ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู

จากงานประจำ...สู่งานวิจัย..ความท้าทายของคนทำงาน

Teaser: 
การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research) เป็นคำที่ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชR2R" (อาร์-ทู-อาร์) ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) เป็นผู้บัญญัติขึ้นครั้งแรกให้กับโครงการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ซึ่งโครงการนี้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2547 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน และเพื่อให้ง่ายต่อการสื่อสาร

การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research) เป็นคำที่ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชR2R" (อาร์-ทู-อาร์) ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) เป็นผู้บัญญัติขึ้นครั้งแรกให้กับโครงการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ซึ่งโครงการนี้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2547 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน และเพื่อให้ง่ายต่อการสื่อสาร จึงมักเรียกการทำงานเช่นนี้ว่า "R2R"

 

        ลักษณะการทำงานของโครงการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย เป็นการสนับสนุนการทำงานของทีมที่พัฒนางานประจำในโรงพยาบาลทั้งด้านการศึกษา การรักษา และการบริการให้มีการปรับปรุงการทำงาน โดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นเครื่องมือในการทำงานไปสู่การปรับปรุง และพัฒนางานประจำที่ทำอยู่ให้ดีขึ้น ดังนั้น R2R เป็นเพียงแนวคิดหรือเครื่องมือในการพัฒนาระบบคุณภาพ แต่ไม่ใช่ระเบียบวิธีวิจัย มีหลายความคิดเห็นเกี่ยวกับคำนี้ บางคนคิดว่าเป็นการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากงานประจำ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า R2R เป็นการสร้างความรู้จากงานประจำ

        ในวงการสุขภาพ ต่างตระหนักดีว่าการบริการทางด้านสาธารณสุขจำเป็นต้องมีการพัฒนาต่อไปและการ พัฒนาที่ดีนั้นควรมีพื้นฐานมาจากหลักฐานทางการวิจัย แต่พอเริ่มคำว่าวิจัย คนทำงาน ส่วนใหญ่ก็อยากถอยห่าง อย่างไรก็ดี ก็ใช่ว่า จะไม่มี คนทำงาน ให้ความสนใจและเริ่ม ทำ R2R ยกตัวอย่างเช่น คุณอุบล จ๋วงพานิช พยาบาลโรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น กล่าวถึงการทำ R2R ว่า เมื่อเราทำงาน เราเกิดคำถามในใจ แล้วเราก็ต้องพยายามหาคำตอบ โดยศึกษาค้นคว้างานวิจัยที่มี  ถามผู้รู้ แล้วลองมาวางแผนการทำงาน พิสูจน์ด้วยการทำวิจัย เมื่อได้ผลวิจัย แล้วเราก็ต้องนำผลไปลองปฏิบัติดู ถ้าทำได้ดีเราก็นำไปใช้ในการทำงานจริง ระหว่างทำก็พยายามพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ การทำวิจัยในที่ทำงานไม่ยาก เพราะเรามีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยของเรา แต่ต้องการบริหารจัดการให้ดี   คุณนิภาพร ลครวงศ์ พยาบาลโรงพยาบาลยโสธร กล่าวถึง ปัญหาของการทำ R2R นั้น คือ การเขียนรายงานการวิจัย นักวิจัยมักไปติดกับดักของเรื่อง ระเบียบวิธีวิจัย... และสถิติ ซึ่งเป็นเรื่องของความเชี่ยวชาญ แต่สำหรับนักวิจัยหน้าใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดความตื่นกลัวในการทำวิจัย จำเป็นต้องสร้างทัศนคติที่ดีต่อการทำวิจัยเพื่อพัฒนางานประจำ  การแนะนำให้นักวิจัยหน้าใหม่ตัดความกังวลเกี่ยวกับการเขียน โดยให้เขียนรายงานในลักษณะเป็นเรื่องเล่าก่อนว่าตนเองทำอะไร ได้ผลอย่างไรก่อนตามหัวข้อของการเขียนรายงานการวิจัย และค่อยขัดเกลาให้เป็นภาษาวิชาการมากขึ้น นับเป็นการค่อยๆ ป้อนความรู้ โดยไม่ให้นักวิจัยหน้าใหม่ตื่นตัวกับการทำวิจัย ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่มีความน่าสนใจ แต่ที่สำคัญที่สุดคือกำลังใจที่จะทำวิจัย ต้องยึดแนวคิดที่ว่าทำงานวิจัยแล้วต้องมีความสุขกับการทำงานนั้นด้วย

