ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 71 คน
แผนดำเนินงานวิจัยและขับเคลื่อนนโยบายสังคมไม่ทอดทิ้งกัน (ระยะที่ 2)
นักวิจัย :
ลือชัย ศรีเงินยวง , ชรรินชร เสถียร , อริสา สุมามาลย์ , ธิดา โสตถิโยธิน , ภค หว่านพืช , วาศินี กลิ่นสมเชื้อ ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
28 มีนาคม 2567

แผนดำเนินงานวิจัยและขับเคลื่อนนโยบายสังคมไม่ทอดทิ้งกัน มีเป้าหมายการทำงานวิจัยและขับเคลื่อนนโยบาย เพื่อสร้างระบบและกลไกที่เน้นให้เกิดสังคมที่เสมอภาคทางโอกาส โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายประชากรกลุ่มในสังคมที่เสียเปรียบ ด้อยโอกาสหรืออยู่ชายขอบนโยบายของรัฐหรือชายขอบทางสังคม ประกอบด้วย 2 โครงการ คือ โครงการครอบครัวสงบเย็นและเป็นสุข: โครงการวิจัยเพื่อขับเคลื่อนครอบครัว สุขภาวะในระดับชุมชนผ่านแนวคิดการประเมินเชิงการพัฒนา จังหวัดพิจิตร และโครงการวิจัยสถานการณ์ ผลกระทบ และทางออกของระบบยาของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชนภาคใต้ สำหรับโครงการแรกใช้กระบวนการวิจัย ตามแนวทางการประเมินเชิงพัฒนา (Developmental Evaluation) แนวคิดจิตตปัญญาและการทำงานพัฒนาเชิงพื้นที่เป็นแนวทางหลัก โดยมีพื้นที่ 3 อำเภอ ในจังหวัดพิจิตร เน้นการขับเคลื่อนสังคมด้วยการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายต่างๆ และใช้การวิจัยทางสังคมศาสตร์ ตลอดจนกิจกรรมที่เป็นการปฏิบัติการ (Action) ต่างๆ เป็นเครื่องมือ กระบวนการสำคัญของโครงการก็คือ การสร้างเวที (Dialogue Forum) เพื่อสร้างการเรียนรู้ ผ่านการแลกเปลี่ยนและเติมเต็มทัศนะ ประสบการณ์และข้อมูล ตลอดถึงการใช้การวิจัยในการเก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ปัญหาในพื้นที่เพื่อป้อนกลับเข้าสู่เวที ในขณะที่โครงการที่สอง ใช้วิธีการวิจัยประกอบไปด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 40 กรณีศึกษาและการวิจัยเชิงสำรวจ จำนวน 300 ตัวอย่างในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช (อำเภอท่าศาลาและอำเภอเมือง) และจังหวัดสงขลา (เทศบาลเมืองหาดใหญ่) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ ปัญหา การเข้าถึง และพฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านบริบทโครงสร้างครอบครัว และเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมและระบบบริการสุขภาพในระดับชุมชน โครงการวิจัยย่อยทั้งสองนี้อยู่บนฐานความคิดเดียวกัน คือ มุ่งทำความเข้าใจกับ ชีวิต สุขภาพ ความเจ็บป่วยและบริบททางสังคมเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง โดยแม้กลุ่มเป้าหมายและกระบวนการศึกษาจะมีความแตกต่างกัน แต่ในทางสถานการณ์ที่เป็นจริงทางสังคม ทั้งผู้สูงอายุและเด็กล้วนเป็นส่วนประกอบสำคัญของสถาบันครอบครัวที่กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงและกำลังตกอยู่ในภาวะเปราะบาง การวิจัยครั้งนี้ใช้เวทีวิชาการในการนำเสนอข้อค้นพบจากทั้งสองโครงการเพื่อแลกเปลี่ยนร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและนำไปสู่บทสรุป และนัยยะในเชิงการพัฒนาและขับเคลื่อนต่อไป


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6036

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้