ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู

เกิดอะไรขึ้นที่โรงพยาบาลชุมชน

การประชุมประจำปีของสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (พรพ.) ซึ่งเป็นเครือสถาบันของ สวรส. หรือ HA National Forum เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นับเป็นครั้งที่ 10 แล้วและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยมีผู้ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุมเกือบ 8,000 คน

         การประชุมประจำปีของสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (พรพ.) ซึ่งเป็นเครือสถาบันของ สวรส. หรือ HA National Forum เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นับเป็นครั้งที่ 10 แล้วและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยมีผู้ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุมเกือบ 8,000 คน

         เมื่อ 10 ปีก่อน การรับรองและพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล (hospital accreditation) ยังเป็นเรื่องใหม่ที่โรงพยาบาลยังไม่คุ้นเคย แต่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดย พรพ. จนปัจจุบันกลายเป็นมาตรฐานคุณภาพของระบบประกันสุขภาพหลายระบบ ล่าสุดสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เองกำหนดให้มีการจ่ายเงินเหมาจ่ายรายหัวเพิ่มหากโรงพยาบาลได้รับการรับรอง HA แล้ว ซึ่งทำให้หลายคนวิตกว่า การประชุม HA National Forum ในปีต่อๆ ไป อาจจะมีผู้เข้าร่วมประชุมไม่ต่ำกว่าหมื่นคนแน่นอน

         การพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลมีหลายขั้นตอน ขั้นตอนสุดท้ายคือ การเสนอให้คณะ กรรมการ พรพ. พิจารณาให้ความเห็นชอบ ในช่วงหลายสัปดาห์ก่อนการประชุม HA National Forum คณะกรรมการมีการประชุมหลายครั้งเพื่อเร่งรัดการพิจารณาดังกล่าว เพราะมีโรงพยาบาลจำนวนมากผ่านการตรวจเยี่ยมและรอการรับรอง โดยหลายโรงพยาบาลเป็นโรงพยาบาลชุมชน การพิจารณาของคณะกรรมการจะใช้ข้อมูลจากการตรวจเยี่ยมเป็นหลัก ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีรายละเอียดที่น่าสนใจมาก ตั้งแต่ความมุ่งมั่นของผู้บริหารและทีมงานในการพัฒนาคุณภาพ นวัตกรรมการดูแลสุขภาพที่ทีมงานพัฒนาขึ้น และข้อเสนอแนะจากการตรวจเยี่ยม 

         ผมเข้าร่วมประชุมและมีข้อสังเกตว่า หลายโรงพยาบาลชุมชนที่ผ่านการรับรองคุณภาพมักจะได้รับข้อเสนอแนะให้ปรับปรุง เรื่องการดูแลการคลอดและภาวะแทรกซ้อนหลังการคลอดบุตร ด้วยพบปัญหาดังกล่าวเพิ่มขึ้น (น่าเสียดายที่ทีมตรวจเยี่ยมไม่สามารถนำเสนอข้อมูลประกอบการพิจารณาได้) ผมให้ข้อมูลแก่กรรมการเพิ่มเติมโดยอ้างอิงการศึกษาล่าสุดของ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ที่พบว่า การผ่าตัดในโรงพยาบาลชุมชนลดลง (ใช้การผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบเป็นกรณีศึกษา) โดยลดลงกว่า 20% ในระหว่างปี 2548-2551 (ตามแผนภูมิที่ 1) สาเหตุที่ทำให้การผ่าตัดลดลงมีหลายประเด็นตั้งแต่ ความกลัวถูกฟ้องร้องหากการผ่าตัดมีปัญหา อยู่ใกล้โรงพยาบาลใหญ่และการเดินทางสะดวก ปัญหาความไม่พร้อม ฯลฯ ประเด็นที่ผมวิตกกังวลคือ การคลอดในโรงพยาบาลชุมชนจะเกิดซ้ำรอยปัญหาเรื่องการผ่าตัดหรือไม่ คือ จะมีการทำคลอดในโรงพยาบาลชุมชนลดลง และหันไปคลอดที่โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไปแทน ซึ่งเรื่องแบบนี้เคยเกิดขึ้นแล้วที่สถานีอนามัย โดยการคลอดที่สถานีอนามัยลดลงจนแทบจะไม่มีการคลอดที่สถานีอนามัยแล้ว และคนหันไปนิยมคลอดที่โรงพยาบาลชุมชนแทน และหากเกิดแนวโน้มดังกล่าว ประชาชนจะได้รับผลกระทบอะไร เพราะการข้ามขั้นตอนไปรับบริการที่โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป ย่อมทำให้เกิดความแออัดและการเข้าถึงบริการเป็นไปด้วยความยากลำบากเพิ่ม ขึ้น 

แผนภูมิที่ 1 ร้อยละของโรงพยาบาลชุมชนที่ยังผ่าตัดไส้ติ่งอยู่ (n = 157 แห่ง)

ที่มา: พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ (2551) 

         ผมรับปากท่านประธานกรรมการ พรพ. (ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา) ว่า สวรส. จะการศึกษาเพิ่มเติมข้อเท็จจริงแนวโน้มดังกล่าวและดูว่าจะมีข้อเสนอต่อ สถานการณ์ดังกล่าวอย่างไรได้บ้าง บางทีอาจถึงเวลาทบทวนสถานการณ์โรงพยาบาลชุมชนครั้งใหญ่แล้วละครับ

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้