ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู

การจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนธรรมนูญฯ

ผมได้เกริ่นให้ทราบถึงทิศทางการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ซึ่งจริงๆ แล้ว การวิจัยเรื่องระบบบริการสุขภาพ (health service research) เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการวิจัยระบบสุขภาพ (health systems research) เท่านั้น การพัฒนาข้อเสนอทิศทางการวิจัยระบบสุขภาพจึงเป็นเรื่องใหญ่และท้าทายอย่าง ยิ่ง

          จุดประเด็นครั้งที่แล้ว ผมได้เกริ่นให้ทราบถึงทิศทางการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ซึ่งจริงๆ แล้ว การวิจัยเรื่องระบบบริการสุขภาพ (health service research) เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการวิจัยระบบสุขภาพ (health systems research) เท่านั้น การพัฒนาข้อเสนอทิศทางการวิจัยระบบสุขภาพจึงเป็นเรื่องใหญ่และท้าทายอย่าง ยิ่ง

          หากเราไม่ได้มองวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพียงเพื่อให้ได้ความรู้ (knowledge) แต่มีเป้าหมายมากกว่านั้นคือ ความรู้นั้นต้องสามารถใช้เพื่อพัฒนา (development) ให้ประชาชนมีชีวิตที่ดีขึ้นด้วย การกำหนดประเด็นวิจัยจากความรู้ที่ขาดหายไป (knowledge gap) โดยไม่เชื่อมโยงกับประเด็นหรือเป้าหมายการพัฒนา จึงอาจเป็นการลงทุนที่ไม่เกิดประโยชน์สูงสุด 

         ประเด็นหรือเป้าหมายการพัฒนาระบบสุขภาพนั้น เราอาจใช้แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติเป็นกรอบอ้างอิง แต่แผนฯ ดังกล่าวมีข้อจำกัดที่ขาดการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ อย่างเพียงพอ จนกระทั่งล่าสุด เรามี พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550(download) และมีการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552(download) ขึ้นตามมาตรา 47 ของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ด้วยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างเต็มที่ จึงเริ่มมีการใช้ธรรมนูญฯ เป็นกรอบกำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์การพัฒนา และแน่นอนกำหนดประเด็นงานวิจัยระบบสุขภาพด้วย 

          มาตรา 47 ของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาตินั้น กำหนดให้ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาตินั้นต้องมีสาระสำคัญอย่างน้อยใน 12 ประเด็น (ดู พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ) ซึ่งธรรมนูญฯ นั้นได้จัดทำขึ้นอย่างสอดคล้องกัน แต่แบ่งแต่ละประเด็นออกเป็นอีก 3 ส่วนย่อยๆ คือ ประเด็นหลักการ เป้าหมาย และมาตรการ และมีข้อย่อยรวมทั้งสิ้น 111 ข้อ (ดูธรรมนูญฯ) ความยากของเรื่องนี้คือ จะใช้ประเด็นเหล่านี้ (12 ประเด็นหลักและ 111 ข้อย่อยในธรรมนูญฯ) มากำหนดทิศทางการวิจัยระบบสุขภาพได้อย่างไร 

          คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 1 คณะโดยมี ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช เป็นประธาน และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขเป็นเลขานุการ เพื่อมาทำหน้าที่นี้ คือ การเป็นกลไกพัฒนายุทธศาสตร์การวิจัยระบบสุขภาพเพื่อสนับสนุนธรรมนูญฯ ความคืบหน้าการพัฒนายุทธศาสตร์ดังกล่าวมีหลายประเด็นที่น่าสนใจ
 
