4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

ระบบวิจัยสุขภาพไทยใน 2 ทศวรรษหน้า

วันที่ 30 สิงหาคม 2553 ที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ไปบรรยายในหัวข้อ “วิสัย ทัศน์การวิจัยประเทศไทยใน 20 ปี” ร่วมกับผู้บริหารหน่วยงานวิจัยอื่นๆ ผมใช้เวลาคิดนานพอสมควรว่า ผมควรจะนำเสนออะไร ผมเห็นหรือมีข้อมูลอะไรชัดเจนพอที่จะเสนอตามประเด็นดังกล่าวหรือไม่ สิ่งที่เสนอจะเป็น “ความฝัน” ที่มีฐานของ “ความเป็นไปได้” และ “ความเหมาะสม” กับประเทศชาติบ้านเมืองของเราอย่างไร

          วันที่ 30 สิงหาคม 2553 ที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ไปบรรยายในหัวข้อ “วิสัย ทัศน์การวิจัยประเทศไทยใน 20 ปี” ร่วมกับผู้บริหารหน่วยงานวิจัยอื่นๆ ผมใช้เวลาคิดนานพอสมควรว่า ผมควรจะนำเสนออะไร ผมเห็นหรือมีข้อมูลอะไรชัดเจนพอที่จะเสนอตามประเด็นดังกล่าวหรือไม่ สิ่งที่เสนอจะเป็น “ความฝัน” ที่มีฐานของ “ความเป็นไปได้” และ “ความเหมาะสม” กับประเทศชาติบ้านเมืองของเราอย่างไร

           ในที่สุดผมก็ตัดสินใจใช้ “ความคิดและความรู้” และ “ประสบการณ์” ที่ได้จากครูบาอาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลาย ลองนำเสนอมุมมองอนาคตระบบวิจัยไทยโดยอิงฐานมุมมองจากมิติทางด้านสุขภาพ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้พิจารณาโดยมีประเด็นสำคัญๆ ดังนี้


1.งานวิจัยเป็น “เครื่องมือ” สำหรับการพัฒนาประเทศโดยรวม ดังนั้นต้องชัดเจนว่าเราต้องการพัฒนาประเทศไปสู่เป้าหมายอะไร เป็นเป้าหมาย “ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ” หรือ “ความมั่นคง” ของสังคม และ “ความสุข” ของประชาชนโดยรวม เรามักจะคิดว่าความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจจะนำไปสู่ความมั่นคง/ความสุขของ ประชาชนและสังคมโดยรวม ประสบการณ์ที่ผ่านมา เราน่าจะสรุปได้แล้วว่าแนวคิดดังกล่าวถูกต้องมากน้อยเพียงไร

2.คนมักจะเปรียบเทียบว่า ระบบวิจัยทำหน้าที่เป็น “สมอง” ให้กับประเทศ แต่หากสมองไม่เชื่อมโยงกับส่วนอื่นของ “ร่างกาย” ก็ไร้ประโยชน์ ระบบวิจัยก็เช่นกัน หากขาดความเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่จะนำความรู้ไปใช้ ก็จะเกิดงานวิจัยแบบ “ขึ้นหิ้ง” อย่างที่เห็นกันอย่างดาษดื่น การเชื่อมโยงมิได้มีความหมายเพียงแค่ การส่งผ่านความรู้ไปสู่นโยบายและการปฏิบัติเท่านั้น แต่ระบบวิจัยต้อง “เรียนรู้และพัฒนา” จากความเชื่อมโยงดังกล่าวด้วย

3.ความแตกต่างระหว่าง “การวิจัย” และ “การจัดการความรู้” ตรงนี้ผมขออนุญาตอ้างอิงความเห็นของท่านอาจารย์ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะที่เป็นปรมาจารย์ด้านการจัดการความรู้ที่เห็นคุณค่าและพยายามส่งเสริม แนวคิดและการผลักดันประเด็นนี้มาตลอด ความแตกต่างนี้ชวนให้คิดว่า เราให้ความสำคัญกับ “การวิจัย” มากจนเกินไป โดยลืมให้ความสำคัญกับ “การจัดการความรู้” หรือไม่

