาเบื้องต้นความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เช่นเดียวกับ MAQ plus© การศึกษาในอนาคต ควรตรวจสอบคุณสมบัติเชิงจิตวิทยาในเรื่องความตรงเชิงโครงสร้าง, ความตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์และการวัดความเที่ยงด้วยวิธีทดสอบซ้ำ เพิ่มเติมโดยทำการศึกษาในประชากรกลุ่มใหญ่ขึ้นตลอดจนการเปรียบเทียบการใช้งานของแอปพลิเคชันกับแอปพลิเคชันที่มีวัตถุประสงค์เหมือนกันที่มีอยู่ในท้องตลาด


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5960

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้