4th Floor, National Health Building 88/39 Tiwanon 14 Road Taradkwan, Muang District Nonthaburi 11000
Font Size
-
+
color contrast
C
C
C
Search
เมนู

นักวิจัย vs. นักขับเคลื่อนนโยบาย

ความฝันอย่างหนึ่งของนักวิจัยระบบสุขภาพ คือ การทำงานสร้างความรู้ที่ส่งสามารถผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับ นโยบาย จนบางคนเรียกว่าเป็น “การขับเคลื่อนนโยบายด้วยความรู้”

      ความฝันอย่างหนึ่งของนักวิจัยระบบสุขภาพ คือ การทำงานสร้างความรู้ที่ส่งสามารถผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับ นโยบาย จนบางคนเรียกว่าเป็น “การขับเคลื่อนนโยบายด้วยความรู้” ทั้งนี้คาดหวังว่า จะทำให้เกิดนโยบายที่ส่งผลดีต่อสุขภาวะของประชาชนมากกว่านโยบายที่พัฒนา ขึ้นด้วยกระบวนการนโยบายแบบเดิมๆ

      ความยากของ “การขับเคลื่อนนโยบายด้วยความรู้” คือ นอกจากจะต้องสร้างความรู้ที่จำเป็นสำหรับนโยบายต่างๆ แล้ว ยังต้องเชื่อมโยงการสร้างความรู้กับ “กระบวนการทางนโยบาย (policy process)” นั้นๆ ด้วย และเนื่องจากธรรมชาติของกระบวนการสร้างความรู้และกระบวนการทางนโยบายมีความ แตกต่างกัน จึงนำไปสู่ประเด็นที่พึงพิจารณาหลายประเด็นคือ

 

1.   ระยะ เวลาในการพัฒนานโยบายที่มีจำกัด ส่งผลต่อการสร้างความรู้ที่มีคุณภาพ (ความรู้จริงรู้แจ้งโดยรอบด้าน) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่ได้มีการเตรียมการล่วงหน้ามานานพอ ปัญหาของนักวิจัยคือ จะยอมรับและเสนองานวิจัยที่ทำขึ้นในระยะเวลาอันจำกัดเพื่อให้ผู้ตัดสินใจ ระดับนโยบายใช้ในการพิจารณาหรือไม่ เพราะรู้ๆ อยู่ว่าเป็นงานวิจัยที่ยังไม่สมบูรณ์ดีพอ และนักวิจัยที่ดีต้องรับผิดชอบต่อผลงานที่ตนเองสร้างขึ้นมา แต่หากรอให้งานวิจัยเสร็จสมบูรณ์ ก็อาจไม่ทันเวลาตามที่ผู้ตัดสินใจระดับนโยบายต้องการ ในที่สุดผู้บริหารก็ต้องตัดสินใจโดยใช้ความเห็นและการคาดเดา (แทนการใช้ความรู้) แบบเดิมๆ ที่เคยเป็นมา
2.    บทบาท และความสัมพันธ์ของนักวิจัยกับผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ในกระบวนการนโยบาย นักวิจัยควรอยู่ในฐานะเพียงผู้ให้ข้อมูล (ความรู้) หรือควรเข้าไปมีบทบาทผลักดันให้เกิดแรงกดดัน (ทางบวกหรือทางลบ) ในการใช้ข้อมูล/ความรู้นั้นๆ ในการกำหนดนโยบายด้วย

3.    อาจ เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับประเด็นที่ 2 คือ หากนักวิจัยเลือกบทบาทตัวเองที่จะผลักดันนโยบายไปในทิศทางใดๆ ที่ได้เลือกแล้ว (ด้วยเหตุผลที่สรุปจากหลักคิดและความรู้ที่สะสมอย่างต่อเนื่องของนักวิจัย) นักวิจัยอาจมีความแนวโน้มเอียง (โดยอาจรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม) ที่จะเลือกเสนอข้อมูลด้วยมุมมองที่เป็นประโยชน์ต่อแนวทางที่ตัวเองต้องการ ผลักดัน และนั่นเท่ากับการทำลายจุดแข็งของนักวิจัย?

      นักวิชาการบางคนจึงเลือกที่จะเป็นเพียง “นักวิจัย” ที่ไม่ขอก้าวข้ามไปสู่การเป็น “นักขับเคลื่อนนโยบาย” ด้วยต้องการรักษาความเป็นกลาง (+ความเป็นเลิศ) ทางวิชาการ และอาจด้วยความไม่ชอบเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการใช้อำนาจ แต่หากปล่อยให้มีนักขับเคลื่อนนโยบายผลักดันการเปลี่ยนแปลงโดยขาดฐานความรู้ จากนักวิชาการ โอกาสที่จะพัฒนากระบวนนโยบายให้ดีขึ้นก็เป็นไปได้ยาก
 
ทางออกสำหรับเรื่องนี้คืออะไร และบทบาทของนักวิชาการในกรณีนี้จึงควรเป็นเช่นไร......?
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้