ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู

ครั้งสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงกระทรวงสาธารณสุข

เมื่อปี 2485 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 3) กำเนิดกระทรวงสาธารณสุข (กสธ.) ขึ้น เมื่อนับถึงปัจจุบัน กสธ. มีอายุได้ 71 ปี

          เมื่อปี 2485 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 3) กำเนิดกระทรวงสาธารณสุข (กสธ.) ขึ้น เมื่อนับถึงปัจจุบัน กสธ. มีอายุได้ 71 ปี ซึ่งที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่าการปฏิรูป กสธ. หลายครั้ง เช่น ปี 2517 มีการแยกบทบาทกรมวิชาการกับหน่วยปฏิบัติการคือ สำนักงานปลัดกระทรวงฯ ปี 2535 กำเนิดสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สถาบันพัฒนาบุคลากรสาธารณสุข และสถาบันสุขภาพจิต ปี 2545 มีหน่วยงานเทียบเท่ากรมอยู่ในสังกัด 9 กรมและหน่วยงานในกำกับอีกจำนวนหนึ่

          ปัจจุบันจะเป็นอีกครั้งสำคัญของการเปลี่ยนแปลง กสธ. สืบเนื่องจากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ทุกกระทรวงมีการปฏิรูปเพื่อให้ใช้ ทรัพยากรในระบบร่วมกันอย่างคุ้มค่าและลดค่าใช้จ่ายของประเทศ โดย กสธ. กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งหากมองโครงสร้างของ กสธ. จะพบว่า เป็นกระทรวงที่มีความซับซ้อนในโครงสร้างการบริหารและมีหน่วยบริการในสังกัด จำนวนมาก เพื่อให้บริการสุขภาพแก่ประชาชน รวมทั้งมีบุคลากรเกือบสามแสนคนทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ดังนั้นแนวทางในการเปลี่ยนแปลง กสธ. ครั้งนี้ จำเป็นต้องคำนึงถึงบทบาทหน้าที่และกลไกที่มีอยู่ในปัจจุบัน และคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตเกี่ยวกับภาระค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพ เพื่อเสนอบทบาทที่ควรทำ บทบาทที่ไม่ควรทำ และบทบาทที่จำเป็นต้องทำแต่ยังไม่ได้ทำ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงบทบาทและโครงสร้างจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคลากร สังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกระดับเพื่อให้ระบบสุขภาพดำเนินไปได้เพื่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุดกับประชาชน

จากงานวิชาการและความเห็นร่วมของสังคม กำหนดบทบาทที่สำคัญสามประเด็นที่กระทรวงสาธารณสุขควรจะเป็น ได้แก่

1) การกำหนดนโยบายด้านสุขภาพ โดยกำหนดยุทธศาสตร์ นโยบาย เป้าหมาย ทิศทาง และการจัดลำดับความสำคัญของบริการประเภทต่างๆ
2) การบริหารจัดการระบบสุขภาพ เริ่มจากการออกแบบระบบ หนุนให้เกิดความสอดคล้องระหว่างยุทธศาสตร์และโครงสร้างต่าง ๆ ในระบบสุขภาพ
3) การกำกับดูแล หนุนให้เกิดความเป็นธรรมในการควบคุมและสร้างแรงจูงใจ เช่น ควบคุมหน่วยบริการให้เป็นไปตามกฎกติกาและสร้างแรงจูงใจให้แพทย์คงอยู่ในระบบบริการสุขภาพของรัฐ หรือเปลี่ยน mindset ให้คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก

การจะแสดงบทบาทที่กล่าวมาข้างต้น ผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุขจำเป็นต้องมีภาวะผู้นำที่เข้มแข็ง (Leadership/Stewardship) กล้าคิด ตัดสินใจ และโน้มน้าวให้บุคลากรทั้งระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ เปลี่ยนแปลงความคิดโดยคำนึงถึงสุขภาพของประชาชนเป็นที่ตั้ง ประเด็นสำคัญ 3 ประเด็นที่อาจเป็นทิศทางในการปรับบทบาทของกระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย

1) ปรับกลไกบริหารจัดการระดับนโยบาย
2) ปรับกลไกบริหารจัดการระดับเขตพื้นที่เครือข่ายบริการสุขภาพ
3) การปรับตัวของสถานพยาบาลแต่ละระดับ

ซึ่งหลายแห่งได้ดำเนินการตามผังบริการ (Service Plan) ไปบ้างแล้ว อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จำเป็นต้องมีการสื่อสารเรื่องการเตรียม ความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งส่วนกลาง (สำนักงานปลัด กรมวิชาการ) และส่วนภูมิภาค (หน่วยบริหารในระดับเขต หน่วยบริหารและหน่วยบริการในระดับจังหวัด อำเภอ) ในด้านความคิด ความเข้าใจและวิสัยทัศน์ร่วมกัน ด้านการปรับปรุงและการออกกฎระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้อง ด้านการเตรียมพัฒนาระบบและกลไกรองรับ ด้านการเตรียมบุคลากรและทรัพยากรต่างๆ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อการก้าวข้ามสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในครั้งนี้ไปพร้อมกัน

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้