ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู

ความจริงกับความรู้

เมื่อเร็วๆ นี้ผมได้รับเชิญให้ไปร่วมบรรยายในหัวข้อ “งานวิจัยไม่ใช่เรื่องยาก” โดยผู้จัดการประชุมอยากใช้เวทีนั้นช่วยกระตุ้นให้คนทำงานวิจัยมากยิ่งขึ้น ผมใช้เวลานั่งเตรียมนานพอสมควรเพราะรู้ว่าต้องพยายามทำให้คนฟังทั้ง “ไม่กลัว” และ “อยาก” ทำงานวิจัย

           เมื่อเร็วๆ นี้ผมได้รับเชิญให้ไปร่วมบรรยายในหัวข้อ “งานวิจัยไม่ใช่เรื่องยาก” โดยผู้จัดการประชุมอยากใช้เวทีนั้นช่วยกระตุ้นให้คนทำงานวิจัยมากยิ่งขึ้น ผมใช้เวลานั่งเตรียมนานพอสมควรเพราะรู้ว่าต้องพยายามทำให้คนฟังทั้ง “ไม่กลัว” และ “อยาก” ทำงานวิจัย

          “ความกลัว” งานวิจัยเกิดจากความรู้สึกว่า มันเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความรู้ เทคโนโลยี และทักษะขั้นสูง ซึ่งมีแต่พวกที่จบการศึกษาระดับสูงๆ ในสถาบันการศึกษาเท่านั้นที่ทำได้ คนที่เรียนจบปริญญาโทมาและเคยทำวิทยานิพนธ์ซึ่งมีลักษณะเหมือนงานวิจัยแบบ หนึ่ง ยังรู้สึกว่างานวิจัยนี้ยากเลย จึงไม่ต้องพูดถึงว่าคนทั่วๆ ไปจะมีความรู้สึกอย่างไร ส่วน “ความอยาก” ที่จะทำงานวิจัยนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเห็นว่า งานวิจัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ทำให้ชีวิตของผู้คน (รวมถึงตัวนักวิจัยเอง) ดีขึ้น

           ผมเริ่มต้นนำเสนอโดยกล่าวว่า “การวิจัยคือการค้นหาความจริง” รวมถึง “การตอบข้อสงสัย” ต่างๆ (ซึ่งก็คือ การพิสูจน์สมมติฐานต่างๆ ที่มีนั่นเอง) ระเบียบวิธีวิจัยเป็นเครื่องมือให้เราสามารถค้นหาความจริงได้โดยมี “อคติ” น้อยที่สุด ส่วนใหญ่เรารับรู้ “สิ่งที่เกิดขึ้น” ผ่านประสาทสัมผัสของเรา แต่การรับรู้แบบนี้มีโอกาสได้รับข้อมูลที่มี “อคติ” ที่เราเองอาจไม่ตระหนักรู้ เราสนใจหรือมีประสบการณ์ในเรื่องใดมาก เราก็มีโอกาสมองเห็นสิ่งนั้นมากกว่าสิ่งอื่นๆ ไม่ได้หมายความว่า สิ่งอื่นนั้นไม่ได้ดำรงอยู่หรือไม่สำคัญ เพียงแต่ “อคติ” ทำให้เรารับรู้อย่างนั้น การจัดการกับอคติจึงเป็นพื้นฐานสำคัญหนึ่งของระเบียบวิธีวิจัย หลังจากนั้นผมก็ยกตัวอย่างรูปธรรมที่แสดงให้เห็นว่า งานวิจัยมีประโยชน์อย่างไรทั้งกับการพัฒนาตนเอง องค์กรที่เราทำงานอยู่ และประเทศชาติและคนในสังคมโดยรวม เพื่อกระตุ้น “ความอยาก” ทำงานวิจัย

           ช่วงท้ายของการประชุม ผู้ดำเนินการอภิปรายได้เปิดโอกาสให้มีการซักถามจากผู้เข้าร่วมประชุม มีคำถามที่น่าสนใจจำนวนมากจากผู้เข้าร่วมประชุม แต่มีคำถามหนึ่งซึ่งระบุให้ผมเป็นผู้ตอบ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับคำและประเด็นที่ผมใช้ในการนำเสนอ

           ท่านผู้เข้าร่วมประชุมท่านนั้นถามว่า “ความจริง” กับ “ความรู้” ต่างกันอย่างไร ผมคิดว่าท่านผู้เข้าร่วมประชุมท่านนั้นคงเห็นว่า การวิจัยน่าจะเป็นการสร้างความรู้ แต่ผมกลับไปนำเสนอว่าเป็นการค้นหาความจริง จึงอยากทราบทัศนะของผมต่อประเด็นนี้ว่าเป็นอย่างไร

ผมควรจะตอบคำถามนี้อย่างไรดีครับ....หรือ
ผมเข้าใจผิดจริงๆ ที่คิดว่า การวิจัยเป็นการค้นหาความจริง

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้