ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู

นโยบายด้านสุขภาพในการเลือกตั้งปี ๕๔ เพิ่มความชัดเจนนโยบายการเมือง ลดนโยบายประจำ

นับตั้งแต่การเลือกตั้งทั่วไปในปี ๒๕๔๑ ที่พรรคไทยรักไทยได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลาย โดยใช้นโยบายเป็นเครื่องมือหลักในการหาเสียง ทำให้การเลือกตั้งในครั้งถัดๆ มา พรรคการเมืองส่วนใหญ่ต่างให้ความ สำคัญกับการพัฒนานโยบายที่โดนใจประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง เพื่อให้ได้รับเลือกเข้ามาเป็นเสียงข้างมากในสภาฯ และมีสิทธิ์ในการบริหารประเทศ

นโยบายด้านสุขภาพในการเลือกตั้งปี ๕๔: เพิ่มความชัดเจนนโยบายการเมือง ลดนโยบายประจำ


          นับตั้งแต่การเลือกตั้งทั่วไปในปี ๒๕๔๑ ที่พรรคไทยรักไทยได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลาย โดยใช้นโยบายเป็นเครื่องมือหลักในการหาเสียง ทำให้การเลือกตั้งในครั้งถัดๆ มา พรรคการเมืองส่วนใหญ่ต่างให้ความสำคัญกับการพัฒนานโยบายที่โดนใจประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง เพื่อให้ได้รับเลือกเข้ามาเป็นเสียงข้างมากในสภาฯ และมีสิทธิ์ในการบริหารประเทศ


          เช่นเดียวกับการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ พรรคการเมืองสำคัญๆ ต่างมีนโยบายที่ใช้ในการหาเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง หากพิจารณาเฉพาะนโยบายด้านสุขภาพ มีพรรคการเมืองที่ได้เสนอประเด็นนโยบาย สรุปได้ตามตารางที่ ๑ (ข้อมูลนี้รวบรวมเบื้องต้นเฉพาะจากพรรคใหญ่ที่มีการเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ การวิเคราะห์อย่างละเอียดติดตามได้ในวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข)

ตารางที่ ๑ จำนวนประเด็นนโยบายที่แต่ละพรรคการเมืองใช้ในการหาเสียง
พรรคการเมือง ประเด็นนโยบาย
พรรคประชาธิปัตย์ ๓๐
พรรคเพื่อไทย ๑๖
พรรคภูมิใจไทย
พรรคเพื่อแผ่นดิน
พรรคชาติไทยพัฒนา
พรรครักษ์สันติ

เมื่อจัดกลุ่มประเด็นนโยบายทั้งหมดพบว่า นโยบายเกี่ยวกับระบบประกันสุขภาพ/หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และการพัฒนาระบบบริการสุขภาพรวมกันมากกว่าร้อยละ ๕๐ ของประเด็นนโยบายทั้งหมด รองลงมาได้แก่ ประเด็นนโยบายเกี่ยวข้องอาสาสมัครสาธารณสุข/งานสาธารณสุขมูลฐาน และการขยายบริการ/การเข้าถึงบริการกลุ่มเฉพาะ รายละเอียดแสดงตามแผนภูมิที่ ๑

แผนภูมิที่ ๑ ประเด็นนโยบายพรรคการเมืองด้านสุขภาพแยกตามกลุ่ม
หมายเหตุ ตัวเลขในวงกลมแสดงจำนวนพรรคที่มีข้อเสนอนโยบาย/จำนวนพรรคทั้งหมด


เฉพาะนโยบายเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ มีประเด็นที่พรรคการเมืองให้ความสำคัญมาก แสดงดังตารางที่ ๒ และ ๓

 

ตารางที่ ๒ พรรคการเมืองและประเด็นร่วมนโยบายด้านหลักประกันสุขภาพ
ประเด็นนโยบาย พรรคการเมืองที่เสนอ
ขยายหลักประกันสุขภาพให้ทั่วถึงทุกกลุ่มและขยายสิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาล เพื่อไทย, ภูมิใจไทย, ชาติไทยพัฒนา และรักษ์สันติ
ความเสมอภาคของ ๓ กองทุนประกันสุขภาพ ประชาธิปัตย์, เพื่อไทย, ภูมิใจไทย
นโยบายการร่วมจ่าย เพื่อไทย, รักษ์สันติ

 

