4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

อนาคตงานวิจัยระบบสุขภาพในพื้นที

งานวิจัยระบบสุขภาพระดับพื้นที่ (area based health system research-Area based HSR) เป็นหนึ่งในงานที่สำคัญของ สวรส. ที่ดำเนินมานานเกือบ 10 ปี โดยมี สวรส. ภาคฯ เป็นกลไกสำคัญ

          งานวิจัยระบบสุขภาพระดับพื้นที่ (area based health system research-Area based HSR) เป็นหนึ่งในงานที่สำคัญของ สวรส. ที่ดำเนินมานานเกือบ 10 ปี โดยมี สวรส. ภาคฯ เป็นกลไกสำคัญ สวรส. ภาคฯ เป็นสถาบันที่จัดตั้งขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สวรส. และมหาวิทยาลัยในพื้นที่ โดยปัจจุบันมี 3 แห่งคือ สวรส. ภาคเหนือที่ม.เชียงใหม่ สวรส. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ม.ขอนแก่น และ สวรส.ภาคใต้ที่ม.สงขลานครินทร์ แต่ละแห่งจะมีชื่อเรียกเต็มๆ แตกต่างกันเล็กน้อย แต่เรียกย่อๆ ว่า สวรส. ภาคฯ เหมือนกัน

          ที่ ผ่านมา สวรส. ภาคฯ แต่ละแห่งมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน เมื่อเริ่มมาทำงานที่ สวรส. ครั้งแรก ผมสับสนพอสมควรว่า ทิศทางการพัฒนา สวรส. ภาคฯ หรืองานวิจัยระบบสุขภาพระดับพื้นที่ควรจะไปในทิศทางใด

          ความหมายของ “งานวิจัยระบบสุขภาพระดับพื้นที่” หรือ Area based HSR คืออะไร และเพื่ออะไร
    Area based HSR คงไม่ใช่การวิจัยระบบสุขภาพอะไรก็ตามที่มีการเก็บข้อมูลในพื้นที่ เพราะหากนิยามเช่นนี้ การวิจัยส่วนใหญ่ (ยกเว้นการทบทวนวรรณกรรม) คงต้องนับเป็น Area based HSR ทั้งหมด

          ผมเข้าใจเอาเองว่า (ที่ใช้คำว่า “เข้าใจ” เพราะไม่มีเอกสารใดใน สวรส. ที่อธิบายประเด็นนี้ไว้อย่างชัดเจน) Area based HSR น่าจะหมายถึง “การวิจัยที่เน้นการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาระบบสุขภาพในพื้นที่” เป็นหลัก และเพื่อให้การพัฒนาระบบสุขภาพในพื้นที่มีความยั่งยืน จำเป็นต้องมีการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนนักวิชาการ/นักวิจัยในระดับ พื้นที่ขึ้นมาด้วยพร้อมๆ กัน คือ มีเป้าหมายเพื่อสุขภาพหรือระบบสุขภาพในพื้นที่เป็นสำคัญ

          บน พื้นฐานความเข้าใจเช่นนี้ ผมจึงรู้สึกไม่ค่อยสบายใจอย่างมากที่เห็น สวรส. ภาคฯ ทำการวิจัยหรือสนับสนุนการวิจัยที่ประเด็นคำถามการวิจัยกำหนดโดยคนใน ส่วนกลาง แม้ว่าปัญหาสุขภาพระดับชาติ (ที่เป็นพื้นฐานในการกำหนดคำถามการวิจัย) กับปัญหาระดับพื้นที่อาจเหมือนกัน ผมพบว่าสาเหตุที่ทำให้หลายพื้นที่ทำงานลักษณะเช่นนี้คือ แหล่งทุนวิจัยส่วนใหญ่อยู่ในส่วนกลางและสนใจประเด็นคำถามวิจัยระดับชาติเป็น หลัก ขณะที่แหล่งทุนวิจัยระดับพื้นที่มีน้อย ทำให้ประเด็นคำถามการวิจัยของ Area based HSR ถูกกำหนดด้วยแหล่งทุน (donor driven) ในส่วนกลาง ขณะที่ปัญหาสุขภาพของระดับพื้นที่ไม่ได้รับการดูแล

          ทางออก สำหรับปัญหานี้มีได้ 2 ทางซึ่งอาจดำเนินการไปพร้อมๆ กัน หนึ่ง หน่วยงานผู้ให้ทุนวิจัยในส่วนกลาง อาจต้องเปิดช่องทางให้มีการกำหนดประเด็นวิจัยโดยคนในพื้นที่เอง ด้วยการกำหนดงบ area base ขึ้น แล้วสร้างกลไกในระดับพื้นที่ (อย่างเช่น สวรส. ภาคฯ) ขึ้นเพื่อกำหนด research agenda ด้วยตนเอง เน้น agenda เพื่อตอบสนองการแก้ไขปัญหาในพื้นที่เป็นหลัก สอง การระดมทุนวิจัยจากหน่วยงานในระดับพื้นที่ (ซึ่งอาจไม่ใช่หน่วยงานผู้ให้ทุนวิจัยโดยตรง) เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยราชการต่างๆ โดยการทำให้ประเด็นวิจัยสอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงานนั้นๆ หรือ นักวิจัยทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ กำหนดประเด็นวิจัยร่วมกัน

          นัก วิจัยในพื้นที่บางครั้งอาจจำเป็นต้องเจรจาต่อรองกับแหล่งทุนในส่วนกลางที่ ต้องการความร่วมมือในการทำวิจัยในประเด็นของส่วนกลาง โดยปรับวัตถุประสงค์และงบประมาณของโครงการวิจัยบางส่วนให้ตอบสนองต่อปัญหา สุขภาพระดับพื้นที่

          เป็น ที่น่ายินดีว่า ปัจจุบันงาน Area based HSR มีการคลี่คลายตามแนวทางดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ พร้อมๆ กับศักยภาพของนักวิจัยในระดับพื้นที่ที่เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สวรส. เองได้จัดให้มีการทบทวนและประเมินผลงาน Area based HSR ทั้งหมดอย่างเป็นระบบ ผลการประเมินพร้อมข้อเสนอแนะจะได้เสนอในโอกาสต่อไป

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้