ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู

Humanized healthcare

ผมไม่ทราบว่า คนเริ่มใช้คำว่า “humanized healthcare” กันเมื่อไร รู้แต่ว่าตอนนี้เริ่มติดปากผู้คงในวงการสาธารณสุขไปเรียบร้อยแล้ว (คล้ายๆ กับคำว่า “holistic” ที่เริ่มใช้มานานพอสมควรและแพร่หลายกันจนถึงปัจจุบัน)

           ผมไม่ทราบว่า คนเริ่มใช้คำว่า “humanized healthcare” กันเมื่อไร รู้แต่ว่าตอนนี้เริ่มติดปากผู้คงในวงการสาธารณสุขไปเรียบร้อยแล้ว (คล้ายๆ กับคำว่า “holistic” ที่เริ่มใช้มานานพอสมควรและแพร่หลายกันจนถึงปัจจุบัน)

          ทุกครั้งที่มีวาทกรรมใหม่ๆ ออกมา ผมมักจะมีปัญหาในการทำความเข้าใจความหมายและความจำเป็นของการมีวาทกรรมนั้นๆ อยู่พอสมควร ผมเข้าใจว่า “humanized healthcare” จับใจผู้คนเนื่องจากระบบบริการสุขภาพปัจจุบัน เริ่มมีลักษณะและการทำงานเป็น “กลไก” หรือ “เครื่องจักร” มากขึ้น (การมองปัญหาสุขภาพแบบแยกส่วนเป็นอาการแสดงอย่างหนึ่ง) การทำงานหรือให้บริการ ทุกอย่างต้องเป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอน ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด คล้ายๆ ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม และเราเรียกสิ่งนี้ว่าเป็น “คุณภาพบริการ” และเพื่อให้มีความมั่นใจว่า การให้บริการจะมีคุณภาพ หรือเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนด จะมีการจัดทำเอกสารแสดงขั้นตอนที่ชัดเจน มีการอบรมบุคลากร และตรวจทานขั้นตอนต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ และเรียกสิ่งนี้ว่า “ระบบคุณภาพ” ปัจจุบันบุคลากรของสถานพยาบาลจำนวนมากได้ใช้เวลาจำนวนไม่น้อยกับการพัฒนา “ระบบคุณภาพ” นี้

           แต่ผู้คนรับรู้หรือรู้สึกได้ว่า มีบางสิ่งขาดหายไปในระบบบริการสุขภาพปัจจุบัน นั่นคือความรู้สึกผูกพันห่วงใยอย่างจริงใจที่เกิดขึ้นระหว่างบุคลากรกับ ผู้ป่วยที่มารับบริการ และความรู้สึกดังกล่าวได้เป็นแรงผลักดันสำคัญเพื่อให้เกิดการดูแลผู้ป่วยที่ ทรงประสิทธิภาพยิ่ง หลายครั้งที่เราได้เห็นแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไม่ได้หลับนอน คอยเฝ้าดู และให้การรักษาผู้ป่วยที่อยู่ในอาการหนัก เพียงเพื่อให้ผู้ป่วยนั้นมีชีวิตรอดต่อไป ทุกคนอาจไม่ได้กำลังทำตามมาตรฐานที่ได้ท่องไว้จนจำขึ้นใจ แต่ทำไปตามความรู้ที่มี และทำทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ เพื่อ “ช่วยชีวิต” ผู้ป่วยนั้น การที่ผู้ป่วยรอดชีวิตและกลับบ้านได้โดยปรกติสุข เป็น “รางวัล” ที่ทรงคุณค่ายิ่งสำหรับบุคลากรทุกคน หากใช่ “ค่าตอบแทน” หรือ “การได้รับรางวัลคุณภาพ” ที่หน่วยงานใดจะมอบให้ แต่คุณค่าและความรู้สึกต่างๆ เหล่านี้ กำลังทยอยหายไปจากระบบบริการสุขภาพ


ภาพจาก http://www.vcharkarn.com

           การประชุมแพทยศาสตร์ศึกษาครั้งที่ 8 ซึ่งจะจัดขึ้นในปีหน้า (2552) ได้กำหนดให้เรื่อง “humanized healthcare” เป็นประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่ง มีการถกเถียงกันมากระหว่างอาจารย์และนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่ในประเด็นไม่เห็นด้วยว่าไม่สำคัญ แต่เป็นประเด็นว่าจะสร้างให้เกิดขึ้นได้อย่างไร อาจารย์ท่านหนึ่งเสนอว่า ต้องให้บุคลากรรู้จักการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เพราะความสัมพันธ์นี่แหละเป็นพื้นฐานของการสร้างความผูกพัน และนำไปสู่ humanized healthcare ที่เราอยากเห็น หากนึกตัวอย่างไม่ออกให้ลองนึกถึงญาติพี่น้องของเรา ความสัมพันธ์และความผูกพันระหว่างเรากับญาติพี่น้อง จะทำให้การดูแลที่เรามีต่อพวกเขาเหล่านั้น ไม่ได้เป็นไปแบบ “เครื่องจักรบริการ (service machine)” อย่างแน่นอน


           สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (พรพ.) ซึ่งเป็นเครือสถาบันภายใต้ สวรส. กำลังเตรียมจัดประชุมใหญ่ปีหน้า (ราวเดือนมีนาคม 2552) และในการประชุมจะมีการมอบรางวัล humanized healthcare ให้แก่บุคลากรและหน่วยงานด้วย โดย พรพ. ได้ประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรที่สนใจเขียนเรื่องดีๆ มาเพื่อแลกเปลี่ยนและประกวด ปรากฏว่ามีผู้สนใจส่งเรื่องราวต่างๆ มากว่า 600 เรื่อง ผมได้มีโอกาสอ่านเรื่องราวต่างๆ จำนวนหนึ่ง (เนื่องจากเป็นกรรมการประกวดด้วย) จึงอยากจะถ่ายทอดให้ทุกท่านทราบว่า บุคลากรที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ หรือ humanized healthcare นั้น จริงๆ แล้วยังไม่ได้สูญหายไปจากระบบเสียเลยทีเดียว เรามีเรื่องราวและสิ่งดีๆ จำนวนมากเกิดขึ้น เพียงแต่ขาดการให้ความสำคัญ

จะให้ความสำคัญกับประเด็นนี้อย่างไร จึงเป็นเรื่องที่ต้องขบคิดกันอย่างมาก เพราะเราคงจะใช้เงินเพื่อสร้าง humanized healthcare เหมือนอย่างที่เราเคยใช้เงินทำสิ่งต่างๆ มากมายในระบบบริการสุขภาพไม่ได้อย่างแน่นอน

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้