4.สุขภาพไม่ใช่ “สินค้า” และการวิจัยสุขภาพควรเป็นไปเพื่อประโยชน์ “สาธารณะ” เป็นหลัก ผมเสนอประเด็นนี้ซึ่งเชื่อมโยงกับประเด็นข้อ 1 เพราะคิดว่า ปัจจุบันเรามีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจมากกว่าการพัฒนา คุณภาพชีวิตและความเท่าเทียมในสังคม ปัจจุบันเรามีการวิจัยและพัฒนา “ยาและผลิตภัณฑ์ทางด้านสุขภาพ” จำนวนมากที่ดำเนินการโดยภาคเอกชน (ส่วนใหญ่จากต่างประเทศ) ซึ่งผลที่ได้แทนที่จะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม กลับมีข้อจำกัดด้วยเรื่องราคาที่คนส่วนใหญ่ไม่สามารถจะเข้าถึงได้ เราจะมีแนวทางส่งเสริมการวิจัยในภาคเอกชนอย่างไรโดยไม่ให้เกิดปัญหาการหา กำไรเกินควร แนวคิดที่ว่าควรให้เอกชนลงทุนในการวิจัยมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะการลงทุนภาครัฐลดลง จะใช้ได้กับการวิจัยสุขภาพหรือไม่

5.ระบบวิจัยควรเน้นที่การสร้าง “คน” และสร้าง “วัฒนธรรมการสร้างและใช้ความรู้” นี่เป็นข้อเสนอประเด็นแรกของผมสำหรับระบบวิจัยในอนาคต เรื่องการสร้างคนนั้น ผมไม่อยากให้จำกัดแค่การสร้าง “นักวิจัย” เพราะการมีนักวิจัยเก่งๆ ที่ได้รับรางวัลระดับโลกจำนวนมาก แต่ประชาชนโดยทั่วไปยังงมงายกับความเชื่อทางไสยศาสตร์ ประเทศชาติคงพัฒนาไปสู่เป้าหมายที่พึงประสงค์ได้ยาก สิ่งที่น่าจะดำเนินการคือ การปฏิรูประบบการศึกษาให้เน้น “การเรียนรู้”มากกว่า ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ประสบการณ์จากการส่งเสริม “งานวิจัยจากงานประจำ (Routine to Research: R2R) ที่ สวรส. ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน อาจเป็นทางเลือกหนึ่งในการพัฒนาคนและวัฒนธรรมการเรียนรู้ขององค์กรต่างๆ ได้

6.รัฐควรมีบทบาทหลักในการลงทุนการวิ จัย ข้อเสนอประเด็นนี้โยงกับประเด็นข้อ 4 เพราะการวิจัยเพื่อประโยชน์สาธารณะ คงยากที่จะคาดหวังจากการลงทุนโดยภาคเอกชนได้ อย่างไรก็ตาม แนวคิดเรื่อง social entrepreneur อาจเป็นทางออกหนึ่งที่จะให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุนการวิจัย เพื่อประโยชน์สาธารณะมากขึ้น โดยรัฐมีการสนับสนุนอย่างเหมาะสม

7.การพัฒนา “ผู้จัดการงานวิจัย” และ “นักจัดการความรู้” เพราะบุคคลเหล่านี้เป็นกำลังสำคัญในการเชื่อมโยงบูรณาการระหว่างความรู้และ การปฏิบัติ คือ นำความรู้ไปสู่การปฏิบัติ และสรุปบทเรียนจากการปฏิบัติไปสู่การพัฒนาความรู้ต่อยอดยิ่งๆ ขึ้นไป

           ข้อเสนอดังกล่าวข้างต้น จะเหมาะสมหรือไม่อย่างไร คงเป็นประเด็นเริ่มต้นสำหรับทุกท่านที่จะได้ช่วยกันแลกเปลี่ยนเสนอแนะต่อไป สวรส. มีพันธกิจในการพัฒนาระบบวิจัยสุขภาพ จะจัดให้มีเวทีทำให้ประเด็นทั้งหมดนี้นำไปสู่ข้อสรุปที่เป็นรูปธรรมสำหรับ การพัฒนาในอนาคตต่อไป

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้