ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 77 คน
การถ่ายโอนบริการด้านยาจากโรงพยาบาลสู่ร้านยาชุมชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
นักวิจัย :
สมหมาย อุดมวิทิต , ธนา สมพรเสริม , พุฒิพัฒน์ ทวีวชิรพัฒน์ , ปิยะพรรณ ช่างวัฒนชัย , วรานันต์ ตันติเวทย์ ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
29 มีนาคม 2567

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ปัญหาความแออัดของโรงพยาบาลใหญ่ยังคงเป็นปัญหาที่มีความรุนแรง และจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 จึงต้องมีการลดการไปโรงพยาบาลในผู้ป่วยที่ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อลดความแออัดของโรงพยาบาล รวมถึงลดการรับและแพร่เชื้อของผู้ป่วยในโรงพยาบาล ซึ่งแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาความแออัดของโรงพยาบาล คือ การเปิดบริการรับยาต่อเนื่องจากร้านยาคุณภาพนอกโรงพยาบาล การวิจัยนี้จึงมีเป้าหมายหลักเพื่อ (1) ศึกษาความต้องการรับบริการของประชาชนจากการขยายขอบเขตการให้บริการด้านยา รวมถึง (2) การประเมินต้นทุนที่อาจเกิดขึ้นกับร้านยาที่เข้าร่วมโครงการเพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจในการเข้าร่วมโครงการของร้านยาชุมชน การศึกษาครั้งนี้ใช้สถิติ chi-square เพื่อทดสอบสมมติฐานทางสถิติในการศึกษาความต้องการของผู้เข้าร่วมโครงการลดความแออัดของโรงพยาบาล และ ประเมินต้นทุนการให้บริการ อาศัยแนวคิดการวิเคราะห์ต้นทุนตามกิจกรรม เพื่อประมาณการต้นทุนส่วนเพิ่ม (marginal cost) ที่เกิดขึ้นจากการขยายหรือปรับปรุงการให้บริการด้านยาเพิ่มเติมที่เกิดแก่ร้านยาชุมชน ผลการศึกษา พบว่า (1) บริการที่ประชาชนต้องการสูงสุด ได้แก่ การตรวจคัดกรองโรคเบื้องต้น การดูแลรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และการดูแลฉุกเฉินในด้านต่างๆ เกี่ยวกับยา และการฉีดวัคซีน (2) บริการที่ร้านยาสามารถถ่ายโอนหรือให้บริการเสริมจากโรงพยาบาลมาสู่ร้านยาในชุมชน มีทั้งหมด 8 บริการ คือ 1) การวัดความดัน 2) การวัดระดับน้ำตาลในเลือด 3) การจัดส่งยาถึงบ้าน 4) การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องยาและดูแลการจัดยาให้เหมาะสมกับคนไข้ 5) การอธิบายผลข้างเคียงของยาและการติดตามอาการไม่พึงประสงค์ของยา 6) การให้คำปรึกษาผ่านอีเมล/โทรศัพท์/ช่องทางอื่นๆ 7) การตรวจคัดกรองโรคเบื้องต้น และ 8) การรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยต้นทุนส่วนเพิ่มกับร้านยา อยู่ในช่วง 822–1,378 บาทต่อวัน หรือ 187.50–312.50 บาทต่อผู้ป่วย 1 คน ในการเข้ารับบริการ 1 ครั้ง ภาครัฐควรสนับสนุนงบประมาณในส่วนนี้แก่ร้านยาชุมชนที่เข้าร่วมบริการ


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6039

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้