ตารางที่ ๓ พรรคการเมืองและประเด็นร่วมนโยบายด้านการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
ประเด็นนโยบาย พรรคการเมืองที่เสนอ
การให้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน เพื่อไทย, ภูมิใจไทย, เพื่อแผ่นดิน, ชาติไทยพัฒนา
การแก้ไขการขาดแคลนแพทย์โดยการผลิตและพัฒนาให้มีคุณภาพ เพียงพอ และกระจายอย่างเหมาะสม เพื่อไทย, ภูมิใจไทย, เพื่อแผ่นดิน
การส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและคุ้มค่าอย่างแพร่หลาย ประชาธิปัตย์, เพื่อไทย, เพื่อแผ่นดิน
พัฒนาระบบบริการแพทย์ฉุกเฉิน ประชาธิปัตย์, เพื่อแผ่นดิน
ยกระดับสถานีอนามัยเป็น รพ.สต. ประชาธิปัตย์, ชาติไทยพัฒนา

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขได้ประชุมหารือนักวิชาการที่เกี่ยวข้องในวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๔ แล้วมีความเห็นเบื้องต้นต่อนโยบายที่พรรคการเมืองต่างๆ นำเสนอดังนี้
๑. นโยบายส่วนใหญ่ยังมีลักษณะต่อยอดจากนโยบายที่ได้ดำเนินการแล้ว แต่เพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพและความครอบคลุมมากขึ้น ประเด็นนโยบายทางการเมืองใหม่ๆ มีการนำเสนอบ้าง อาทิ เช่น

๑) การยุบรวมกองทุนประกันสุขภาพ (พรรคประชาธิปัตย์เสนอให้คงระบบเดิมไว้ ขณะที่มีพรรคการเมืองอื่น เสนอให้ยุบรวมกองทุน)

๒) การให้ครอบครัวผู้ประกันตนในประกันสังคมมีสิทธิเลือกระบบหลักประกันสุขภาพ (เสนอโดยพรรคประชาธิปัตย์)

๓) การจัดให้มีระบบการร่วมจ่ายบริการ (cost sharing) เพื่อลดการใช้บริการเกินความจำเป็น (เสนอโดยพรรคเพื่อไทยและพรรครักษ์สันติ)

๔) การจัดให้มีแพทย์ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (เสนอโดยพรรคภูมิใจไทย)

๕) การสนับสนุนการปฏิรูปประสิทธิภาพโรงพยาบาลรัฐโดยการออกนอกระบบ (เสนอโดยพรรคประชาธิปัตย์)


๒. ประเด็นนโยบายด้านหลักประกันสุขภาพ และการพัฒนาระบบบริการสุขภาพรวมกันมีมากกว่าร้อยละ ๕๐ ขณะที่ประเด็นนโยบายด้านการสร้างเสริมสุขภาพมีเพียงร้อยละ ๗ สะท้อนให้เห็นข้อจำกัดการพัฒนาข้อเสนอเชิงรูปธรรมของนโยบายสร้างเสริมสุขภาพของพรรคการเมืองต่างๆ รวมทั้งอาจหมายรวมถึงการให้น้ำหนักความสำคัญของนโยบายสร้างเสริมสุขภาพของพรรคการเมืองต่างๆ ด้วย


๓. ประเด็นนโยบายสำคัญที่มีข้อถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในช่วงที่ผ่านมา แต่พรรคการเมืองไม่ได้แสดงความชัดเจนในข้อเสนอนโยบายประกอบด้วย

๑) การกระจายอำนาจด้านสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบการถ่ายโอนสถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

๒) ร่าง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการใช้บริการสาธารณสุข

๓) การปฏิรูประบบคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

๔) การปฏิรูปบทบาทและโครงสร้างกระทรวงสาธารณสุข

๔. ความเคลื่อนไหวของสังคมและสื่อมวลชน มีส่วนผลักดันให้พรรคการเมืองต่างๆ ต้องแสดงจุดยืนต่อประเด็นไม่ได้มีการเสนอเป็นนโยบายขณะเริ่มต้นรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง (เช่น กรณีร่าง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการใช้บริการสาธารณสุข ซึ่งถูกหยิบยกขึ้นมาสอบถามในการจัดเวทีของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยในวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๔) แต่การผนวกประเด็นต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นใหม่เหล่านี้เข้าเป็นนโยบายของพรรคการเมืองยังขาดความชัดเจน อาจต้องติดตามความคืบหน้าพัฒนาการในประเด็นนี้ต่อไป

ประเด็นที่ควรมีการติดตามต่อไป คือ ความเชื่อมโยงของนโยบายต่างๆ เหล่านี้กับนโยบายของรัฐบาลเมื่อพรรคการเมืองนั้นๆ ได้รับโอกาสเข้ามาบริหารประเทศ

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้