ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู

โรงพยาบาลตำบล vs. GP Practice ในประเทศอังกฤษ

ครั้งที่แล้ว ผมจบประเด็นเรื่อง “โรงพยาบาลประจำตำบล” โดยทิ้งท้ายว่า จะนำเสนอแนวทางการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิของคณะทำงานวิชาการที่มี นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เป็นประธาน ในครั้งถัดไป อย่างไรก็ตาม หลายสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการเคลื่อนไหวกันอย่างคึกคักในแวดวงนักวิชาการ เพื่อตอบโจทย์ว่า เราจะพัฒนา “โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพประจำตำบล”
          ครั้งที่แล้ว ผมจบประเด็นเรื่อง “โรงพยาบาลประจำตำบล” โดยทิ้งท้ายว่า จะนำเสนอแนวทางการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิของคณะทำงานวิชาการที่มี นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เป็นประธาน ในครั้งถัดไป อย่างไรก็ตาม หลายสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการเคลื่อนไหวกันอย่างคึกคักในแวดวงนักวิชาการ เพื่อตอบโจทย์ว่า เราจะพัฒนา “โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพประจำตำบล” (ขออนุญาตเรียกย่อๆ ว่า รสต.) ตามนโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบันได้อย่างไร และแน่นอน รสต. นี้ ต้องไม่ใช่โรงพยาบาลอย่างที่พวกเราทุกคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ปัจจุบันข้อเสนอเบื้องต้นเริ่มมีความชัดเจนขึ้นบ้างแล้ว (ข้อเสนอทั้งหมดรวมทั้งข้อเสนอของคณะทำงาน นพ.สมศักดิ์ ได้นำเสนอในการประชุม “มหกรรมสุขภาพชุมชน 2552” ระหว่างวันที่ 18-20 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ผ่านมา ณ อิมแพค เมืองทองธานี ท่านที่สนใจสามารถ download จาก website สวรส. ได้ในเร็วๆ นี้) และกำลังพัฒนาขึ้นเป็นแผนทศวรรษการพัฒนา รสต. เนื่องจากเห็นว่าเป็นงานที่ต้องลงทุนพัฒนากันอย่างต่อเนื่อง

รูปที่1.ภาพด้านหน้าของ GP Practice ที่ไปเยี่ยมชม เป็นอาคารขนาด 2 ชั้นใหญ่พอสมควร

          ครั้งนี้เลยขอข้ามไปพูดถึงระบบบริการปฐมภูมิที่ประเทศอังกฤษแทน ทั้งนี้เพราะในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ผมได้มีโอกาสร่วมศึกษาดูงานที่ประเทศอังกฤษ การศึกษาดูงานครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากโครงการสนับสนุนการปฏิรูประบบ บริการสาธารณสุข (Health Care Reform Project) ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป ผมต้องขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้อีกครั้งหนึ่งด้วย

          การศึกษาดูงานครั้งนี้ ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมหน่วยบริการปฐมภูมิแห่งหนึ่งในกรุงลอนดอนของ Dr.Grant Blair ที่นั่นเขาเรียกว่า “Surgery” หรือ “GP Practice” ครับ ลักษณะคล้ายๆ polyclinic บ้านเรา คือ มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวหลายคนช่วยกันให้บริการ มีทั้งแบบ full-time และ part-time (ที่นี่มีแพทย์รวม 6 คนแต่ทั่วประเทศ GP Practice แต่ละแห่งมีจำนวนแพทย์เฉลี่ย 3.4 คน) โดยเปิดให้บริการตั้งแต่ 8.00-18.30 น. ไม่ได้เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมงเหมือนที่เราอยากให้สถานีอนามัยทำ (ซึ่งผมไม่ค่อยเห็นด้วยมานานแล้ว เพราะเป็นภาระและเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าด้วย) และปิดวันเสาร์อาทิตย์ด้วย แพทย์ที่นั่นทำงานด้านการรักษาพยาบาลเป็นหลัก การเยี่ยมบ้านและการให้บริการอื่นเป็นหน้าที่ของพยาบาลและบุคลากรสาธารณสุข อื่น หลายคนที่ไปดูต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าหน่วยบริการปฐมภูมิบ้านเราทำได้ดี กว่ามาก เพราะเราไม่มีการแยกว่างานนั้นงานนี้เป็นหน้าที่ของใคร ทุกคนต้องช่วยกันและทำให้มีการเรียนรู้และเข้าใจชุมชนได้มากกว่าระบบของ อังกฤษ

