ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 1141 คน
การพัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน จังหวัดน่าน ประเทศไทย กรณี มลพิษข้ามพรมแดนจากโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสา ประเทศลาว
นักวิจัย :
สมพร เพ็งค่ำ , ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย , ปกรณ์ เลิศเสถียรชัย , ธัญญาภรณ์ สุรภักดี ,
ปีพิมพ์ :
2566
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
15 กันยายน 2566

ชุมชนในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน กำลังเผชิญกับความเสี่ยงมลพิษข้ามพรมแดนจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ขนาด 1,878 เมกกะวัตต์ ตั้งอยู่ที่เมืองหงสา แขวงไซยะบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ชายแดนติดกับจังหวัดน่านของประเทศไทย การที่โรงไฟฟ้าไปตั้งอยู่ในฝั่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ไม่มีข้อผูกมัดให้ต้องดำเนินการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องในฝั่งไทย แม้มลพิษอาจจะข้ามแดนตามธรรมชาติ แต่ไม่ได้มีข้อบังคับหรือข้อตกลงทางกฎหมายที่ข้ามพรมแดนรัฐชาติมากำหนดด้วย เช่นนี้เองจึงเป็นที่มาของการพัฒนาระบบเฝ้าระวังสำหรับพื้นที่เสี่ยงในจังหวัดน่าน โดยให้เป็นระบบที่ประชาชนมีส่วนร่วม ริเริ่มและเป็นเจ้าของร่วม เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและเป็นระบบที่ดึงเอาความเชี่ยวชาญจากหลากหลายศาสตร์ เข้ามาเสริมกำลังในการค้นหาความเป็นจริง งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบข้ามศาสตร์ ที่ทำงานร่วมกันเป็นทีมระหว่างโครงการวิจัยภายใต้การสนับสนุนของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) จำนวน 5 โครงการ ได้แก่ 1) การใช้ดัชนีบ่งชี้ทางเคมีและชีวภาพเพื่อติดตามตรวจสอบมลพิษทางอากาศและการพัฒนาเครื่องมือสำหรับชุมชนในการเฝ้าระวังคุณภาพอากาศ 2) การจัดทำแผนที่ความเสี่ยง การติดตามการปนเปื้อน การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตของชุมชนจากมลพิษทางอากาศจากโรงไฟฟ้าถ่านหินตกสะสมในสิ่งแวดล้อม 3) การใช้ฐานข้อมูลเพื่อการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการเตรียมความพร้อมต่อการรับมือกับปัญหามลพิษข้ามพรมแดน 4) การพัฒนาเครื่องมือและช่องทางการสื่อสารของชุมชนในการเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพ และ 5) การพัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน จังหวัดน่าน ประเทศไทย กรณี มลพิษข้ามพรมแดนจากโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสา ประเทศลาว หลักการตั้งต้นของการออกแบบระบบเฝ้าระวังนี้ คือ ใช้ฐานการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ที่ยึดหลักการป้องกันไว้ก่อน วัตถุประสงค์ของการวิจัยมี 4 ข้อ คือ 1) พัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบด้านสุขภาพโดยชุมชนจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน 2) สร้างกลไกการทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อันนำไปสู่การสร้างความร่วมมือป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษข้ามพรมแดน 3) พัฒนารูปแบบและกระบวนการสร้างความรู้ร่วมกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญกับชุมชนในการรู้เท่าทันมลพิษโรงไฟฟ้าถ่านหิน และ 4) เป็นกรณีศึกษาการประเมินผลกระทบทางสุขภาพข้ามพรมแดน ในขั้นตอนการติดตามตรวจสอบผลกระทบ จากการศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) ผลักดันการกำกับการปลดปล่อยมลพิษจากแหล่งกำเนิด โดยการติดเครื่องดักปรอท ปรับปรุงประสิทธิภาพเทคโนโลยีในการดักจับฝุ่น การดักจับไนโตรเจนออกไซต์และซัลเฟอร์ออกไซต์ ทั้งนี้ควรดำเนินงานผ่านกลไกกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรรมการสิทธิมนุษยชนอาเซียน รวมถึงใช้กลไกของสถาบันการเงินในการตรวจสอบตามหลักการธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ในระยะยาวควรผลักดันให้มีการประเมินผลกระทบข้ามแดน และกลไกกำกับมลพิษข้ามแดนในอาเซียน 2) ให้มีระบบเฝ้าระวังผลกระทบโดยให้ชุมชนมีบทบาทสำคัญในการเฝ้าระวังตนเอง ทำงานร่วมกับนักวิชาการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจากโรงไฟฟ้าหงสาด้วย 3) ให้มีกระบวนการติดตามตรวจสอบผลกระทบที่เกิดขึ้นหากพิสูจน์ได้ว่ามาจากมลพิษโรงไฟฟ้าหงสา ให้มีการชดเชยเยียวยาอย่างเป็นธรรม รวมถึงรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อน 4) ผลักดันให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อมในหมวดที่เกี่ยวกับการเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อมและเพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับการร่วมกำกับดูแลมลพิษข้ามแดน โดยใช้งานวิจัยนี้เป็นกรณีศึกษา


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5921

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้