ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู

บริการที่ดีต้องมีราคาแพง?

        เร็วๆ นี้ผมต้องนั่งทบทวนวรรณกรรมเพื่อตอบปัญหาว่า ระหว่างบริการที่มีคุณภาพกับการควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดบริการนั้น หากต้องเลือกเราควรจะเลือกอะไรดี (คุณภาพ vs การควบคุมค่าใช้จ่าย)

        คำถามดังกล่าวตั้งอยู่บนสมมติฐานหรือความเชื่อที่ว่า เราไม่สามารถจัดบริการที่มีคุณภาพและควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายไปได้พร้อมๆ กัน ถ้าเราให้ความสำคัญกับประเด็นหนึ่งมาก ก็จะสูญเสียอีกประเด็นหนึ่งไป พูดง่ายๆ คือ อยากได้บริการที่มีคุณภาพ ก็ต้องแลกกับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น (หรือควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายได้น้อยลง)

ผมสืบค้นได้วรรณกรรมจำนวนหนึ่งทั้งจาก google และ science direct ส่วนใหญ่เป็นบทความและการศึกษาที่ได้ในประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา มีข้อค้นพบที่สำคัญดังนี้ครับ

       1. ไม่ได้มีหลักประกันว่าบริการสุขภาพที่มีค่าใช้จ่ายสูง จะเป็นบริการที่มีคุณภาพและให้ผลลัพธ์สุขภาพดีกว่าบริการสุขภาพเดียวกันที่ มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่า [[1]] นอกจากนี้ยังพบว่า ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจำนวนมากในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นหรือไม่ได้เป็นการให้บริการตามมาตรฐาน มีการตรวจวินิจฉัยและการให้ยาปฏิชีวนะหรือผ่าตัดเกินความจำเป็น [[2],[3],[4]] ค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งเกิดจากการดูแลผลแทรกซ้อนของการดูแลสุขภาพที่ไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐาน [4] การลดค่าใช้จ่ายในการจัด บริการสุขภาพโดยไม่กระทบต่อคุณภาพบริการ สามารถทำโดยการเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพ [4] การจัดบริการจนกระทั่งถึงจุดหนึ่ง (threshold) ที่การลดต้นทุนจะกระทบต่อคุณภาพบริการ [3] ต้นทุน ณ จุดนั้นจึงเป็น “ต้นทุนขั้นต่ำ” ในการจัดบริการนั้นๆ ตามมาตรฐานที่กำหนด

        2. ประเด็น เรื่องคุณภาพ/มาตรฐานบริการสุขภาพมีความซับซ้อน ประกอบด้วยหลายมิติ ทำให้ยากที่จะหาข้อยุติเรื่อง “นิยาม (definition)” และ “การวัด (measurement)” ซึ่งจะเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป [4] ความซับซ้อนดังกล่าวทำให้การคำนวณหา “ต้นทุนขั้นต่ำ” สำหรับบริการหนึ่งๆ (ให้เป็นที่ยอมรับ) เป็นเรื่องยากด้วย

        3. เนื่อง จากบริการสุขภาพเป็น labor intensive service ซึ่งต้นทุนค่าแรงอาจสูงมากกว่าร้อยละ 50 ของต้นทุนทั้งหมด คุณภาพบริการสุขภาพก็ขึ้นกับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของบุคลากรเป็น สำคัญ มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบจึงควรมุ่งเน้นที่ประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร บุคคล การส่งเสริมให้บุคลากรให้บริการตามมาตรฐานซึ่งเป็นที่ยอมรับ (practice guideline)

ดูข้อมูลจากการทบทวนแล้ว สงสัยเราคงไม่สามารถสรุปได้ง่ายๆ ว่า บริการสุขภาพที่ดีต้องมีราคาแพง และยากที่จะสรุปว่า บริการสุขภาพที่เราให้บริการอยู่ปัจจุบัน (ไม่ว่าจะบอกว่าเป็นบริการที่มีคุณภาพหรือไม่) มีต้นทุนค่าใช้จ่ายอย่างเหมาะสม ทั้งหมดยังเป็นคำถามที่ต้องการการศึกษาเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้องต่อไป


[1]. Reed A. In health care, cost isn’t proof of quality. The New York Time. June 14, 2007. [Cited 2008 March 5] Available from URL: http://www.nytimes.com/2007/06/14/ health/14insure.html.
[2] Laborers’ Health & Safety Fund of North America 2005. Health care cost containment focus shifts to quality. [Cited 2008 January 31] Available from URL: http://www.lhsfna. org/index.cfm
[3] Eugene L, Michael C (2000). Cost and quality under Managed Care: irreconcilable differencesω The American Journal of Managed Care. Vol. 6 No.3 March 2000.
[4] Bruce S. Pay-for-performance: is it quality or cost that mattersω Applied Neurology. [Cited 2008 January 31] Available from URL: http://appneurology.com/ print.jhtmlωartcileID=187200420&url_prefix..
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้