4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

จุดประเด็น - ปฏิรูปกระทรวงสาธารณสุข (อีกแล้ว)

พอบอกว่า สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กำลังช่วยกระทรวงสาธารณสุขพัฒนาข้อเสนอ เพื่อการปฏิรูป “บทบาทและโครงสร้างกระทรวงสาธารณสุข” ก็ได้ยินเสียงหลายคนถอนหายใจพร้อมๆ กับเปรยด้วยความเหนื่อยหน่ายว่า “เอาอีกแล้วเหรอ...”

          พอบอกว่า สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กำลังช่วยกระทรวงสาธารณสุขพัฒนาข้อเสนอ เพื่อการปฏิรูป “บทบาทและโครงสร้างกระทรวงสาธารณสุข” ก็ได้ยินเสียงหลายคนถอนหายใจพร้อมๆ กับเปรยด้วยความเหนื่อยหน่ายว่า “เอาอีกแล้วเหรอ...

          ผมเข้าใจว่า ความรู้สึกเบื่อหน่ายนั้น จริงๆ แล้วอาจแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มแรกคือ เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในกระทรวงสาธารณสุขที่รู้สึกว่า กระทรวงมีการเปลี่ยนแปลงไม่มีที่สิ้นสุด ปฏิรูปกระทรวงสาธารณสุขครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๕ ยังไม่ครบ ๑๐ ปีดี ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงอีกแล้วหรือ อีกกลุ่มคือ กลุ่มที่อยากเห็นการเปลี่ยนครั้งใหญ่ แต่ก็ไม่เห็นดำเนินการได้สำเร็จสักที ปฏิรูปทีไร กระทรวงมีแต่ใหญ่ขึ้นทุกที มีจำนวนกรมและสำนักเพิ่มขึ้น มีตำแหน่งผู้บริหารเพิ่มมากขึ้น ไหนบอกว่าจะทำให้หน่วยงานส่วนกลางเล็กลง ให้พื้นที่ตัดสินใจเองมากขึ้น นี่จะเกิดขึ้นซ้ำรอยอีกแล้วหรือ

          ผมได้มีโอกาสเห็นร่างข้อเสนอเบื้องต้นที่แต่ละกรมพัฒนาขึ้นมา ก่อนรวบรวมบูรณาการที่ระดับกระทรวงและเสนอให้คณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ (กพร.) พิจารณาต่อไป ก็เข้าใจได้ดีถึงความวิตกกังวลของคนในกลุ่มที่สอง เพราะข้อเสนอส่วนใหญ่เป็นไปในลักษณะการ “ขยายโครงสร้าง” มากกว่าการปรับบทบาทและวิธีการทำงาน แทบจะไม่มีการ “ลดหรือยุบ” โครงสร้างใดเลย เหตุผลสำคัญในการขอขยายโครงสร้างคือ ปัญหาและปริมาณงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหานั้นเพิ่มมากขึ้น เดิมเป็น “งานฝาก” จึงทำงานได้ไม่ดี ต้องแยกออกมาตั้งเป็นหน่วยงานใหม่

          การวิเคราะห์สถานการณ์ของปัญหา เพื่อนำมาพัฒนาข้อเสนอการปรับโครงสร้างของกระทรวงนั้น เป็นแนวทางที่ถูกต้องและต้องวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งเพียงพอ โดยเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงในระดับสากลด้วย แต่ข้อมูลสถานการณ์ของปัญหาอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ต้องวิเคราะห์บริบทภายในประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น การมีกลไกใหม่ๆ เกิดขึ้นในระบบสุขภาพที่มักเรียกกันว่า “องค์กร ส.” การที่ภาคีภาคส่วนต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องและมีบทบาทในระบบสุขภาพมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการจัดการปัญหา “สุขภาพ” แนวใหม่ที่ต้องการการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เนื่องจากปัญหาสุขภาพเกี่ยวเนื่องและกำหนดโดย “ปัจจัยทางสังคม (social determinants)” มากขึ้น

          ล่าสุดทราบว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ปรับแนวคิด/แนวทางในการพัฒนาข้อเสนอขึ้นใหม่ โดยอิงตัวอย่างข้อเสนอที่กรมควบคุมโรคพัฒนาขึ้นคือ การใช้ระบบเป็นตัวตั้ง ระบบควบคุมป้องกันโรคของประเทศนั้นควรจะประกอบด้วยองค์ประกอบใดบ้าง แต่ละองค์ประกอบมีบทบาทหน้าที่อย่างไร เชื่อมโยงกันอย่างไร โดยที่สามารถเชื่อมโยงถึงระดับสากลด้วย หลังจากนั้นจึงมาคิดว่า กระทรวงสาธารณสุขอยู่ตรงไหนของระบบ กลไกอื่นและคนอื่นๆ อยู่ตรงไหนของระบบ การเชื่อมโยงระหว่างแต่ละส่วน ก็ไม่ได้อิงแนวคิดการใช้อำนาจสั่งการอย่างเดียว (เพราะกลไกบางส่วนไม่ได้เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของกระทรวงสาธารณสุข) ตรงนี้นับเป็นมิติใหม่ของการพัฒนาข้อเสนอ โดยมีการแบ่งระบบของประเทศออกเป็น ๕ ระบบคือ

  1. ระบบบริการสุขภาพ
  2. ระบบการสร้างเสริมสุขภาพ
  3. ระบบการควบคุมป้องกันโรค
  4. ระบบการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
  5. ระบบสนับสนุนการบริหารนโยบายสุขภาพ

          ทีมผู้บริหารและนักวิชาการของแต่ละกรม ได้รับมอบหมายให้พัฒนาข้อเสนอแต่ละระบบย่อย โดย สวรส. ได้มอบหมายให้นักวิชาการพัฒนาข้อเสนอในลักษณะคู่ขนานกัน หลังจากนั้นจึงจะจัดประชุมปฏิบัติการเพื่อพิจารณาข้อเสนอทั้งหมดอีกครั้ง ก่อนสรุปเสนอ กพร. ต่อไป แม้จะทราบดีกว่า การปฏิรูปโครงสร้างองค์กรขนาดใหญ่เช่น กระทรวงสาธารณสุข จะเป็นเรื่องยากและใช้เวลาค่อนข้างมาก แต่การเริ่มต้นครั้งนี้ มีแนวโน้มที่ดีที่ทำให้ผู้คนจำนวนมากเห็นความหวังการเปลี่ยนแปลงที่ดี ภายใต้การนำของผู้บริหารกระทรวงยุคปัจจุบัน

นี่อาจเป็นข้อมูลที่ทำให้หลายคนเลิกหรือเบื่อเหนื่อยกับการปฏิรูปกระทรวงสาธารณสุขน้อยลง..... มีความคืบหน้าอะไร จะแจ้งให้ทราบครับ

นพ.พงษ์พิสุทธิ์

๒๔ เมษายน ๒๕๕๔

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้