ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 343 คน
การพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านความร่วมมือในการใช้ยาแบบบูรณาการสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
นักวิจัย :
ชื่นจิตร กองแก้ว , อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์ , ปิ่นหทัย ศุภเมธาพร ,
ปีพิมพ์ :
2566
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
31 ตุลาคม 2566

ที่มาและความสำคัญ : โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นกลุ่มโรคที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาอย่างต่อเนื่อง ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้การรักษาบรรลุเป้าหมาย วัตถุประสงค์ : (1) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้จากผลการวิจัยต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำของชุดโครงการความร่วมมือด้านการใช้ยาแบบบูรณาการสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (2) เพื่อพัฒนารูปแบบของต้นแบบส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ยาแบบบูรณาการสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มารับการรักษาที่คลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลชุมชน และ (3) เพื่อทดสอบต้นแบบการส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ยาแบบบูรณาการสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มารับการรักษาที่คลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลชุมชน ระเบียบวิธีวิจัย : เป็นการวิจัยผสมผสาน ประกอบด้วย (1) การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้จากผลการวิจัยต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำของชุดโครงการความร่วมมือด้านการใช้ยา (2) การวิเคราะห์ข้อมูลการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคลากร ผู้ป่วยและผู้ดูแล เพื่อพัฒนาต้นแบบที่ร่างขึ้นและการศึกษาแบบทดลองแบบสุ่ม ชนิดมีการไขว้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ไม่มีความร่วมมือในการรักษาด้วยยาที่เข้ารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลวังทอง ที่คำนวณได้เท่ากับ จำนวน 72 คน การเก็บข้อมูล ส่วนที่ 1 ทดสอบการเปลี่ยนแปลงเชิงปริมาณของอัตราชุกของความร่วมมือในการใช้ยาก่อนและหลังการได้รับระบบบริการใหม่ในผู้ป่วย จำนวน 36 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับระบบบริการปกติเป็นระยะเวลา 1 เดือน จากนั้นได้รับระบบบริการใหม่เป็นระยะเวลา 1 เดือน และส่วนที่ 2 ทดสอบความต่อเนื่องของความร่วมมือด้วยการรักษาด้วยยาหลังจากได้รับระบบบริการใหม่ ในผู้ป่วยอีกกลุ่ม จำนวน 37 คน โดยจัดให้ได้รับระบบบริการใหม่ก่อนเป็นระยะเวลา 1 เดือน จากนั้นเข้าสู่ระบบปกติเป็นระยะเวลา 1 เดือน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความร่วมมือในการใช้ยาด้วยตนเอง สำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และการสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบข้อมูล 2 กลุ่ม ที่มีความสัมพันธ์กันโดยใช้สถิติ McNemar Test และ Wilcoxon Signed Ranks Test และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างข้อมูล 2 กลุ่ม ที่เป็นอิสระกัน โดยใช้สถิติ Mann Whitney U Test โดยใช้โปรแกรมสถิติ SPSS เวอร์ชัน 21 ผลการศึกษา : ผู้เชี่ยวชาญมีฉันทามติเกี่ยวกับนิยาม ความหมายของความร่วมมือในการรักษาด้วยยาที่สอดคล้องกับ 6 ขั้นตอน การจัดการการใช้ยาด้วยตนเองตามแนวคิดของ Bailey et al. (2013) และครอบคลุมกิจกรรมตามเส้นทางการรับบริการของผู้ป่วยในสถานพยาบาล ผลการทดสอบต้นแบบส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ยาแบบบูรณาการสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มารับการรักษาที่คลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลชุมชน (ระบบใหม่) พบว่า สัดส่วนของผู้ป่วยที่มีความร่วมมือในการรักษาด้วยยาเพิ่มขึ้นหลังได้รับระบบบริการใหม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และเมื่อพิจารณาตามขั้นตอนความร่วมมือในการรักษาด้วยยาจะพบว่า ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในขั้นตอนการบริหารจัดการยา (p = 0.046) และขั้นตอนการใช้ยา (p < 0.001) เมื่อเปรียบเทียบผลของระบบในแต่ละช่วงเดือน ช่วงเดือนที่ 1 ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของกลุ่มที่ได้รับระบบใหม่กับกลุ่มที่ได้รับระบบปกติ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) โดยกลุ่มที่ได้รับระบบใหม่มีความร่วมมือในการรักษาด้วยยาดีกว่ากลุ่มที่ได้รับระบบปกติ ช่วงเดือนที่ 2 ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของกลุ่มที่สลับมารับระบบใหม่กับกลุ่มที่สลับมารับระบบปกติ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.002) กลุ่มที่สลับมารับระบบใหม่ในเดือนที่ 2 มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนผู้ป่วย โดยมีจำนวนผู้ป่วยที่มีความร่วมมือในการรักษาด้วยยาเพิ่มขึ้นกว่าช่วงที่ได้รับระบบปกติในเดือนที่ 1 ส่วนกลุ่มที่สลับมารับระบบเดิมในเดือนที่ 2 มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนผู้ป่วย โดยจำนวนผู้ป่วยที่มีความร่วมมือในการรักษาด้วยยาลดลงกว่าช่วงที่ได้รับระบบปกติในเดือนที่ 1 สรุปผลการศึกษา : เมื่อเปรียบเทียบกับระบบบริการปกติ ระบบบริการใหม่ช่วยเพิ่มความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผลของการให้บริการในระบบใหม่มีความต่อเนื่องของความร่วมมือในการใช้ยาอย่างน้อย 1 เดือน ในอนาคตควรทดสอบการนำระบบบริการใหม่ในโรงพยาบาลอื่น เพื่อยืนยันประสิทธิภาพของต้นแบบและการนำต้นแบบไปใช้อย่างกว้างขวาง


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5961

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้