ชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 88/39 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
ขนาดตัวอักษร
-
+
ความตัดกันของสี
C
C
C
icon-lang-thภาษาไทย
ค้นหา
เมนู
จำนวนผู้อ่าน : 78 คน
ประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตต่อการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในประชากรไทยกลุ่มเสี่ยง
นักวิจัย :
ดวงดาว ศรียากูล , สันติ ลาภเบญจกุล , สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ , วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย , จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ , ภาณุวิชญ์ แก้วกำจรชัย ,
ปีพิมพ์ :
2567
สนับสนุนโดย :
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
วันที่เผยแพร่ :
29 มีนาคม 2567

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อลดความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวานในประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน โดยนำตัวอย่างโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีประสิทธิผลในการลดอุบัติการณ์โรคเบาหวานจากต่างประเทศมาปรับให้เข้ากับบริบทของประเทศไทย โดยมีกิจกรรมสร้างความตระหนัก 1 ครั้ง และโปรแกรมเรียนรู้แบบกลุ่มจำนวน 5 ครั้งที่มีแนวคิดที่เป็นองค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) ขั้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (stage of change) ที่นำมาใช้จัดกระบวนการเปลี่ยนจากขั้นที่ไม่สนใจจนกระทั่งเกิดการปรับเปลี่ยนและคงอยู่กับพฤติกรรมแบบใหม่ด้วยการตั้งเป้าหมายลดน้ำหนักตัวลง 3-5% ของน้ำหนักเริ่มต้น 2) หลักการยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางใช้แนวคิด health coach โดยหมอประจำกลุ่มเป็นเสมือนเพื่อน เรียกว่า peer professional ช่วยสร้างแผนดูแลตัวเอง มุ่งเน้นการปรับลดแคลอรีในอาหารและเพิ่มกิจกรรมเคลื่อนไหวทางกาย ช่วยให้ทำตามแผนจนได้ผล 3) มีบทสนทนาและเกมส์ที่สร้างแรงจูงใจในรูปแบบ “toolbox set” ที่มีการ์ดเกมส์, วิดีโอและสื่อต่างๆ ช่วยสร้างการเรียนรู้เพื่อปรับแผนดูแลตัวเองให้มีความเข้มข้นเพิ่มขึ้นทีละน้อย เช่น เพิ่มกิจกรรมทางกายจาก 10 นาทีไปเป็น 20 นาที/วัน 4) การจัดกิจกรรมกลุ่มเรียนรู้ (group learning) ให้เกิดแรงเสริมทางสังคม (social reinforcement) ด้วยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการให้พันธสัญญาต่อกันและมีความยืดหยุ่นให้ผู้เข้าร่วมเลือกกลุ่มได้ตามเวลาที่สะดวก และ 5) ใช้หลักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม (behavioral economics) โดยเฉพาะการสะกิด (nudge) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมในการติดตามอย่างต่อเนื่อง เช่น การส่งสติกเกอร์ในไลน์ส่วนตัว, การทักใน Facebook เพื่อติดตามให้ผู้เข้าร่วมโปรแกรมปฏิบัติตามแผนของตัวเองได้อย่างต่อเนื่อง นำโปรแกรมดังกล่าวไปทดลองนำร่องในสี่อำเภอในแต่ละภูมิภาค โดยแบ่งพื้นที่อำเภอเป็นตำบลทดลองและตำบลเปรียบเทียบ และทำการสุ่มตัวอย่างกลุ่มเสี่ยงเบาหวานในแต่ละตำบลตามสัดส่วนประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ได้กลุ่มทดลองจำนวน 423 คน และกลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 443 คน และทำการประเมินก่อนและหลังจบโปรแกรมแล้ววิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงด้วยสถิติ relative change ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีอัตราการลดลงของ ดัชนีมวลกายค่าเฉลี่ย 1.9 กก./ม.2, เส้นรอบเอวค่าเฉลี่ย 4.5 ซม. ระดับน้ำตาลในเลือดค่าเฉลี่ย 3.8 มก./ดล. และคะแนนความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานค่าเฉลี่ย 14.9 คะแนน เมื่อจบโปรแกรมมีอัตราการลดลงสูงกว่าการลดของกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสรุปโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตสามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานลงได้อย่างน้อย 1 ระดับได้ถึงร้อยละ 77.5 ของกลุ่มทดลอง และสามารถลดโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยงในระยะ 10 ปี ลงได้ร้อยละ 12.7 เมื่อจบโปรแกรม


ลิงก์ต้นฉบับ : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/6041

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สวรส เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สวรส. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้