ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 75 คน
ประสิทธิผลการฝึกจัดการความเครียดด้วยวิธีการฝึกหายใจและการฝึกสติต่อหน้าที่บริหารจัดการของสมองและคลื่นไฟฟ้าสมองในกลุ่มพยาบาลวิชาชีพที่ทำงานในเขตสุขภาพที่ 4
นักวิจัย :
ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ , พีร วงศ์อุปราช , สกาวรัตน์ พวงลัดดา , อรุโณทัย สิงห์ตาแก้ว , สว่างจิตร วสุวัต ,
ปีพิมพ์ :
2566
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
19 มีนาคม 2567

ข้อมูลจากการสำรวจแสดงให้เห็นถึงระดับความเครียดที่สูงในกลุ่มพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งถือว่ามากกว่าประชาชนทั่วไป ความเครียดส่งผลต่อหน้าที่บริหารจัดการของสมอง โดยจะกระทบต่อการทำงานและการใช้ชีวิตเป็นลำดับ งานวิจัยนี้จึงมุ่งทดสอบประสิทธิผลของการฝึกจัดการความเครียดด้วยวิธีการฝึกหายใจและการฝึกสติต่อหน้าที่บริหารจัดการของสมอง (Electroencephalography, EEG) ในกลุ่มพยาบาลวิชาชีพที่ทำงานในเขตสุขภาพที่ 4 ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นแบบการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลอง จำนวน 10 คนได้รับการฝึกสติ ส่วนกลุ่มควบคุม จำนวน 10 คน ได้รับการฝึกหายใจ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบวัดความรู้สึกเครียด กิจกรรมทดสอบหน้าที่การบริหารจัดการของสมองด้วยคอมพิวเตอร์ชนิด Berg’s Card Sorting Task และ Stroop Task และเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองแบบ 14 ช่องสัญญาณ รุ่น Emotiv epoc x สถิติทดสอบแบบวัดซ้ำใช้เปรียบเทียบคะแนนจากแบบวัดและกิจกรรมทดสอบทางคอมพิวเตอร์รวมถึงคลื่นไฟฟ้าสมองของทั้งสองกลุ่มในช่วงก่อนฝึก หลังฝึกและติดตามผล ผลการวิจัย พบว่า การฝึกสติช่วยลดความเครียดของพยาบาลและเพิ่มหน้าที่บริหารจัดการของสมองหลังฝึกได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับมาก แต่การฝึกหายใจไม่ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับความเครียดและหน้าที่บริหารจัดการของสมองแต่อย่างใด นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าสมองขณะพักทั้ง 5 ช่วงความถี่ (เดลต้า ธีต้า อัลฟ่า บีต้า และแกมม่า) ในพยาบาลทั้งกลุ่มฝึกหายใจและกลุ่มฝึกสติ พบว่า การฝึกหายใจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของคลื่นธีต้า ณ ตำแหน่งสมองส่วนหน้าฝั่งซ้าย (F3 และ FC5FC5) คลื่นบีต้า ณ ตำแหน่งสมองส่วนหน้าฝั่งซ้ายและขวา (F3 และ F8F8) เท่านั้น แต่การฝึกจิตส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าสมองในทุกช่วงคลื่น กล่าวคือ คลื่นเดลต้า ณ ตำแหน่งสมองส่วนหน้าฝั่งซ้ายและข้างฝั่งขวา (F7 และ P8P8) คลื่นธีต้า ณ ตำแหน่งสมองส่วนท้ายฝั่งซ้าย (O1O1) คลื่นอัลฟ่า ณ ตำแหน่งสมองส่วนหน้าฝั่งซ้ายและข้างฝั่งขวา (F7 และ P8P8) คลื่นบีต้า ณ ตำแหน่งสมองส่วนหน้าฝั่งซ้าย (F3 และ F7F7) และคลื่นแกมม่า ณ ตำแหน่งสมองส่วนหน้าและข้างฝั่งซ้ายและขวา (F7 และ P8P8) ข้อค้นพบทั้งจากข้อมูลเชิงพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมองยืนยันถึงประสิทธิภาพของการฝึกสติในกลุ่มพยาบาล ซึ่งควรได้รับการส่งเสริมให้ใช้ลดความเครียดในระดับองค์กรและเป็นนโยบายต่อไป


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6027

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้