ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู

Mega Project (ต่อ)

ครั้งที่แล้ว ผมได้นำเสนอรายละเอียดข้อเสนอ Mega Project ด้านสุขภาพวงเงินกว่า 8 หมื่นล้านบาทที่รัฐบาลกำลังพิจารณา (จริงๆ แล้วในเอกสารข้อเสนอเขียนไว้แค่ 6 หมื่นล้านบาท ไม่แน่ใจว่ามีการเพิ่มตรงไหนและอย่างไร) โดยทิ้งท้ายไว้ว่าหลายฝ่ายมีความเห็นแตกต่างกัน ครั้งนี้ขอเริ่มต้นด้วยความเห็นต่างๆ ดังนี้ครับ

ครั้งที่แล้ว ผมได้นำเสนอรายละเอียดข้อเสนอ Mega Project ด้านสุขภาพวงเงินกว่า 8 หมื่นล้านบาทที่รัฐบาลกำลังพิจารณา (จริงๆ แล้วในเอกสารข้อเสนอเขียนไว้แค่ 6 หมื่นล้านบาท ไม่แน่ใจว่ามีการเพิ่มตรงไหนและอย่างไร) โดยทิ้งท้ายไว้ว่าหลายฝ่ายมีความเห็นแตกต่างกัน ครั้งนี้ขอเริ่มต้นด้วยความเห็นต่างๆ ดังนี้ครับ

1.กระบวนการจัดทำและการพิจารณาข้อเสนอ เป็นที่น่าแปลกใจว่า โครงการใหญ่ขนาดนี้มีผู้รู้เห็น รับทราบ และเข้าร่วมการพัฒนาข้อเสนอนี้อย่างจำกัดมาก ทั้งๆ ที่เป็นโครงการที่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลและต่อเนื่องหลายปี อย่างไรก็ตาม รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เริ่มเรียกประชุมหารือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องบ้างแล้ว แต่ก็เป็นการประชุมหลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศเป็นนโยบายแล้ว ทำให้มีข้อกังวลถึงความรอบคอบในการพิจารณาข้อเสนอดังกล่าว

2.ลงทุนในอาคารและเครื่องมือ vs. ลงทุนในคน ข้อเสนอโครงการนี้ให้ความสำคัญกับการลงทุนในบุคลากรด้วยซึ่งนับเป็นเรื่องดี เพราะการให้บริการสาธารณสุขเป็น labor intensive service และปัญหากำลังคนในระบบบริการกำลังเข้าสู่ภาวะวิกฤต อย่างไรก็ตาม การลงทุนแค่การผลิตและพัฒนาบุคลากรอย่างเดียวคงไม่พอ จะต้องแก้ไขปัญหาระบบบริหารจัดการอื่นๆ ด้วย (แต่อาจไม่เรียกว่าเป็นแผนการลงทุน จึงไม่ได้นำเสนอในแผนนี้ และหวังว่าคงมีการดำเนินงานอย่างจริงจัง)

3.การลงทุนระบบบริการสาธารณสุขหรือกระทรวงสาธารณสุข ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขดูแลสถานพยาบาลส่วนใหญ่ของประเทศ จึงไม่น่าแปลกที่การลงทุนส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในสถานพยาบาลของกระทรวง สาธารณสุข ในข้อเสนอมีการขยายการลงทุนถึงหน่วยงานรัฐนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุขบ้างใน ส่วนของการจัดตั้งหรือยกฐานะศูนย์แพทย์ชนชน (โดยเสนอยกฐานะศูนย์บริการสาธารณสุขของเทศบาลบางแห่งตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด) ขณะที่ในส่วนของ excellent center ซึ่งโรงเรียนแพทย์ต่างๆ มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยค่อนข้างมาก แต่กลับไม่มีการกล่าวถึง มีแต่กล่าวว่าจะพัฒนาและจัดตั้งขึ้นจำนวน 155 แห่ง ตรงนี้อาจสร้างความวิตกกังวลว่า หากการวางแผนและการประสานงานระหว่างหน่วยงานไม่ดี อาจทำให้เกิดการลงทุนที่ไม่มีประสิทธิภาพได้

4.การลงทุนที่ระดับปฐมภูมิเทียบกับระดับอื่น ภายใต้ข้อเสนอนี้จะมีการลงทุนที่ระดับปฐมภูมิ (จัดตั้งศูนย์แพทย์ชุมชน) วงเงิน 3,227 ล้าน หรือคิดเป็นเพียงร้อยละ 7 ของการลงทุนด้านโครงสร้างระบบบริการทั้งหมด (47,375 ล้านบาท) ขณะที่งบพัฒนาโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไปจำนวน 94 แห่งใช้งบประมาณสูงถึงร้อยละ 48 ทำให้เกิดความวิตกกังวลว่าจะเป็นการลงทุนที่เหมาะสมหรือไม่ และประชาชนจะได้รับประโยชน์จริงหรือ  ข้อมูลจากการวิจัยที่ผ่านมาพบว่า สถานพยาบาลปฐมภูมิรวมถึงโรงพยาบาลชุมชน เป็นสถานพยาบาลที่ประชาชน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนยากจน) เข้าถึงได้ง่ายและใช้ประโยชน์สูงสุด แต่งบลงทุนให้กับศูนย์แพทย์ชุมชนและโรงพยาบาลชุมชนตามข้อเสนอนี้จะมีเพียง ร้อยละ 25 เท่านั้น

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงความเห็นเบื้องต้นบางส่วน หากมีเพิ่มเติมจะได้นำเสนอต่อไป

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้