        ยังมีเรื่องเล่าหลายเรื่อง ในหนังสือหลายเล่ม ที่ได้กล่าวถึงพยาบาลที่ทำงานวิจัย เช่น หนังสือเรื่องเล่าเมื่อพยาบาลทำงานวิจัย ของชมรมพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทย มีข้อความตอนหนึ่งกล่าวว่า จบปริญญาโทมาแล้วทำไมไม่เห็นทำวิจัยอีกเลย คำตอบที่ได้ยินคือจะเอาเวลาที่ไหน ทำงานมากมายขนาดนี้ ไม่รู้จะทำเรื่องอะไร ไม่อยากไปขอทุนยุ่งยาก ทำคนเดียวได้ยาก ต้องมีทีมช่วยหลายคน หัวหน้าไม่ได้ให้ความสำคัญ งานวิจัยมีคนทำเยอะแล้วเอาของเขามาใช้ก็ได้ ไม่ต้องทำใหม่ ร้อยแปดพันเก้า เหตุผล สุดท้ายคือไม่ได้ทำ ชักไม่แน่ใจ คงใช่กระมังที่บอกว่างานวิจัยเป็นของสูง เลยไม่มีใครอยากแตะต้อง แต่อย่างไรก็ตาม กลับมีงาน R2R ออกมาจำนวนมากจากบุคคลที่กล่าวข้อความเบื้องต้น เนื่องจากกระบวนคิดที่เปลี่ยนไป กระบวนการทำงานเปลี่ยนไป อีกทั้งความมุ่งหวังที่จะให้เกิดผลดีต่อผู้ป่วยและประชาชน สิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเองได้แก่ความสุข ความปิติที่เกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกับผู้อื่น
 
         ความท้าทาย
         การสนับสนุนให้เกิด R2R ต้องมีการบริหารจัดการ เช่นเดียวกับการให้บริการซึ่งก็ต้องมีการบริหารจัดการเพื่อให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล   การจัดการให้เกิดการวิจัยจากงานประจำมีเป้าหมายที่สำคัญ คือ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ แต่ที่ผ่านมาพบว่าการทำงานประจำให้เกิดเป็นงานวิจัยไม่ได้เกิดขึ้นอย่าง กว้างขวาง มีคนอยากทำแต่ไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ดังนั้นจึงต้องสร้างแนวคิดงานวิจัยว่าไม่ใช่เรื่องเหนื่อย ยุ่งยาก สามารถทำร่วมไปกับงานประจำได้ ไม่ต้องใช้เวลามากขึ้นกว่าปกติมาทำงานวิจัย โดยอย่าคิดถึงงานวิจัยเป็นหลัก คิดถึงงานที่ทำอยู่ จะทำอย่างไรให้ดีที่สุด และเมื่อคิดได้แล้วค่อยเอากระบวนการทำวิจัยเข้าไปเสริม ไปอำนวยความสะดวก  งาน ที่ทำอยู่อาจจะหนัก แต่น่าจะเป็นงานที่ท้าทายเพื่อให้เกิดผลที่ดีขึ้น และในอนาคตต่อไปข้างหน้า ความหนักของงานที่เคยทำอยู่อาจจะเบาลงได้ เนื่องจากค้นพบวิธีการใหม่ทำให้กระบวนการดูแลคนไข้ดีขึ้น  ทุก ปัญหาจากงานประจำ หลายครั้งมีการดำเนินการเพื่อแก้ไขหรือตอบปัญหา สามารถพัฒนาต่อยอดไปเป็นงานวิจัย ทำให้ทราบผลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ และเป็นต้นแบบที่ดี ดังนั้นคนที่ทำงานอยู่ต้องมีการพัฒนาเรียนรู้ เอาแนวคิด R2R ไปช่วย ทำให้เชิงวิชาการมีคุณภาพขึ้น และจะเกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ขึ้นได้ เมื่อ มีกระบวนการอย่างต่อเนื่องงานวิจัยก็ไม่เป็นภาระเพิ่มขึ้นแต่กลับส่งเสริม การทำงานให้ดีขึ้น และหากสามารถดำเนินการได้ทั่วทั้งองค์กร    สุดท้ายแล้วภาระงานประจำที่หนักก็จะลดลง   คนทำงานมีความสุข ประชาชนมีสุขภาพดีขึ้น
 
ท่านคิดอย่างไร ถ้าจะพลิกงานประจำให้เป็นงานวิจัย ท่ามกลางงานที่กองอยู่หน้าท่านทุกเมื่อเชื่อวัน
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้