1.ทางเลือกระหว่างการพัฒนาประเด็นงานวิจัยที่สำคัญ (priority research agenda) กับการพัฒนากลไกบริหารจัดการงานวิจัย (research management mechanism) ระยะแรกทีมงานให้น้ำหนักกับการกำหนดประเด็นงานวิจัยที่สำคัญอย่างมาก และพบอุปสรรคมากพอสมควร จนต่อมา Prof. Andrew Green จาก University of Leeds ซึ่งมาเป็นที่ปรึกษาระยะสั้นให้ สวรส. แนะนำว่า จริงๆ แล้วการให้ความสำคัญกับประเด็นงานวิจัยที่สำคัญมากเกินไปอาจไม่ใช่ทางออก เพราะประเด็นงานวิจัยที่สำคัญมีการเปลี่ยนแปลงตลอด เราอาจต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนากลไกการจัดการงานวิจัย (ซึ่งรวมถึงกลไกการจัดลำดับความสำคัญประเด็นงานวิจัย) ไปพร้อมๆ กันด้วย 

2.การจัดกลุ่มประเด็นวิจัยที่สำคัญ ทีมงานเริ่มต้นจากการจัดกลุ่มประเด็นต่างๆ ใหม่ เพื่อให้ง่ายต่อการพัฒนาและทำให้การเชื่อมโยงระหว่างประเด็นง่ายขึ้น เรื่องการจัดกลุ่มประเด็นวิจัยระบบสุขภาพนั้น จะเห็นความหลากหลายค่อนข้างมาก องค์การอนามัยโลกแบ่งองค์ประกอบย่อยระบบสุขภาพเป็น 6 กลุ่ม แต่ก็โน้มเอียงที่จะมองระบบสุขภาพเหลือเพียงระบบบริการสุขภาพเท่านั้น ทีมงานได้ทดลองจัดกลุ่มใหม่โดยแบ่งเป็น 6 กลุ่มหลัก ซึ่งแต่ละกลุ่มประกอบด้วย 3 มิติย่อย แสดงดังแผนภูมิ

3.การกำหนดประเด็น วิจัยที่สำคัญ เมื่อได้จัดกลุ่มประเด็นวิจัยคร่าวๆ แล้ว สิ่งที่ทีมงานดำเนินการต่อคือ การทบทวนความรู้ที่มีตามกลุ่มประเด็นต่างๆ และกำหนดประเด็นวิจัยที่สำคัญ โดยใช้ทั้งการทบทวนวรรณกรรมและการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนนี้ทีมงานได้มาถึงข้อสรุปที่สำคัญเพิ่มเติม คือ

- ประเด็นวิจัยที่สำคัญในระดับจุลภาค (micro-level) ความพยายามกำหนดประเด็นวิจัยในระดับนี้อาจเกินความจำเป็น เนื่องจากปัญหาแต่ละพื้นที่มีความหลากหลายแตกต่างกันอย่างมาก สิ่งที่ควรทำคือ การพัฒนากลไกการจัดการความรู้ในระดับพื้นที่ขึ้น ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) เป็นเครื่องมือในการพัฒนา ด้วยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในพื้นที่ 

- ประเด็นวิจัยที่สำคัญในระดับมหภาค (macro-level) การกำหนดประเด็นวิจัยในระดับนี้มีความสำคัญ เพราะเป็นประเด็นที่มีผลกระทบต่อระบบในวงกว้าง

         นอกจากการวิจัยใน 2 ระดับนี้ ยังมีการวิจัยในระดับกลาง (meso-level) ที่นักวิชาการจำนวนมากเริ่มให้ความสำคัญ เพราะเป็นงานวิจัยที่ถูกละเลยมานาน และน่าจะส่งผลต่อการพัฒนาได้อย่างมากเช่นกัน แต่ก็มีปัญหาว่า ระดับ meso นั้นหมายถึงระดับใดและจะใช้การวิจัยลักษณะใดเพื่อพัฒนา 

         เขียนมาค่อนข้างยาวกว่าปรกติจนถึงตรงนี้ คงต้องหยุดพักแล้ว เพราะเนื้อหาส่วนต่อไปต้องรอทีมงานที่กำลังพัฒนากันอย่างขะมักเขม้น อย่าลืมคอยติดตามว่าเรื่องนี้จะจบอย่างไร

นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข
11 ตุลาคม 2552

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้