ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู

ระบบวิจัยสุขภาพไทยเทียบกับบางประเทศในภูมิภาค

ผ่านไปอย่างรวดเร็วจริงๆ ครับ สำหรับช่วงเวลาในปี 2553 ปีที่มีเหตุการณ์ให้ระทึกใจหลายเรื่อง ทั้งเรื่องที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ด้วยกันเองและภัยพิบัติจากธรรมชาติ (ภัยธรรมชาติหลายกรณีสืบค้นไปลึกๆ แล้ว ก็มีต้นตอมาจากมนุษย์อีกนั่นแหละ)

         ผ่านไปอย่างรวดเร็วจริงๆ ครับ สำหรับช่วงเวลาในปี 2553 ปีที่มีเหตุการณ์ให้ระทึกใจหลายเรื่อง ทั้งเรื่องที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ด้วยกันเองและภัยพิบัติจากธรรมชาติ (ภัยธรรมชาติหลายกรณีสืบค้นไปลึกๆ แล้ว ก็มีต้นตอมาจากมนุษย์อีกนั่นแหละ) หลังวิกฤตต่างๆ ผ่านไป สิ่งที่เราจะทำได้ดีที่สุดคือ การค้นหาสาเหตุและป้องกันไม่ให้เหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์นั้นเกิดขึ้นอีก เราแก้ไขอดีตไม่ได้ แต่เราจัดการกับปัจจุบันเพื่อหลีกเลี่ยงฝันร้ายในอนาคตได้ ความสามารถในการสรุปบทเรียนและเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีตนั้น เป็นความสามารถในการค้นหาความรู้สำคัญยิ่งที่จะทำให้เราอยู่รอดได้

          ในระดับนานาชาติมีการเคลื่อนไหวหลายกรณีที่น่าสนใจ ในเดือนพฤศจิกายน 2553 มีการประชุมนานาชาติเรื่องการวิจัยระบบสุขภาพครั้งแรก (First Global Symposium on Health Systems Research) ที่เมือง Montreux ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ มีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1,200 คน นักวิจัยไทยที่เข้าร่วมประชุมและนำเสนอทั้งในเวทีรวม (plenary session) เวทีย่อย (parallel session) และเสนอด้วยโปสเตอร์ มีมากกว่า 20 คน โดยความสำเร็จของการวิจัยระบบสุขภาพในประเทศไทยได้รับการกล่าวอ้างถึงบ่อย ครั้ง สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขได้รับผิดชอบจัดเวทีย่อย 2 เรื่อง โดยเรื่องหนึ่งคือ การสร้างความเข้มแข็งการวิจัยระบบสุขภาพ: ประสบการณ์ในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีวิทยากรเข้าร่วมจากประเทศไทย อินโดนีเซีย กัมพูชา และเวียตนาม เนื่องจากข้อมูลพื้นฐานการวิจัยระบบสุขภาพของแต่ละประเทศ (รวมถึงประเทศไทย) มีน้อยมาก ผมจึงขอร้องให้วิทยากรแต่ละคนช่วยประเมินการวิจัยระบบสุขภาพของประเทศตนเอง ในประเด็นต่างๆ พบประเด็นน่าสนใจดังนี้

1.ประเทศส่วนใหญ่เห็นว่าปัญหาสำคัญ ที่สุดของการวิจัยระบบสุขภาพคือ การเชื่อมโยงงานวิจัยไปสู่การตัดสินใจเชิงนโยบาย รองลงมาคือ ปัญหาการขาดแคลนงบประมาณวิจัยและจำนวนนักวิจัย

2.ประเด็นวิจัยที่มีความสำคัญเพื่อให้บรรลุเป้าหมายหลักประกันสุขภาพคือ การวิจัยด้านการเงินการคลังสุขภาพ (health-care financing) รองลงมาคือ การวิจัยเพื่อประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (health technology assessment) และการวิจัยระบบบริการสุขภาพ (health service research)


3.การพัฒนานักวิจัยที่สำคัญคือ การพัฒนาด้วยการปฏิบัติงานจริงในประเทศ (on the job training) รองลงมาคือ การส่งไปศึกษาต่อต่างประเทศ และภายในประเทศ

4.แหล่งทุนสำหรับการวิจัยส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศ ยกเว้นประเทศไทย นักวิจัยส่วนใหญ่เป็นนักวิจัยภายในประเทศ แต่ทุนสำหรับการศึกษาต่อส่วนใหญ่มาจากแหล่งทุนต่างประเทศ ยกเว้นประเทศไทย

          โดยสรุป อาจกล่าวได้ว่า ประเทศไทยเราสามารถพึ่งตนเองด้านการวิจัยระบบสุขภาพได้ค่อนข้าง มากเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านของเรา หากย้อนไปดูอดีตจะพบว่า ทั้งหมดเกิดจากการลงทุนพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หากไม่ใช่เพราะผู้บริหารสาธารณสุขเราในอดีตมองเห็นการณ์ไกล เราคงไม่สามารถพัฒนาระบบของเรามาได้ขนาดนี้ปัญหาคือ เราจะหยุดการพัฒนาไว้เพียงเท่านี้หรือ ต้นทุนที่ผู้บริหารยุคก่อนๆ ได้พัฒนาไว้ คงไม่เพียงพอสำหรับการพัฒนาในอนาคตอย่างแน่นอน จึงเป็นหน้าที่ของคนรุ่นปัจจุบันที่จะต้องเตรียมให้พร้อมสำหรับความท้าทาย ใหม่ๆ ที่กำลังจะมาถึง

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้