4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

สวรส. จัดวงแลกเปลี่ยน-พัฒนากรอบประเมินวิจัย “การพัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพ กรณีมลพิษข้ามพรมแดนจากโรงไฟฟ้าหงสา” หวังหนุนงานวิจัยให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด-พัฒนาไปสู่ระบบเฝ้าระวังที่ยั่งยืนโดยชุมชน

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนากรอบการประเมินประสิทธิผลและการวางแนวทางในการประเมินผลกระทบของโครงการวิจัยที่หวังผลสูง “โครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน จังหวัดน่าน ประเทศไทย” กรณีมลพิษข้ามพรมแดนจากโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสา ประเทศลาว  โดยระดมนักวิจัยจากโครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพฯ ดังกล่าวมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตลอดจนพัฒนากรอบการประเมินร่วมกัน เพื่อให้การประเมินฯ มีความสอดคล้องกับบริบทและกระบวนการวิจัยของโครงการที่ถูกประเมินฯ เมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2566 ณ ห้องประชุมคุณสาร หน่วยประสานงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อาคารพญาไทพลาซ่า

          ทั้งนี้โครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน จังหวัดน่าน ประเทศไทยฯ เป็นโครงการวิจัยที่มีการสนับสนุนทุนวิจัยต่อเนื่องโดย สวรส. ซึ่งเป็นชุดโครงการวิจัยที่มีโครงการย่อยทั้งหมด 5 โครงการ และมีเป้าหมายหลักของการวิจัยคือการสร้างและพัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน ภายใต้แนวคิดและหลักการของวิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง และการสร้างความรู้ร่วมกัน ระหว่างความรู้ของผู้เชี่ยวชาญกับความรู้จากประสบการณ์ชีวิตของคนในชุมชน และยังเป็นงานวิจัยที่มีการระดมนักวิจัยจากหลากหลายสาขามาทำงานแบบข้ามศาสตร์ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม นักวิศวกรรมศาสตร์ นักสื่อสาร/สื่อมวลชน นักพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม คนในชุมชน ฯลฯ โดยผลกระทบจากงานวิจัยที่คาดหวังคือ ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงได้รับการปกป้อง และได้รับความเป็นธรรมทางสุขภาพ รวมถึงชุมชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพมากขึ้น  ดังนั้น สวรส. จึงจัดให้มีการประเมินโครงการฯ เพื่อพิสูจน์ให้เห็นอย่างเป็นระบบว่าผลลัพธ์และผลกระทบที่คาดหวัง สามารถบรรลุได้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่  และมากไปกว่านั้น ถ้าการพัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชนดังกล่าว สามารถทำให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน และมีรูปแบบการดำเนินงานที่ชัดเจน องค์ความรู้ที่ได้จะสามารถนำไปขยายผลและปรับใช้ในพื้นที่อื่นๆ ที่กำลังเผชิญกับความเสี่ยงจากมลพิษสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพได้อีกด้วย 

          ผศ.ดร.ชื่นจิต ชาญชิตปรีชา หัวหน้าสาชาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยสุรนารี เครือข่ายวิจัย สวรส. หัวหน้าทีมประเมินประสิทธิผลโครงการฯ ให้ข้อมูลว่า ช่วงหลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านการวิจัย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในยุทธศาตร์หลักที่จะช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และช่วยขับเคลื่อนกลไกสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งจะเห็นได้จากการกำหนดกรอบยุทธศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมของประเทศที่มีทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ 1) การพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้ 2) การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม 3) การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และ 4) การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ ทั้งนี้การประเมินประสิทธิผลของการวิจัยฯ จะช่วยสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาเชิงระบบและประโยชน์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ รวมถึงสามารถให้ข้อมูลย้อนกลับได้ว่าการดำเนินการวิจัยเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ เพื่อให้เกิดการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานวิจัยให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดจนการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปสร้างความเปลี่ยนแปลงหรือผลกระทบที่ช่วยให้เกิดความยั่งยืนในชุมชนต่อไป 

          สำหรับกรอบการประเมินโครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชนฯ เบื้องต้น ที่จะนำไปประเมิน มีทั้งหมด 6 ด้าน ได้แก่ 1) การสร้างทีมเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน 2) การสร้างระบบเฝ้าระวังสุขภาพของชุมชน 3) การสร้างพื้นที่ความร่วมมือในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างทีมเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4) การสร้างระบบข้อมูลความรู้ของชุมชนที่มีความน่าเชื่อถือและเข้าถึงง่าย และสร้างวัฒนธรรมการใช้ข้อมูล 5) การสังเคราะห์บทเรียนการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังผลกระทบโดยชุมชน  และ 6) การจัดเวทีสาธารณะเพื่อนำเสนอข้อมูลและระบบเฝ้าระวังฯ ซึ่งจะนำทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory of Change: TOC) มาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์ภาพรวม เช่น วิเคราะห์ว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้อย่างไร โดยมีการอธิบายเส้นทางของการเกิดผลกระทบในเรื่องต่างๆ ซึ่งกรอบการวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงนี้ จะช่วยในการทดสอบและพิสูจน์ว่าผลกระทบที่คาดหวังนั้นเกิดจากข้อสันนิษฐานและแนวทางที่วางไว้หรือไม่ ผศ.ดร.ชื่นจิต กล่าว 

          ด้าน นางสาวสมพร เพ็งค่ำ ผู้จัดการชุดโครงการวิจัยการพัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชนฯ นักวิจัยเครือข่าย สวรส. กล่าวว่า การประเมินโครงการวิจัยฯ ควรคลี่กระบวนการวิจัยทั้งหมดออกมา แล้วประเมินให้เห็นว่า สิ่งที่เป็นเป้าหมายของโครงการวิจัยฯ ได้ทำหรือไม่อย่างไร โดยอาจประเมินทั้งในเชิงกระบวนการ เชิงเนื้อหา คุณภาพของข้อมูล หรือการถอดข้อมูลจากเรื่องเล่าของคนในชุมชน ก็จะทำให้เห็นถึงกระบวนการวิจัย ซึ่งการถอดข้อมูลเรื่องเล่าของชุมชนดังกล่าว สามารถนำมาพัฒนาเป็นตัวชี้วัดของโครงการวิจัยได้อีกทางหนึ่งด้วย ทั้งนี้ผลการประเมินอาจสะท้อนออกมาทั้งในมุมที่ประสบความสำเร็จและความล้มเหลว ซึ่งการประเมินเป็นเหมือนกระจกสะท้อนให้ทีมวิจัยทุกโครงการย่อยสามารถนำข้อมูลไปพัฒนากระบวนการวิจัยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และการประเมินจะกำกับให้สิ่งที่งานวิจัยทำเกิดความยั่งยืน 

CpjJwWHV
05 ก.ค. 67
หัวข้อ

1

รายละเอียด

20


abGtbgfi
05 ก.ค. 67
หัวข้อ

1

รายละเอียด

20


TzwSVsOw
15 ส.ค. 67
หัวข้อ

1

รายละเอียด

20


QPbmCRVM
15 ส.ค. 67
หัวข้อ

1

รายละเอียด

20


KfnqDuxw
23 ส.ค. 67
หัวข้อ

1

รายละเอียด

20


แสดงความคิดเห็น

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้