เอกสารเนื้อหาฉบับย่อและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สำคัญ ประเด็นสำหรับฝ่ายบริหาร หรือผู้มีอำนาจตัดสินใจเชิงนโยบาย เพื่อใช้ตัดสินเกี่ยวกับการดำเนินการตามนโยบายของรัฐหรือหน่วยงานรัฐบาล
หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า : ความยั่งยืนทางการเงินการคลัง
ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย ซึ่งมีแหล่งเงินส่วนใหญ่มาจากภาครัฐ ได้ประสบความสำเร็จในการลดอุปสรรคทางการเงินของภาคครัวเรือนอย่างมีนัยสำคัญ โดยสัดส่วนครัวเรือนที่ล้มละลายทางการเงินจากค่ารักษาพยาบาลลดลงจากร้อยละ 5.7 ในปี 2543 เหลือเพียงร้อยละ 1.8 ในปี 2565 อย่างไรก็ตาม ระบบกำลังเผชิญกับความท้าทายด้านความยั่งยืนทางการคลัง เนื่องจากรายจ่ายสุขภาพภาครัฐมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะเพิ่มจากร้อยละ 4.4 ของ GDP ในปี 2565 เป็นร้อยละ 5.2 ในปี 2583
นอกจากนี้ ยังมีความแตกต่างของรายจ่ายต่อหัวประชากรระหว่าง 3 กองทุนหลักอย่างชัดเจนในปี 2564 ได้แก่ กองทุนสวัสดิการข้าราชการ (14,955.0 บาท/คน), ประกันสังคม (8,581.4 บาท/คน), และหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (3,349.4 บาท/คน) ซึ่งสะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำและประสิทธิภาพที่ต่างกัน ดังนั้น ข้อเสนอแนะจึงมุ่งเน้นการบริหารจัดการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างความยั่งยืนทางการคลังตามหลักการ S-A-F-E (Sustainability-Adequacy-Fairness-Efficiency) เพื่อให้ระบบสามารถรองรับค่าใช้จ่ายในอนาคตได้อย่างเหมาะสม
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้