ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู

สวรส. หนุนกลไกประเมินเพื่อการพัฒนาองค์กร พร้อมยกระดับประสิทธิภาพระบบวิจัย สร้างการเปลี่ยนแปลง

          เครือข่ายหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยของประเทศ (Program Management Unit: PMU) นำโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เปิดเวทีเสวนาหัวข้อ “การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานเชิงกระบวนการ เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการทุนในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)” เพื่อสร้างความร่วมมือและการมีส่วนร่วมในการนำผลการประเมินเชิงกระบวนการ และข้อเสนอแนะไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานของแต่ละ PMU ตลอดจนร่วมออกแบบแนวทางการใช้การประเมินเพื่อการพัฒนาระบบการวิจัย เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับประเทศ โดยมี นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ดร.นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม รศ.ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รองผู้อำนวยการ สกสว. และ รศ.ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์ ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องร่วมการเสวนา เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2566 ณ ห้องประชุมจามจุรี บอลรูมเอ โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส

          นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กล่าวว่า ทุกวันนี้โลกเปลี่ยนเร็วมาก จากที่เมื่อก่อนเคยพูดกันเรื่อง VUCA WORLD ว่าโลกมีความผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อน คลุมเครือ แต่ตอนนี้เปลี่ยนเป็นโลกแห่ง BANI WORLD ที่มีความเปราะบาง มีความสับสนกังวลจากข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ คาดเดาบางเรื่องยาก เพราะไม่รู้เหตุและผลที่ชัดเจน รวมทั้งหลายเรื่องมีความซับซ้อน ยากที่จะทำความเข้าใจ และเทคโนโลยีก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งงานวิจัยก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน สำหรับการใช้ Developmental Evaluation (DE) เพื่อการพัฒนา มีความเห็นว่า หากองค์กรไหนจะนำไปใช้ ต้องมีความเชื่อก่อนว่า ถ้าเราไม่มีการวัดหรือการประเมินผล ก็ยากที่การพัฒนาจะเกิดขึ้น เนื่องจากการวัดหรือประเมินผลทำให้เรารู้ว่า เราอยู่ตรงไหน ต้องพัฒนาอะไรเพิ่มเติม และ DE เหมาะที่จะประเมินกับเรื่องที่มีความซับซ้อน ยังไม่มีทางแก้ปัญหาที่ชัดเจน และเป็นเรื่องที่ต้องมีการพัฒนาในระยะยาว โดยหัวใจสำคัญคือ ผู้ประเมินและผู้ถูกประเมินต้องมีความรู้สึกว่าเป็นทีมเดียวกัน และพร้อมพัฒนาเพื่อก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน 

          “ก่อนที่แต่ละองค์กรจะทำเรื่อง DE ควรมีการประเมินความพร้อมก่อน ทั้งในด้านวัฒนธรรมและยุทธศาสตร์ขององค์กร เช่น การสำรวจความเข้าใจของบุคลากรต่อยุทธศาสตร์ เป้าหมาย ปัญหาและอุปสรรคขององค์กร เพื่อให้เข้าใจตรงกัน พูดเรื่องเดียวกัน และมองเห็นสิ่งที่ควรปรับปรุงภายในองค์กร เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมกับบริบทขององค์กร ซึ่งในส่วนของ สวรส. มีเป้าหมายในการพัฒนาเรื่อง 1) การบริหารจัดการภายในองค์กร เช่น การปรับโครงสร้างที่เหมาะสม การสร้างความเข้มแข็งของระบบ การนำดิจิทัลมาช่วยสนับสนุนในการทำงาน การสื่อสารภายในองค์กร 2) การพัฒนาบุคลากรให้มีการทำงานเป็นทีม ปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรให้รักในงานที่ทำ มีความคิดสร้างสรรค์อยู่เสมอ สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในการทำงาน และบุคลากรมีสุขภาพที่ดีในการทำงาน 3) มีการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ชัดเจน โดยมีการทำ Research Mapping และสร้างอัตลักษณ์องค์กรที่โดดเด่น ตลอดจนการพัฒนางานวิจัย ทั้งที่เป็นงานวิจัยเชิงระบบ และงานวิจัยเชิงคลินิกที่เน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงเชิงระบบเป็นสำคัญ การมี Health System Intelligent Unit (HSIU) เพื่อตอบสนองปัญหาเร่งด่วนของประเทศในเรื่องต่างๆ การบูรณาการเชื่อมโยงกับเครือข่ายสุขภาพ ให้รู้ข้อมูลไปด้วยกัน เสริมพลัง เกื้อหนุน และปิดช่องว่าง โดยมีการบูรณาการและเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ ทั้งข้อมูล แผน ทรัพยากร ฯลฯ นอกจากนี้ข้อจำกัดและความท้าทายในการใช้ DE คือการต้องกล้าก้าวออกจากพื้นที่ปลอดภัย เพื่อมุ่งสู่การเปลี่ยนแปลงองค์กรที่ดีขึ้น ภายใต้การมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง รวมทั้งพร้อมที่จะยอมรับและเรียนรู้ร่วมกันภายในองค์กร” นพ.ศุภกิจ กล่าว

          ช่วงท้ายของการเสวนา มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสะท้อนมุมมองในการใช้ DE เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนางานในระบบ ววน. โดยผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นย้ำสิ่งสำคัญไปในทิศทางเดียวกัน อาทิ การทำ DE ควรเริ่มต้นจากการปรับจูน mindset ของคนในองค์กรที่มีต่อเรื่องการประเมินผลการดำเนินงานว่าเป็นการประเมินเพื่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น, ต้องมีความเป็นทีมเดียวกันทั้งผู้ประเมินและผู้ถูกประเมิน, การประเมินควรต้องตอบโจทย์ของประทศ ทำให้เกิดการสร้างความร่วมมือในมิติใหม่ๆ และไม่ติดอยู่กับเงื่อนไขหรือกับดักต่างๆ จนไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้, ควรมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคสังคม ซึ่งจะทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน, DE สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคน และพัฒนา mindset ของคนในองค์กร ฯลฯ ซึ่งเสียงสะท้อน/ข้อเสนอแนะจากการทำ DE จะเป็นตัวกระตุ้นในการพัฒนาและการเรียนรู้ร่วมกัน

รูปภาพเพิ่มเติม
TAG :
PMU DE

แสดงความคิดเห็น

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้