(รูปที่2.พนักงานต้อนรับของคลินิกขณะปฏิบัติงาน น่าแปลกที่ที่นี่ไม่มีแผนกการเงินเพื่อเก็บเงินคนไข้ )
           หน่วยบริการปฐมภูมิที่นั่นเขาได้รับจัดสรรเงินจาก Primary Care Trust (PCT) ซึ่งทำหน้าที่คล้ายๆ ผู้ซื้อบริการ (healthcare purchaser) ในบ้านเรา แต่ที่นั่นเขาเรียกว่า healthcare commissioner โดยเขาบอกว่า commissioner มีความหมายกว้างและลึกซึ้งกว่า purchaser ที่บ้านเรามีปัญหากับคำว่าผู้ซื้อบริการเหมือนกัน (โดยเฉพาะกลุ่มแพทย์) เพราะดูเหมือนลดคุณค่าและความรับผิดชอบของแพทย์เหลือเพียงผู้ขายบริการ เราอาจมีความจำเป็นต้องทบทวนการใช้คำๆ นี้ใหม่ในบ้านเรา PCT จัดสรรงบให้หน่วยบริการปฐมภูมิแบบเหมาจ่ายรายหัวตามจำนวนประชากรผู้มีสิทธิ ปรับด้วยโครงสร้างอายุและปัจจัยอื่นๆ สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดบริการที่ไม่รวมค่ายา ผู้ป่วยจะไปรับยาที่ร้านขายยาโดยร่วมจ่าย (copay) ตามจำนวนขนานยา ด้วยระบบการจ่ายเงินแบบนี้ โอกาสที่หน่วยบริการปฐมภูมิจะขาดทุนเนื่องจากต้นทุนค่าใช้จ่ายค่ายาจึงแทบไม่มี แต่ก็มีหน่วยบริการปฐมภูมิบางแห่งที่ขาดทุนเพราะขาดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ

          กรณีจำเป็นต้องส่งต่อ ผู้ป่วยสามารถเลือกว่าจะ
ไป โรงพยาบาลแห่งใดก็ได้ โดยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวจะให้ข้อมูลช่วยประกอบการตัดสินใจ หรือจะใช้ข้อมูลของทางการช่วยในการตัดสินใจก็ได้ ข้อมูลจะมีละเอียดขนาดที่ว่า โรงพยาบาลแต่ละแห่งมีความชำนาญในด้านใด มีผลการให้บริการอย่างไร ประเด็นเรื่องระบบส่งต่อนี้บ้านเรายังต้องปรับปรุงอีกมากครับ เพราะมีปัญหาบ่อยครั้งว่าโรงพยาบาลไม่ยอมรับส่งต่อด้วยเหตุผลต่างๆ นานา

(รูปที่3. ห้อง treatment มีเตียงและอุปกรณ์ต่างๆ ครบครัน)


          โดยสรุปการศึกษาดูงานครั้งนี้ ทำให้ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงระบบบริการปฐมภูมิที่ประเทศอังกฤษมากพอสมควร เป็นการเปลี่ยนเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ใครที่คิดว่าประเทศอังกฤษเลิกเน้นการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิแล้ว คงต้องทำความเข้าใจใหม่ เพราะเขายังมุ่งเน้นพัฒนาระบบดังกล่าวเพื่อให้ระบบสามารถเป็นที่พึ่งประชาชน ได้มากที่สุด
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้