ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู

อนาคตงานวิจัยระบบสุขภาพในพื้นที่ (ต่อ)

ครั้งที่แล้วผม จบประเด็นเรื่องงานวิจัยระบบสุขภาพในพื้นที่ของ สวรส. ลงด้วยว่า สวรส. ได้จัดให้มีการประเมินงาน Area base อย่างเป็นระบบ ซึ่งกำลังจะนำเสนอผลการประเมินฉบับสมบูรณ์เร็วๆ นี้

        ครั้งที่แล้วผม จบประเด็นเรื่องงานวิจัยระบบสุขภาพในพื้นที่ของ สวรส. ลงด้วยว่า สวรส. ได้จัดให้มีการประเมินงาน Area base อย่างเป็นระบบ ซึ่งกำลังจะนำเสนอผลการประเมินฉบับสมบูรณ์เร็วๆ นี้

วันนี้ (31 กรกฎาคม พ.ศ.2551) ผมมีโอกาสได้รับฟังผลการประเมินเบื้องต้นจากหัวหน้าทีมประเมินคือ อาจารย์ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์ ซึ่งแม้ปัจจุบันจะเกษียณจากงานไปแล้ว แต่ก็ยังกรุณาสละเวลามาช่วยงาน สวรส. ผมขออนุญาตที่จะไม่เล่าผลการประเมินคราวนี้ เพราะยังไม่สมบูรณ์ แต่ขอหยิบบางประเด็นที่ผลการประเมินเบื้องต้นกระตุ้นให้คิดดังนี้

1. คำว่า “พื้นที่” ในงาน area base หมายถึงอะไร เป็นพื้นที่ระดับชุมชน อำเภอ จังหวัด หรือภาค ความหมายของพื้นที่นี้สัมพันธ์กับแนวคิด/ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบสุขภาพ อย่างไร การตั้ง สวรส. ภาคฯ ดูเหมือนมีนัยที่จะกำหนดความหมายของพื้นที่เป็น “ภาค” จริงๆ แล้วหลายหน่วยงานของสาธารณสุขก็มีการกำหนดกลไกระดับเขตและภาคขึ้นเช่นกัน (เช่น กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) แต่เป็นกลไกเชิงบริหาร กลไกจัดการความรู้เช่น สวรส. การกำหนดพื้นที่เป็นภาคมีจุดแข็งอย่างไร

2. การสร้างความรู้ที่จำเพาะกับปัญหาสุขภาพระดับพื้นที่ พร้อมๆ กับการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนวิชาการเป็นงานที่ขัดแย้งหรือไม่ และสอดคล้องกับโครงสร้างของ สวรส. ภาคฯ หรือไม่ ประสบการณ์จากเครือข่ายวิจัยอื่นๆ (เช่น IHPP หรือ HITAP) พบว่ามีความเป็นไปได้ แต่ต้องมีระบบสนับสนุนทางด้านวิชาการที่เข้มแข็งเพียงพอ ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ให้ทุนวิจัย ซึ่งโครงสร้าง สวรส. ภาคฯ มีข้อจำกัดอย่างมาก หากไม่ได้ระดมนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยมาสนับสนุนได้เพียงพอ

3. กลไกเครือข่าย (networking) จะสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนทางวิชาการได้ จะต้องเป็นเครือข่ายแห่งการเรียนรู้ (learning networking) ไม่ใช่เป็นเพียงเครือข่ายความร่วมมือในการทำงาน เครื่องมือหนึ่งในการเรียนรู้คือ การสรุปบทเรียนระหว่างเครือข่ายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งที่ผ่านมายังมีการดำเนินงานค่อนข้างจำกัด

4. ขณะที่ความนิยมในงาน Routine to Research (R2R) เพิ่มขึ้นอย่างมาก มีความเป็นไปได้เพียงไรที่จะเปลี่ยนยุทธศาสตร์จากงาน Area base เป็น Setting base (R2R) ข้อจำกัดของงานวิจัยที่เป็น Setting base คือ อาจไม่ครอบคลุมลงไปถึงระดับชุมชน ยกเว้นแต่จะสนับสนุนกลไกในระดับชุมชน (เช่น อบต. กองทุนชุมชน ฯลฯ) ให้ทำงาน R2R ซึ่งอาจไม่ง่ายนัก

          ยังมีประเด็นเพิ่มเติมมากกว่านี้ แต่คราวนี้ขอจบเพียงเท่านี้ก่อน คำตอบที่ชัดเจนสำหรับแต่ละประเด็น คงเป็นหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้อง/ผู้สนใจร่วมกันหาคำตอบ โดย สวรส. จะเป็นแกนกลางประสานจัดประชุมในเร็ววันนี้ครับ

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้